มหาวิทยาลัย Harvard (www.harvard.edu) มีความเก่าแก่อายุ เกือบ 400 ปี ตั้งอยู่ในเมืองเคมบริดส์ มลรัฐแมสซาชูเสส
ก่อตั้งโดย John Harvard ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1636 (พ.ศ. 2179) เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนคือ ไม่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล แต่ไม่ได้หมายความว่ามหาวิทยาลัยเอกชน จะแสดงว่ากำไรสูงสุดในการแข่งขันหายอดเด็กนักเรียนเหมือนกับมหาวิทยาลัยเอกชนบางแห่งในประเทศไทยของเรา
สาเหตุเพราะว่า ระบบเครือข่ายศิษย์เก่า,การบริจาคเงินสนับสนุนมหาวิทยาลัย และ การสนับสนุนงานวิจัยจากภาครัฐบาลไม่ได้เข้าไปสู่มหาวิทยาลัยเอกชนของบ้านเรา เขาต้องดื้นรนหาเลี้ยงด้วยตนเอง
มหาวิทยาลัยเอกชนในต่างประเทศได้รับการสนันสนุนจากศิษย์เก่า การรับบริจาค การสร้างงานวิจัยและเชื่อมโยงกับในเชิงพาณิชย์ ชื่อว่าเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนก็จริงแต่อยู่ในรูปแบบขององค์กรไม่แสวงหากำไร
ได้เงินมาก็นำไปให้ทุนกับนักศึกษาและงานวิจัยกับครูบาอาจารย์
ก่อนที่จะเข้าสู่เนื้อหาของ Everyone can Study @ HBS ซึ่งโรงเรียนบริหารธุรกิจเป็นส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัย ฮาร์วาร์ด คณะต่าง ๆ มีหลายคณะตั้งแต่คณะแพทย์ศาสตร์ ,ทันตแพทย์ ,รัฐศาสตร์, ศึกษาศาสตร์ , กฏหมาย ,วิศวกรรมศาสตร์, เภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดอย่างยิ่งกับประเทศไทยของเรา เป็นประวัติศาสตร์ที่ยากจะมีประเทศไหนเสมอเหมือน รวมถึงเป็นความสัมพันธ์ระหว่างประเทศระหว่างไทยกับสหรัฐฯ อเมริกาอย่างใกล้ชิดอย่างยิ่ง มีประวัตศาสตร์หลายเหตุการณ์เกิดขึ้นที่เมืองเคมบริดส์ รัฐแมสซาชูเสส และ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ผมขอสรุปไว้เป็นประเด็นดังต่อไปนี้ครับ
สมเด็จพระมหิตลาธิเบศอดุลยเดชวิกรมพระบรมราชชนก หรือสมเด็จพระราชบิดา ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ท่านได้ทรงมาศึกษาต่อที่ โรงเรียนการสาธณะสุข (School of Public Health) ในปี ค.ศ 1916 (พ.ศ. 2459)และกลับมาทรงศึกษาต่อที่ โรงเรียนการแพทย์ Harvard หรือ Harvard Medical School ในปี ค.ศ 1926 และได้ทรงพบรักกับสมเด็จย่าที่เมืองบอสตัน และโรงเรียนการแพทย์ฮาร์ดวาร์ดนี้เองครับเป็นต้นแบบของโรงเรียนการแพทย์ในประเทศไทยของเรา
ท่านผู้อ่านทราบไหมครับว่า ผมได้ทราบเรื่องราวน่าสนใจจาก สมเด็จพระราชบิดาเมื่อเสร็จมาถึงสหรัฐฯ หนังสือพิมพ์ NewYork Times ได้เคยมาสัมภาษณ์พระองค์ท่านเมื่อวันที่ 25 กันยายน 1916
โดยได้พาดหัวข้อข่าวว่า PRINCE COMES HERE TO STUDY FOR SIAM
ซึ่งท่านผู้อ่านสามารถค้นหาได้จากที่นี่ครับwww.nytimes.com ขอบคุณข้อมูลจากคุณมานะ สงวนสุข
ผู้ก่อตั้งมูลนิธิ KTBF (www.thailink.com/ktbf)
พระบาทสมเด็จเจ้าอยู่หัวพระราชสมภพโรงพยาบาลเม้าท์ออเบิร์น ซึ่งอยู่ห่างจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดไม่ไกลมากนัก เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2470 (ค.ศ. 1927) ปัจจุบันมีจัตุรัสภูมิพล เป็นที่อนุสรณ์ที่ระลึกพระราชสมภพ อยู่ ใกล้กับ Harvard Kennedy School (คณะรัฐศาสตร์)
