Experimental ทดลองการเขียนหนังสือคู่ขนานเป็นสารคดีคลิป Youtube

ภาพปกหนังสือ เขียนไปให้สุดฝัน ผู้แต่ง วินทร์ เรียววาริณ

หนังสือ เขียนไปให้สุดฝัน เป็นหนังสือที่สร้างแรงบันดาลใจสำหรับผู้อยากเป็นนักเขียนและผมก็เป็นหนึ่งในนั้น คุณวินทร์ เรียนวารินทร์ ผู้แต่งหนังสือมีรางวัลซีไรท์เป็นเครื่องรับประกันผลงานถึง 2 ปี หลังจากที่อ่านสิ่งที่ผมได้รับคือไอเดียและการทดลองใหม่ๆ หรือ Experimental ทำลายกฏเกณฑ์เก่าๆ ที่มีอยู่กล้าหาญที่จะแนวทางแปลกใหม่ของตนเองตามที่คุณวินทร์ได้แนะนำไว้ในหนังสือ

พิมพ์ไม่ค่อยคล่องตะกุกตะกัก เขียนด้วยปากกาอาจจะเร็วกว่าแต่โลกมาถึงยุคดิจิตอลที่การพิมพ์ด้วยคีย์บอร์ดเร็วกว่าเขียนและนำไปใช้ได้เลย เขียนแล้วไม่ต้องมาพิมพ์ใหม่
ที่ช้าไปนิดเพราะว่าทดลองใหม่ๆ อีก ผมนำคีย์บอร์ดไร้สายที่ซื้อมานานมากแล้ว ทั้งค่ายไมโครซอฟต์และแอปเปิ้ล นาน ๆ หยิบใช้ที นำมาใข้งานอีกครั้งเชื่อมต่อกับไอแพดมินิเครื่องเก่งที่เป็นเหมือนเพื่อนคู่ใจ นำพาผมเข้าสู่โลกใหม่ ๆ เกือบทุกวัน ทั้งเป็นเครื่องอ่านหนังสือ กล้องวีดีโอ แอพไอมูวี่สำหรับตัดต่อคลิปวีดีโอไปลงยูทูบ ดูภาพยนตร์ออนไลน์จากแอพ กระดานเขียนหนังสือที่กำลังเขียนให้ทุกท่านอ่านนี่แหละครับ เจ้าไอแพดอยู่ติดตัวผมตั้งแต่ตื่นนอนจนถึงเข้านอน ไปไหนไปกัน

ผมหยิบไอแอดวางบนขาตั้งแบบยืนทำวางแบบตั้งโต๊ะ ข่าวเมื่อสองวันก่อนออกมาบอกว่าบริษัท
แอปเปิ้ลผู้ผลิตไอแพด กำลังพยายามนำเสนอกับลูกค้าทั่วโลกบอกว่าเครื่องไอแพดทำงานได้เหมือนกับคอมพิวเตอร์แล้วซึ่งผมก็เห็นว่าเป็นความจริงอย่างยิ่ง นี่คืออีกเหตุหนึ่งที่ผมนำคีย์บอร์ดไร้สายมาเชื่อมกับไอแพดแล้วเขียนหนังสือเพื่อให้ได้ประสบการณ์ใหม่ ถ้าหยิบโน้ตบุ๊คมาแล้วเขียนพิมพ์ไอเดียไม่ค่อยพุ่งพล่าน เขียน(พิมพ์) ไม่ออกไม่รู้เกิดจากสาเหตุอะไรครับ

กลับมาที่การทำการทดลองใหม่ๆ จากการเขียน ตามที่คุณวินทร์แนะนำ ผมได้ลองตามแนวของผมดูในการเขียนหรือพิมพ์ ผมกำลังเขียนหนังสือสารคดีประวัติศาสตร์การเมือง เก็บรวบรวมข้อมูลมาแล้ว 8 ปี ซึ่งยาวนานมากถ้าหากเรียนด๊อกเตอร์ก็คงจบไปนานแล้ว แต่ทำไมยิ่งศึกษามีอะไรให้ค้นคว้าลงลึกเต็มไปหมด ผมกำลังตั้งใจทำให้เป็นสารคดีอ่านสนุกสนานเหมือนกับนิยายไม่น่าเบื่อ

