King Bhumibol Adulyadej Square ประวัติการสร้าง อนุสาวรีย์คิงภูมิพลสแควร์ เคมบริดจ์ สหรัฐอเมริกา ​





ภาพจากหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ

ภายหลังจากที่สำนักพระราชวังประกาศว่า 13 ตุลาคม 2559 ในหลวงเสด็จสวรรคตสู่สวรรคาลัย เป็นวันที่คนไทยทั้งโสดงความรักต่อพระองค์ผ่านทางโซเชียลมีเดีย เสียใจมากที่สุด ผมนั่งติดตามข่าวสารทางทวิตเตอร์และเฟซบุ๊ค เห็นข่าวสารความอาลัยต่อในหลวงและภาพที่สะดุดตามผมมากที่สุดก็คือภาพการแต่งชุดดำของคนไทยไปจุดเทียนไว้อาลัยที่ภูมิพลสแควร์ เมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสสซาชูเซส ประเทศสหรัฐอเมริกา  ซึ่งในหลวงทรงพระราชสมภพหรือศัพท์แบบชาวบ้านก็คือท่านเกิดที่โรงพยาบาล เมาท์ออเบริน์   ถ้าหากเดินจากภูมิพลสแควร์ ไปก็ประมาณเพียง 500 เมตรเห็นจะได้ และจากภูมิพลสแควร์ ก็ไม่ไกลจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยอันดับหนึ่งของโลก

หลังจากที่ผมเห็นภาพนี้ผมอยากจะเขียนเล่าว่า แท่นหลักศิลาตรงภูมิพลสแควร์นั้นมีที่มาที่ไปอย่างไร 
ใครเป็นผู้สร้างขึ้น  สร้างมาตั้งแต่เมื่อไหร่ ข้างใต้แท่นหลักศิลานั้นมีอะไรบรรจุอยู่ เงินที่สร้างมาจากไหน 
บังเอิญเป็นอย่างยิ่งว่า เมื่อต้นปี เดือนมกราคม ถึง เดือน ต้นเดือนมีนาคม .. 2552 
ผมได้มีโอกาสไปพักอาศัยและทำงานอยู่กับผู้ที่สร้างแท่นหลักศิลาอนุสาวรีย์ภูมิพลสแควร์ นั่นก็คือ 
มูลนิธิ The King Of Thailand Birthplace Foundation  หรือ มูลนิธิพระราชสมภพในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  




        คลิปภาพประวัติการสร้างอนุสาวรีย์ภูมิพลสแควร์ ติดตั้งการติดตั้งแท่นศิลาและการเฉลิมฉลอง


คุณชลธณี แก้วโรจน์ และ คุณมานะ สงวนสุข สองสามีภรรยาชาวไทยที่เป็นผู้ก่อตั้งมูลนิธิ ทั้งสองท่านเป็นสามีภรรยา อพยพย้ายถิ่นฐานจากเมืองไทยไปตั้งรกรากอยู่ที่สหรัฐอเมริกา ใน .. 2523  คุณมานะ เป็นชาวจังหวัดนครสวรรค์ รับราชการครูมาก่อน ส่วนคุณชลธนี 
เป็นชาวอำเภอท่าเรือ .พระนครศรีอยุธยา ก่อนไปอยู่สหรัฐฯ เธอรับราชการครู 


คุณชลธณี แก้วโรจน์ และ คุณมานะ สงวนสุข ผู้ก่อตั้งมูลนิธิ KTBF



มูลนิธิ The King Of Thailand Birthplace  (http://thailink.com/ktbf) ตั้งอยู่ที่บ้านอาศัยของทั้งสองท่าน  มูลนิธิได้ทำการรวบรวมประวัติศาสตร์เกี่ยวกับสมเด็จพระราชบิดา และสมเด็จย่า เมื่อครั้งมาเรียนหนังสือที่ โรงเรียนการสาธารณะสุขและการแพทย์มหาลัยฮาร์วาร์ด ค้นคว้าอย่างละเอียดลึกซึ้ง 
ตั้งแต่สมเด็จพระราชบิดาทำไมถึงมาเรียนที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ได้มีการค้นคว้าจาก
หนังสือพิมพ์นิวยอร์คไทม์ โดยคุณมานะ สงวนสุข ได้เคยแปลไว้ และ ผู้เขียนได้ทำการอัดคลิปโพสไว้บนยูทูบการเดินทางกลับประเทศไทย  นอกจากนี้ทางมูลนิธิยังได้เก็บประวัติศาสตร์ที่ไม่ได้ถูกบันทึกไว้ในเมืองไทยเช่น ทำไมสมเด็จย่าทำไมต้องไปพระราชสมภพในหลวงที่โรงพยาบาลเมาท์ออเบริ์นหรือโรงพยาบาลเคมบริดจ์ อ่านเพิ่มเติม สถานที่ประทับของสมเด็จพระราชบิดาในบอสตันและเคมบริดจ์


