ประวัติศาสตร์ธุรกิจและการเมืองข้างขวดเบียร์สิงห์ Since 1933

ประวัติศาสตร์การเมือง 2476 ซ่อนอยู่ในสลากเบียร์สิงห์ 



ร้านข้าวต้มสุกิจยามเย็น แถวไทรม้า นนทบุรี  
“มีเบียร์อะไรบ้างน้อง” เอ่ยถามกับพนักงานเสริฟร้านข้าวต้มที่คุ้นเคยกัน
“สิงห์ ลีโอ ช้าง ไฮเนเก้น หมดแล้วพี่”
คิดแป๊บหนึ่ง อุดหนุนสิงห์บ้างดีกว่า เปลี่ยนรสชาติ เป็นเบียร์พรีเมี่ยมตระกูลบุญรอดหน่อย
เบียร์สิงห์ขวดสีน้ำตาลไหม้เกรียม ขวดเล็กลงไป
ฟองเบียร์สีทองเหลือง ไหลลงสู่ลำคอ รสชาติหอมไปด้วยกลิ่นธัญพืชต่างๆ  
“หอมกว่าลีโอ” ผมนึกในใจ ความจริงแล้ว ผมก็รักเบียร์ไทยทุกยี่ห้อ แต่สิงห์นี่ผูกผันและมีประวัติศาสตร์ยาวนานกับชีวิตของผม
สายตาพลันเหลือบไปเห็นสลากที่ติดข้างขวด Since 1933 มาบวกลบคูณหาร เป็น พ.ศ.2476
อ้าวเป็นปีเดียวกับกบฏบวรเดช สงครามกลางเมืองครั้งแรกของคนไทยหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิ.ย. 2475 เป็นการโต้อภิวัฒน์ของกลุ่มอนุรักษ์นิยมต่อคณะราษฏร
 ผมรีบบันทึกลงเฟซบุ๊คทันทีแล้วเขียนแชร
ประวัติศาสตร์การเมืองข้างขวดเบียร์ มีอะไรที่ซ่อนอยู่
ผมนึกถึงหนังสือ ตำนานท่านเจ้าคุณ เมื่อครั้งไปสอนโซเชียลมีเดียให้กับพนักงานเบียร์สิงห์ทันที
และช่วงเวลานั้นเป็นช่วงที่โทรทัศน์รวมกิจเฉพาะกิจถ่ายทอดสด สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช
ทรงรับเป็นกษัตริย์แห่งราชวงค์จักรี ขึ้นครองราชย์เป็นในหลวงรัชกาลที่ 10


 
              
                          คลิปยูทูป ประวัติศาสตร์เบียร์สิงห์ Since 1933 จากหนังสือตำนานท่านเจ้าคุณ


ลืมตาโพรงขึ้นมาพระอาทิตย์เริ่มฉายแสง ลมพัดโบกสะบัด ความหนาวเย็นมานิดนึง
ปิดแอร์ แล้วเดินไปหยิบหนังสือตำนานท่านเจ้าคุณ อยากรู้ว่า บริษัทบุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด เกิดขึ้นวันที่เท่าไหร่ ใน ปี พ.ศ. 2476

ประวัติศาสตร์ถูกบันทึกอยู่ในหนังสือหน้า  42-47 มีภาพประกอบด้วย
พระยาภิรมย์ภักดีหลังกลับจากเมืองนอก ไปกู้เงินจากพระคลังข้างที่
ได้เงินมาในวันที่ 20 มิถุนายน 2476 เป็นวันเดียวกับที่พันเอกพระยาพหลฯ ทำรัฐประหาร
รัฐบาลรัฐบาลของพระยามโนปกรณ์นิติธาดา  ซึ่งมีความใกล้ชิดกับพระยาภิรมย์ภักดี
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ในหลวง ร.7 ทรงเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมโรงเบียร์สิงห์ 2 คร้ง
อังคาร 11 กค 2476  และ 28 ธค 2476

หลังจากนั้น  บริษัทบุญรอดบริเวอรี่ เกิดขึ้นในวันที่ 4  สิงหาคม พ.ศ.2476 และ โรงเบียร์เปิดอย่างเป็นทางการในวันศุกร์ที่ 6 กรกฏาคม 2477

เวลาผ่านมา 83 ปี ประวัติศาสตร์การเมืองจารึกไว้ อนุสาวร์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ หรืออนุสาวรีย์ปราบกบฏ
ตรงวงเวียนหลักสี่ ถูกรื้อทิ้งไปแล้วเพื่อสร้างรถไฟฟ้า BTS  ความทรงจำทางการเมืองที่คณะเจ้าพ่ายแพ้
ถูกรื้อทิ้งไปแล้ว แต่เบียร์สิงห์ความสุขยามเย็นของคนไทยที่นิยมดื่มยังอยู่ไปอีกนานแสนนาน

เสียงนกร้องจิ๊บๆ  สลับกับเสียงเครื่องบินที่บินผ่านหลังคาบ้าน
คิดในใจคงต้องหยุดดื่มเบียร์บ้างแล้ว ร่างกายรู้สึกมีเบียร์เต็มอยู่ในสายเลือด
สำหรับผู้อ่านที่นั่งเรือด่วนเจ้าพระยาผ่านบางกระบือ เห็นโรงงานเบียร์สิงห์
นั่นคือประวัติศาสตร์ธุรกิจและประวัติศาสตร์การเมืองที่ซ่อนเร้นอยุ่ในภาพของอดีตที่กำลังเลือนลางไปตามกาลเวลา

ชีพธรรม คำวิเศษณ์
ศุกร์ 2 ธ.ค. 2559

ความคิดเห็น