อาจารย์จากโรงเรียนกฏหมายฮาร์วาร์ด (Harvard Law School) ได้ไปรับราชการไทยเป็นที่ปรึกษาให้กับประเทศไทย ที่มีชื่อเสียงมี 4 ท่าน
ท่านแรก ดือ เอ็ดเวิ์ด เฮนรี สโตรเบล (Edward Henry Strobel) มาดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาทั่วไปในปี 2446 ในสมัยรัชกาลที่ 5
แทรกภาพ บ้าน อ.เวสเตนการ์ดใกล้กับ Harvard Law School 30468-30469
ท่านที่สองคือ เจน ไอ เวสเตนการ์ด (Jen I. Westengard) มาดำรงตำแหน่งผู้ช่วยของ เอ็ดเวิ์ด เฮนรี สโตรเบล เมื่อ สโตรเบล กลับไปมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เจน ไอ เวสเตนการ์ด ก็รับตำแหน่งที่ปรึกษาแทน
เมื่อ 2446 ในสมัยรัชกาลที่ 5 ให้คำปรึกษาด้านการต่างประเทศและเคยเสด็จประพาสยุโรป รับราชกาลอยู่ 12 ปี ก็ได้กลับไปเป็นอาจารย์ที่ฮาร์วาร์ด และเป็นผู้ประสานงานให้กับ
ทูลกระหม่อมได้ไปศึกษาแพทย์ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ท่านได้เสียชีวิตเมื่ออายุ 47 ปี ในปี 2461 ครั้งนั้น ทูลกระหม่อมเป็นผู้แทนพระองค์รัชกาลที่ 6 และผู้แทนรัฐบาลสยาม เสด็จไปทรงวางพวงมาลาคำนับศพ
ท่านที่สามคือ เอลดอน เจมส์ (Eldon James) มาดำรงตำแหน่งที่ปรึกษา แทน เวสเตนการ์ด
พระยากัลยาณไมตรี (ฟรานซิส บีแซร์)
ท่านที่สี่ คือพระยากัลยาณไมตรี ฟรานซิส บี แซร์ (Francis Bowes Sayre) ได้เข้ามารับราชการต่อจาก เอลดอน เจมส์ ในสมัยรัชกาลที่ 6 ผลงานของท่านที่ทำประโยชน์ล้ำค่าให้เมืองไทย ทำให้ท่านได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยากัลยาณไมตรี ซึ่งนับว่าเป็นยศสูงสุดที่เคยให้คนต่างชาติ ก่อนหน้านี้ ดร.ฟรานซิส เป็นนักเรียนกฎหมายและอาจารย์กฎหมายของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดเช่นเดียวกัน ท่านเองเป็นลูกเขยของประธานาธิบดี วูดโร วิลสัน ดำรงตำแหน่งระหว่างปี ค.ศ. 1913-1921 (เคยเป็นอธิการบดีของมหาวิทยาลัย Princetonด้วย) ในขณะที่ท่านเข้ามารับราชการได้เป็นตัวแทนของประเทศไทยในการไปแก้ไขสนธิสัญญากับประเทศต่าง ๆ ในยุโรป ท่านได้พาครอบครัวของท่านมาอยู่ในประเทศสยามด้วยครั้งนั้น
คุณชลธณี แก้วโรจน์ ประธานมูลนิธี The King of Thailand Birthplace Foundation (KTBF)
http://www.thailink.com/ktbf/index.htm ซึ่งเป็นร่วมปรับปรุงภูมิทัศน์ ภูมิพลสแควร์ หรือ จัตุรัสภูมิพล อดุลยเดช สแควร์ (King Bhumibol Adulyadej Square)
เธอเป็นอดีตข้าราชการกระทรวงศึกษาธิการ เคยเป็นศึกษานิเทศน์เขต จ.ลพบุรี ย้ายมาใช้ชีวิตที่บอสตันเกือบ 30 ปี ด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ มีความต้องการจะเผยแพร่พระเกียรติคุณได้ทำการวิจัยค้นคว้าประวัติสถานที่ต่าง ๆ เมื่อครั้ง ที่ครอบครัวของเจ้าฟ้ามหิดลเสด็จประทับอยู่บอสตัน และสายสัมพันธ์ของครอบครัวมหิดล กับ ท่านเจ้าคุณพระยากัลยาณไมตรี ฟรานซิส บี แซร์
