คลิปวีดีโอ ประวัติการสร้างอนุสาวรย์คิงภูมิพลสแควร์​ เมืองเคมบริดจ์, รัฐ MA สหรัฐอเมริกา

           

King Bhumibol Adulyadej of Thailand Square in Cambridge, Massachusetts

กาลเวลามีแต่จะเดินหน้า ทำลายความทรงจำทุกอย่างที่มีอยู่ให้เลือนหายไปกับความทรงจำประวัติศาสตร์ที่ผู้คนจดจำต้องบันทึกไว้ เพื่อเป็นเครื่องมือให้ผู้คนรุ่นถัดไปได้รำลึกถึงและทราบถึงที่มาที่ไปของเรื่องราวและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ให้ทราบซึ้งกับคุณค่าของประวัติศาสตร์ที่งดงาม

ภาพประชาชนคนไทยเข้าไปแสดงความอาลัยและจงรักภักดีที่ อนุสาวรีย์ จัตุรัสภูมิพลสแควร์
หลังจากการสวรรคตของในหลวงเมื่อวันที่ 13 ต.ค. 2559 จึงเป็นที่มาของการเล่าเรื่องราวผ่านตัวอักษรและคลิปวีดีโอ

มูลนิธิ The King of Thailand Birthplace Foundation ( KTBF มูลนิธิสถานที่พระราชสมภพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว, แมสซาชูเสตส์ สหรัฐอเมริกา) ก่อตั้งขึ้นโดยคุณมานะ สงวนสุข และ คุณชลธณี แก้วโรจน์ พร้อมกับคณะกรรมการชาวไทยและชาวสหรัฐอเมริกา  ซึ่งมูลนิธิแห่งนี้ตั้งอยู่ที่บ้านของคุณมานะและคุณชลธณี ตั้งอยู่ที่บ้านเลขที่ 15 Given Dr. Burlington  รัฐแมสซาชูเสต์ ซึ่งเป็นบ้านของเธอเอง

เป็นโชคดีของผมที่ได้เข้าไปโอกาสเข้าไปรู้เห็นประวัติศาสตร์ของประเทศไทยที่ถูกซ่อนและเก็บรวบรวมโดยมูลนิธิ KTBF  ช่วงปลายเดือนธันวาคม 2551 ถึง ต้นเดือน มีนาคม 2552 ช่วงเวลานั้นผมไปเขียนหนังสือเกี่ยวกับโรงเรียนบริหารธุรกิจฮาร์วาร์ด (Harvard Business School)  ผมจำยังได้มี
ที่ตั้งของ KTBF ตั้งอยู่ห่างออกไปชานเมืองบอสตันเดินทางประมาณ 40 นาที บริเวณบ้านเงียบสงบ
ถ้าเดินทางจาก KTBF นั่งรถเมล์ประมาณ 20 นาที  แล้วไปต่อรถสายใต้ดินสายสีแดงเพื่อเดินทางไปยัง Harvard Square เพื่อจะได้เดินไปยังจัตุรัสภูมิพลสแควร์ซึ่งอยู่ไม่ไกลออกไป

มูลนิธิ KTBF เป็นบ้านสองชั้นหลังใหญ่ บริเวณด้านหน้าเป็นสนามหญ้าเวลานั้นปกคลุมปกด้วยหิมะ
ผมต้องออกไปช่วยกวาดหิมะให้ออกจากไปจากเส้นทางจอดรถ ซึ่งต้องใช้เครื่องกวาดหิมะ แล้วโรยด้วยเม็ดกลัวเพื่อให้หิมะละลาย ถ้าหากไม่กวาดหิมะจะกลายเป็นน้ำแข็งแล้วทำให้ลื่นมาก รถยนต์จะวิ่งเข้าออกไปได้ยากลำบาก  ด้านหลังของมูลนิธิเป็นสระว่ายน้ำ แต่เป็นน้ำแข็ง ถึงแม้ว่าเป็นบ้านหลังใหญ่
แต่ต้องแบ่งห้องให้เช่าเพื่อมาช่วยลดค่าใช้จ่ายของบ้าน ซึ่งเป็นเรื่องปกติของชาวอเมริกัน เพราะค่าภาษีโรงเรือนแพงมาก รวมถึงค่าสาธารณูปโภคต่างๆ เห็นพี่มานะเคยบอกผมว่า บ้านที่อยู่ต้องใช้เงินประมาณ 5,000 เหรียญถึงจะอยู่ได้เพราะค่าใช้จ่ายสูงมาก  การแบ่งห้องให้เช่าก็ช่วยลดภาระ และถ้าเป็นสมัยปัจจุบันก็คือรูปแบบธุรกิจของเว็บไซค์ Airbnb ซึ่งเป็นธุรกิจให้โพสห้องที่ว่างในบ้านให้คนเช่าเป็นโรงแรมเริ่มได้รับความนิยมในไปทั่วโลกและในเมืองไทยของเรา