หน้าปกหนังสือ ชีวิตเหมือนฝัน เขียนโดย คุณหญิงมณี สิริวรสาร

ผมได้อ่านหนังสือ ชีวิตเหมือนฝัน ผู้เขียนคือคุณหญิงมณี สิริวรสาร http://cheeptham.blogspot.com/2016/07/blog-post.html ในเดือนเมษายน 2559 ที่ผ่านมา
ท่านเป็นสะใภ้หลวงของในหลวง ร.7 อ่านแล้วอาจ งง สะใภ้หลวงคืออะไร ผมขอขยายความนิดครับ
ในหลวง ร.7 ทรงรับ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจิรศักดิ์สุประภาต ไว้เป็นพระโอรสบุญธรรม ชื่อเล่นของท่านว่า เจรี่ หลังจากท่านเจรี่พบรักกับคุณหญิงมณี ที่ลอนดอนประเทศ อังกฤษ ตกหลุมรักแต่งงานกับคุณหญิงมณีจากนั้น สงครามโลกครั้งที่ 2 ท่านสมัครเป็นนักบินแห่งกองทัพอังกฤษแล้วเสียชีวิตในวัย 25 ปี ขณะที่ออกไปปฏิบัติหน้าที่การบิน หนังสือเล่มนี้ความหนาเกือบ 1 พันหน้า ผมใช้เวลาอ่านรวดเดียว 2 วันจบสนุกมาก เป็นหนังสือบันทึก
ความทรงจำ Memoir Writing สนุกที่สุดเท่าที่เคยอ่านมาในชีวิต เป็นบทละครแห่งชีวิตจริง น่าจะมีใครมาทำเป็นละครทางโทรทัศน์พล๊อตเรือง ถ้าหากผู้จัดการละครได้มาอ่านรับรองว่าไม่เป็นรองเรื่องไหน เรตติ้งอาจจะขึ้นอันดับหนึ่งของทีวีครับ

เมื่อสารคดีต้องให้สนุกแบบนิยายแล้วยากเหมือนกันครับ ยิ่งโลกโซเชียลมีเดียสายตาของผู้คนในประเทศไทยที่ใช้อินเทอร์เน็ตเกือบ 30 ล้านคนจ้องมองไปที่สมาร์ทโฟน แล้วคนที่จะอ่านหนังสือสารคดีการเมืองคงจะลดน้อยลงไปอีก ผมมีความตั้งใจว่าหนังสือที่จะเขียนเป็นหนังสือที่คนไทยทุกคนต้องอ่าน ถ้าเขียนได้ดีมากก็หวังว่าจะเป็นหนังสืออ่านนอกเวลาให้กับนักเรียนนักศึกษา คนอ่านและดูเนื้อหาบนโซเชียลเยอะ และตัวของผมเองก็เป็นบล๊อคเกอร์และยูทูบเบอร์คือทำคลิปบนยูทูบ

การทดลองของผมก็คือ ใช้หลักในการทำภาพยนตร์คือการวางโครงเรื่องหรือพล๊อต ฉากให้เหมือนกับในละคร เขียนบรรยายสถานที่และบุคคล เป็นตัวหนังสืออ่านบนบล๊อค ขณะเดียวกันก็ทำคลิปเหมือนกับสารคดีประวัติศาสตร์ทางโทรทัศน์ไปด้วย เพราะฉะนั้นการทดลองของผมก็คือหนังสือสารคดีการเมืองที่ผมเขียน เป็นหนังสืออ่าน และเป็นคลิปดูบนยูทูบไปด้วย ไม่ใช่มีแต่ตัวหนังสือให้อ่านอย่างเดียว การทดลองใหม่ของผมทำให้ผมต้องศึกษาศาตร์ทางด้านภาพยนตร์เพิ่มเติมเข้าไปอีก เรื่องของไอเดียการนำเสนอ การถ่ายภาพ ถ่ายวีดีโอ เทคนิคการตัดต่อสารคดีแบบ Ken Burn (นักสร้างสารคดีชาวสหรัฐที่บริษัทแอปเปิ้ลนำชื่อของเขามาใช้ในแอพไอมูวี่เรียกว่า Ken Burn Effect) ขณะเดียวกันยังต้องเรียนรู้การตัดต่อวีดีโอพัฒนาศักยภาพของตนเองทางเทคโนโลยีเพิ่มขึ้นด้วยการมใช้โปรแกรมไอมูวี่ ทั้งบนเครื่องแมคและบนไอโฟน
เรียนรู้ทดลอง Story Telling การเล่าเรื่อง นำเสนอน่าสนใจ แล้วโพสลงไปบยูทูบ
สิ่งที่ผมได้เรียนรู้ทดลองเพิ่มเติมคือศึกษาเทคนิคของ สตีเว่น สปิลเบิร์ก ผู้กำกับหนังมือทองที่ภาพยนต์เขาทำเงินมากในแต่ละเครื่อง ไม่น่าเชื่อว่าบนยูทูบมีเทคนิคของเขาให้ศึกษา
และผมก็ได้นำเสิ่งเหล่านี้เข้ามาทดลองในการเขียนหนังสือสารคดี ให้สนุกแแบบนิยายและสามารถแปลงจากตัวหนังสือไปเป็นคลิปสารคดีบนยูทบได้