เธอเล่าให้ฟังว่า เธอได้รู้จักกับ ฟรานซิล บี แซร์ จูเนียร์ (1915-2008) เป็นลูกชายของพระยากัลยาณไมตรี ซึ่งพำนักอยู่ที่ เวสต์ช็อบ(West Chop) มาร์ธาส์วินยาร์ด(Martha’s Vineyard) ซึ่งเป็นเกาะ อยู่ห่างจากบอสตันราว 100 ไมล์ เมื่อพบกันครั้งแรกท่านก็บอกด้วยความภาคภูมิใจว่าท่านเป็นเด็กคนสุดท้ายที่เกิดในทำเนียบขาวซึ่งเป็นบ้านของประธานาธิบดี มีเด็กสิบเอ็ดคนที่เกิดที่นั่นในประวัติศาสตร์ เธอได้ไปเยี่ยมก่อนที่ ท่านฟรานซิส จูเนียร์จะเสียชีวิตไม่นานนี้ ท่านเคยเป็นพระสหายของสมเด็จพระพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา, และ พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล คุณชลธณี ได้บันทึกความทรงจำระหว่างครอบครัวของทูลกระหม่อมกับ ครอบครัวแซร์ จริงๆ แล้วเป็นภาษาอังกฤษผมขอถ่ายทอดสรุปออกมาเป็นภาษาไทยให้ได้อ่านกันครับ เธอได้ไปเยี่ยม ท่าน ฟรานซิส บีแซร์ จูเนียร์ อยู่เสมอในช่วง 8 ปีที่ผ่านมา และครั้งสุดท้ายก่อนเสียชีวิตเมื่อปี วันที่ 9 สิงหาคม 2008 ในวัย 93 ปี ที่บ้าน Vineyard Haven
พยาบาลเล่าให้คุณชลธณี ฟังอย่างนี้ว่า ก่อนที่คุณชลธณีจะเดินทางมาท่านฟรานซิสได้ถามว่า พยาบาลทุกวันว่า When are the important people coming? แสดงว่า ท่านรอแขกคนสำคัญที่จะมาพบท่าน
ท่านมักจะเล่าถึงความสัมพันธ์ระหว่างครอบครัวของทูลกระหม่อมมหิดล กับครอบครัวพระยากัลยาณไมตรีอยู่เสมอ หลายครั้งที่ไปเยี่ยมท่านได้ให้ดูของที่ระลึกซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวและ ทูลกระหม่อม รวมทั้งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวองค์ปัจจุบันได้มอบให้พ่อท่ๅน พระยากัลยาณไมตรี ในบันทึกของชลธณีเล่าต่อไปว่า ระหว่างที่เธอกำลังทำวิจัยศึกษาประวัติของครอบครัวเจ้าฟ้ามหิดลระหว่างที่พำนักอยู่ที่ เกาะ west chop ระหว่างปี 1926-1927 พบว่าทูลกระหม่อมเจ้าฟ้ามหิดลได้พำนักอยูที่บ้านเลขที่ 703 ซึ่งเป็นบ้านของพระยากัลยาณไมตรี และบ้านเลขที่ 741 เป็นบ้านเช่าอยู่ใกล้ๆกัน
พระยากัลยาณไมตรี ได้พาครอบครัวเดินทางมาพำนักในประเทศไทย ในช่วงของรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 ในปี ค.ศ.1923-1924 (พ.ศ. 2466-2467)
พระยากัลยาณไมตรีได้เป็นผู้ปลดโซ่ตรวนของประเทศไทยที่ถูกหลายประเทศในยุโรปเอาเปรียบในสนธิสัญญาต่าง ๆ เช่นคนในบังคับต่างชาติไม่จำเป็นต้องขึ้นศาลไทย และ ไทยไม่สามารถเก็บภาษีจากชาวต่างชาติได้เกินร้อยละ 3 เมื่อสิ้นรัชกาลที่ 6 ท่านก็ยังรับเป็นที่ปรึกษาของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 ถือได้ว่าพระยากัลยาณไมตรี มีบทบาทสำคัญและมีบุญคุณกับชาวไทยอย่างยิ่ง
ฟรานซิล บีแซร์ จูเนียร์ แรกเกิด (คนยืนคือ ประธานาธิบดี วูดโรว์ วูลสัน)
ขณะที่ ฟรานซิส บีแซร์ จูเนียร์ อายุ ได้ 8 ขวบ ได้เข้ามาพำนักในประเทศสยามเป็นเวลา 1 ปี ท่านจำได้ว่า รัชกาลที่ 6 ได้ส่งช้างเผือกมาให้ขี่เล่น หลังจากเมื่อครั้งพ่อแม่เข้าไปในวัง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ตรัสรับสั่งว่าลูกๆเคยขี่ช้างบ้างหรือยัง ในปี 1926-1928 ครอบครัวของทูลกระหม่อมเจ้าฟ้ามหิดล , สมเด็จย่า , พระองค์เจ้ากัลยาณิวัฒนา, พระองค์เจ้าอานันทมหิดล และ พระองค์เจ้า ภูมิพล ภายหลังทั้งสองพระองค์ได้เป็นพระมหากษัตริย์ของประเทศไทย ได้ไปประทับที่แมสสาชูเซส เพื่อทรงศึกษาที่ มหาวิทยาลัยการแพทย์ ฮาร์วาร์ด ณ เวลานั้นทั้งสองครอบครัวระหว่างครอบครัวมหิดลและครอบครัวบีแซร์ ได้ใช้เวลาอยู่ร่วมกันอย่างใกล้ชิด ทั้งที่เคมบริดส์และ เวสต์ช๊อบ