ผมได้เข้าไปช่วยมูลนิธิ KTBF ในการทำบล๊อคและคลิปยูทูบเพื่อประชาสัมพันธ์ให้มูลนิธิได้เป็นที่รู้จักและ
ช่วงนั้นทางมูลนิธิเพิ่งรวมรวบข้อมูลสถานที่ประทับของสมเด็จพระราชบิดาและสมเด็จย่าในบอสตันและเคมบริดจ์เสร็จ จึงได้ทำบล๊อคขึ้นมาให้ผู้สนใจต้องการเดินไปเที่ยวบ้านแต่ละหลังในเส้นทางประวัติศาสตร์ของสมเด็จพระราชบิดา สมเด็จย่า สมเด็จพระพี่นาง ในหลวง ร.8 และในหลวง ร.9

พี่ชลธณีรวบรวมภาพต่างๆ ได้เก็บไว้เป็นไฟล์คอมพิวเตอร์มามอบไว้ให้ผมไว้เพื่อเขียนนำไปเผยแพร่ผ่านอินเทอร์เน็ต เวลานั้นคำว่าโซเชียลมีเดียยังไม่ได้เริ่มใช้กันอย่างแพร่หลายเหมือนในปัจจุบัน

วันเวลาผ่านไปอย่างรวดเร็วเกือบ 8 ปี หลังจากที่ผมกลับมาประเทศไทย ก็ยังไม่ได้กลับไป KTBF อีกแล้ว
หลังการสวรรคตของในหลวง เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2559 ผมกลับเข้าไปที่ บล๊อคมูลนิธิ KTBF http://thaiktbf.blogspot.com/  อีกครั้ง เพื่อรำลึกถึงความหลังและความฟื้นความทรงจำที่กำลังจะเลือนหายไปเช่นกัน  เมื่อเข้าไปดูคลิปในยูทูบ ผมดีใจมาก เพราะเป็นคลิปวีดีโอประวัติศาสตร์เป็นภาพที่กำลังติดตั้งอนุสาวรีย์และเป็นการปรับภูมิทัศน์ใหม่และยังมีภาพการเฉลิมฉลองและนำพระปรมาภิไธยมาติดตั้งไว้ด้วย

ผมย้อนความทรงจำไปอีกว่าคลิปนั้นถูกตัดต่อด้วยโปรแกรม Picasa ของ Google บนเครื่องพีซี
ทำแบบง่ายๆ นำภาพมาต่อกันแล้วใส่เพลงพระราชนิพนธ์ยามเย็น
บรรยากาศหน้าหนาวในสหรัฐฯ ซึมเศร้า เหงามาก ๆ หิมะตกอากาศภายนอกอากาศเย็นจัดแต่ในบ้านอบอุ่น ผมทำคลิปอยู่ไม่นานนัก ก็อัพโหลดขึ้น Youtube และนำโค้ดมาติดตั้งไว้ในบล๊อค

ขอเชิญทุกท่านชมคลิปประวัติศาสตร์ความทรงจำของอนุสาวรีย์จัตุรัสคิงภูมิพลสแควร์ นี่คือหน้าหนึ่งในประวัติศาสตร์ของชาติไทยและความสัมพันธ์ไทยกับสหรัฐฯ

เขียนบันทึกขึ้นมาเพื่อรำลึกถึง คุณมานะ สงวนสุข และ คุณชลธณี แก้วโรจน์ ตลอดจนถึง คณะกรรมมูลนิธิ The King of Thailand Birthplace Foundation (KTBF) ที่ได้สร้างอนุสาวร์​ KTBF ขึ้นมาเพื่อเป็นอนุสรณ์รำลึกถึงสถานที่พระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ เมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเสส ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2470

อ่านเพิ่มเติม
ประวัติการสร้าง อนุสาวรีย์คิงภูมิพลสแควร์
บันทึก  พฤหัสบดี 20 ตุลาคม 2559
ชีพธรรม คำวิเศษณ์

ความคิดเห็น