ดร.ฟรานซิส บีแซร์ (พระยากัลยณไมตรี) 


เนื่องจาก ดร.ฟรานซิล บีแซร์ (พระยากัลยาณไมตรี) ที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน ในหลวง .7 ท่านเป็นลูกเขยของอดีตประธานาธิาบดีวูดโร วิลสัน และเป็นอาจารย์ที่โรงเรียนกฏหมายฮาร์วาร์ด เป็นเพื่อนกับสมเด็จพระราชบิดา ซึ่งมีบ้านอยู่แถวเคมบริดจ์ได้บอกให้สมเด็จย่ามาฝากครรภ์และคลอดที่นี่เพื่อตัวท่านและภรรยาจะได้คอยดูแลทารกน้อยหรือในหลวงในวันที่ 5 .. 2470 และ ทางมูลนิธิยังได้ทำการรวบรวมบ้านที่ประทับของสมเด็จพระราชบิดาและสมเด็จย่าภายในเมืองบอสตันและเคมบริดจ์ให้คนไทยที่ไปเที่ยวได้เดินทางไปเที่ยวชมบ้านเหล่านั้นเพื่อเป็นการรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ  ล่าสุดเมื่อวันที่ 25-27 สิงหาคม 2559 ทางมูลนิธิได้จัดงานรำลึกครบรอบ 100 ปี 
ที่สมเด็จพระราชบิดามาเรียนที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ที่คณะสาธารณสุขศาสตร์ และ โรงเรียนการแพทย์ฮาร์วาร์ด (Harvard Medical School) อ่านเพิ่มเติม
ความสัมพันธ์ประเทศไทยกับมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด 


       คลิปคุณมานะ สงวนสุข ผู้ก่อตั้งมูลนิธิ แปลหนังสือพิมพ์นิวยอร์คไทม์ สมเด็จพระราชบิดาให้สัมภาษณ์ PRINCE COMES HERE TO STUDY FOR SIAM ฉบับวันที่ 24 กันยายน 2459 (ค.ศ.1916)
น่าแปลกตรงกับวันมหิดล  คลิ๊กดาวน์โหลดอ่าน
http://query.nytimes.com/gst/abstract.html?res=9B0DE4DD1F3FE233A25756C2A96F9C946796D6CF&legacy=true


คุณชลธณีเคย เล่าให้ผมฟังว่าไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ที่จะสร้างอนุสาวรีย์ได้ เพราะว่า ชาวบ้านและชุมชนไม่ค่อยเข้าใจวัตถุประสงค์ที่ต้องการทำ และสหรัฐอเมริกาก็ไม่มีกษัตริย์ กว่าจะก่อสร้างได้กินเวลาและอาศัยความสัมพันธ์ภายหลังจากเพื่อนได้มาเป็นนายกเทศมนตรีเมืองเคมบริดจ์  และการสร้างอนุสาวรีย์เป็นเหมือนกับของขวัญวันเกิดของในหลวงอายุครบรอบ 76 พรรษาใน .. 2003 (..2546) อนุสาวรีย์เป็นแท่นศิลาเรียกอย่างเป็นทางการว่า “ King of Thailand Birthplace Monument” ตั้งอยู่ใน ภูมิพลสแควร์แปลว่า อนุสรณ์สถานพระราชสมภพในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งมีชาวอเมริกันเป็นผู้ตั้งชื่อและร่วมแปลเป็นภาษาไทย