ในความทรงจำของท่านจำได้ว่า ณ เวลานั้น พระองค์เจ้ากัลยานิวัฒนา อายุ ได้ 3 ขวบ , พระองค์เจ้าอานันทมหิดล อายุ ได้1 ขวบ และในปี 1927 (พ.ศ. 2470) ครอบครัวมหิดลได้กลับมาพักผ่อนที่ West Chop อีกครั้ง ทั้งสองครอบครัวได้ไปมาหาสู่อย่างอบอุ่นและในวันที่ 5 ธันวาคม ปีนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ได้ทรงประสูติที่ โรงพยาบาล เม้าท์ออเบิร์น ในเคมบริดจ์ จากการค้นคว้าคุณชลธณีพบว่า พระยากัลยาณไมตรีเล่าว่า การที่ทูลกระหม่อมเจ้าฟ้ามหิดลเลือกโรงพยาบาล เม้าท์ออเบิร์นเป็นที่ทรงพระประสูติของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพราะเพื่อจะได้อยู่ใกล้ท่านและภรรยาเจสซี่ เพราะโรงพยาบาลอยู่ใกล้บ้านท่าน ท่านและภรรยาเจสซี่จะได้ช่วยดูแลอย่างใกล้ชิด บ้านท่านอยู่ถัดโรงพยาบาลไปแค่ถนนเดียว ท่าน ฟรานซิส บีแซร์ จูเนียร์ยังจำบรรยากาศที่บ้านนั้นได้อย่างดี
ในเดือน กรกฏาคม 1928 ครอบครัวมหิดลได้เสด็จนิวัติกลับประเทศไทย และ เจ้าฟ้ามหิดลได้เสด็จ สวรรคต เมื่อวันที่ 24 กันยายน 1929 (พ.ศ. 2472)
คุณชลธณี ได้เขียนบันทึกบทความไว้อย่างนี้
เป็นเรื่องแปลกอีกประการหนึ่งอยากเล่าให้ท่านผู้อ่านได้ฟัง เดือน กรกฏาคม 2551 ผมได้เดินทางไปร่วมงานประกวดแห่เทียนพรรษาที่จังหวัดอุบลราชธานีนี้ ผมได้ไปพักที่บ้านอาจารย์ พิชัย ศรีภูไฟ ที่นั่น
มีหนังสือประวัติพระยากัลยาณไมตรี (ฟรานซิส บี แซร์) ที่ได้แปลจากหนังสือ Glad Adventure ผมอ่านรวดเดียวจบ ไม่คิดว่า จะได้มาเขียนเรียบเรียงเรื่องราวของท่านกับประเทศไทยในบทความของนิตยสาร MBA ก็ถือว่าเป็นเรื่องแปลกสำหรับชีวิตผมเหมือนกันครับ ปัจจุบันความทรงจำระหว่างประเทศไทยกับเมืองเคมบริดจ์ และมหาวิทยาลัย Harvard ยังคงอยู่
ก่อนเดินทางมาผมได้อ่านหนังสือ หลังกำแพง Harvard ของ ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ ที่นี่
ผมได้อ่านหนังสือและในวันที่ผมเยี่ยมชมมหาวิทลัย Harvard ก็เลยถือโอกาสมาเยี่ยมชมสถานที่แห่งนี้
เป็นจัตุรัส และมีแท่นป้ายบอกว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอุดลยเดช ประสูติที่เมืองนี้
เป็นความสัมพันธ์ระหว่าง ไทยกับสหรัฐฯ ซึ่งโลกกลมมาก ผมก็มาทราบภายหลังว่า
คุณชลธนี แก้วโรจน์ ที่ผมได้อ่านบทความของท่านและได้มอบรูปภาพมาประกอบบทความเป็นผู้ก่อตั้งสนับสนุนให้เกิดจัตุรัส ภูมิพล ผู้คนที่เดินผ่านไปมาแถวนี้ก็ได้ทราบประวัติที่สำคัญอย่างยิ่งของเมื่องนี้ เป็นเครื่องยืนยันความสัมพันธ์อันดีของไทย,สหรัฐฯ และ มหาวิทยาลัย Harvard ท่านผู้อ่านต้องการทราบประวัติศาสตร์ของสมเด็จพระราชบิดาที่ประทับในเมืองบอสตันและเคมบริดส์ สามารถอ่านข้อมูลได้ที่ www.thailink.com/ktbf
ความคิดเห็น