ประธานาธิบดีวูดโร วิลสัน (คนยืน) ดร.ฟรานซิ บีแซร์ และเด็กทารา ฟรานซิสบีแซร์จูเนียร์
 (เคยมาอยู่เมืองไทย)

คุณชลธณี แก้วโรจน์ ถ่ายภาพกับ ฟรานซิส บีแซร์จูเนียร์ (เสียชีวิตแล้ว)



อนุสาวรีย์เริ่มสร้างในปี ..2002  ก่อนจะเริ่มสร้างถูกปฏิเสธจากนายกเทศมนตรีเมืองเคมบริดจ์มาถึง 3-4  สมัย เพราะจะต้องผ่านคณะกรรมการของฮาร์วาร์ดสแควร์ จนกระทั่งเวลาผ่านไปเพื่อนชื่อเดวิด ได้เลื่อนเป็นนายกเทศมนตรีเคมบริดจ์ ก็ถามว่ามูลนิธิต้องการทำอะไรก็เลยบอกเขาไปว่าต้องการปรับภูมิทัศน์ของภูมิพลสแควร์



คุณเฉลิมพล อินถะ สถาปนิกผู้ออกแบบอนุสาวรีย์ 


พี่ชลธณีบอกเล่าให้ฟังว่าคิงภูมิพลสแควร์มีอยู่ก่อนแล้ว ซึ่งสมเด็จพระเทพฯ และ 
สมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์เคยมาทรงเปิดไว้ โดยเมืองเคมบริดจ์เป็นผู้สร้าง  มีเสาสูงๆ เขียนชื่อในหลวง คนไทยที่ไปถีงเมืองเคมบริดจ์ ผ่านไปมา ก็หาไม่พบ เพราะเหมือนกับป้ายชื่อถนน ฝรั่งขี่จักรยานผ่านไปมาก็นำจักรยานมาล๊อคคอคล้องไปซะอีก เป็นการไม่สมเพราะเกียรติอย่างยิ่ง แต่ทางมูลนิธิเป็นผู้สร้างแท่นศิลาอนุสาวรีย์ สร้างให้สมพระเกียติกับพระเจ้าอยู่หัวของเรา

คุณเฉลิมพล อินถะ ซึ่งเป็นเพื่อนกับคุณชลธนี  เป็นสถาปนิกผู้ออกแบบแทนศิลาขึ้นมา และได้เป็นผู้ที่บริจาคเงินในการก่อสร้างมากที่สุด และทางเมืองเคมบริดจ์ ก็อนุญาตให้มูลนิธิ KTBF ได้สร้างอนุสาวรีย์


การติดตั้งอนุสาวรีย์

อนุสาวรีย์อยู่ใกล้กับฮาร์วาร์ดสแควร์มาก และตั้งอยู่ไม่ไกลจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด 
ใต้ฐานศิลามีอะไรอยู่บ้างครับพี่ผมถามพี่ชลธณีเพิ่มเติม
พี่เขียนพินัยกรรมไว้ หลังจากตายไปแล้วว่าในหลักศิลานั้นมีอะไร
แล้วทำไมชุมชนถึงไม่ยอมครับ
ถ้าเป็นกษัตริย์ประเทศอื่นมาขอบ้างจะทำอย่างไรชาวเมืองเขากลัวอย่างนั้นและช่วงนั้นสหรัฐอเมริกาประสบกับความเศร้าทั้งประเทศ 9-11 เครื่องบินชนตึกเวลิ์ดเทรด แต่ความพยายามของเราก็ทำได้
เพราะความช่วยเหลือของนายกเทศมนตรีที่รู้จักกับคณะกรรมการของมูลนิธิเป็นการส่วนตัว




ผู้เขียนนำเที่ยวจัตุรัสภูมิพลสแควร์ เดือนมกราคม พ.ศ. 2552


นี่คือประวัติศาตร์การสร้างอนุสาวร์ที่คิงส์ภูมิพลสแควร์
 และประวัติการสร้างอย่างละเอียดเชิญอ่านได้ใน

Press Release ที่คุณชลธณี แก้วโรจน์ ได้เขียนขึ้นเมื่อการเปิดอนุสาวรีย์




บันทึก เสาร์ 15 ตุลาคม 2559
ชีพธรรม คำวิเศษณ์

ความคิดเห็น