ปกหนังสือ ยาแก้สมองผูกตราควายบิน

หนังสือ ยาแก้สมองผูกตราควายบิน ผู้แต่ง วินทร์ เรียววาริณ อีกแล้วครับท่าน ชื่อหนังสือดูแปลกๆ น่าเกลียดอย่างไรบอกไม่ทราบ ผมซื้อมาเพราะชื่อผู้เขียนแท้ๆ เพราะหนังสือ ประชาธิปไตยบนเส้นขนาน เป็นนวนิยายทางการเมืองที่เป็นหนึ่งในแรงบันดาลใจที่ทำให้ผมอยากเขียนหนังสือสารคดีการเมือง หนังสือทุกเล่มที่ผมซื้อมาจะเขียนชื่อของผมลงไปแสดงความเป็นเจ้าของและเขียนวันเดือนปีที่ซื้อมา กว่าจะหยิบมาอ่านเมื่อไม่นานมานี้พบว่าผมซื้อหนังสือควายบินมาตั้งแต่ จันทร์ 15 มีนาคม 2553 เป็นเวลานานถึง 5ปี ซึ่งตอนแรกที่ซื้อมาอ่าน พลิกอ่านดูตอนแรก ๆ ไม่ค่อยเข้าใจเลย เป็นหนังสือที่สอนเทคนิคในการหาไอเดียให้กับเรื่องที่เขียนในสิ่งที่อยู่รอบ ตัวเราตั้งแต่ ถุงกล้วยแขก พาดหัวข่าวหนังสือพิมพ์ ป้ายโฆษณา ชีวิตจริง เรียกว่านำทุกเรื่องมายำแล้วเขียนออกมาเป็นตัวหนังสือให้ได้ ซึ่งหลังจากที่ผมศึกษาเรื่องการเขียนมาสักพัก พอจับต้นชนปลายถูกนี่คือ วิชา Creative writing ที่นักศึกษาต่างชาตินิยมเรียนกัน ท่านผู้อ่านถ้าใช้ไอโฟนลองดาวน์โหลดแอพ iTunes U ซึ่งเป็นแอพให้เรียนหนังสือฟรีกับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก พิมพ์ไปใช้ช่องค้นหาคำว่า Creative Writing ท่านจะเห็นวิชาการเขียนแบบสร้างสรรค์ สำหรับ สารคึดี นิยาย เรื่องสั้น บทความ ฯลฯ หรือถ้าไม่ใช้ไอโฟน ก็ลองเข้ายูทูบแล้วพิมพ์ดูคสำหรับใครที่ชอบงานเขียนและอยากเป็นนักเขียน

หนังสือยาแก้ผูกสมองตราควายบิน ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ความขี้เท่อไอเดียทึบๆ ให้เห็นแสงสว่างขึ้นมาบ้าง ผมรู้สึกเป็นหนี้บุญคุณ และขอบคุณ คุณวินทร์ เรียววาริณ ที่เขียนหนังสือเล่มนี้ขึ้นมาเพื่อเป็นแนวทางให้กับผู้ที่ไม่มีพรสวรรค์ในเรื่องการเขียนแต่ก็ใจมันชอบมันรักก็เลยต้องฝึกฝนตัวเองอย่างหนักมาก และผมขอบอกให้คนไทยภูมิใจเลยครับว่าหนังสือสองเล่มที่คุณวินทร์ เขียน ไม่เป็นรองหนังสือฝรั่งเรื่องการเขียนในโลกนี้เพราะเขียนได้ดีกว่า ถ้าแปลเป็นภาษาอังกฤษอาจดังระดับโลกเลยครับ เขียนดีมาก ๆ เข้าใจง่ายเป็นรูปธรรมนำไปปฏิบัติได้ เพราะก่อนหน้าที่ผมจะอ่านหนังสือสองเล่มนี้ผมอ่านตำราการเขียนของฝรั่งรู้เรื่องบ้างไม่รุ้บ้างแต่ก็พยายามด้วยจข้อจำกัดทางภาษาอังกฤษที่ไม่เต็มร้อย ผมขอบอกอีกครั้งแบบภาษามวยไืทยว่า หนังสือสองเล่มนี้ไม่เป็นรองใครครับ


หลังจากที่ผมเขียนบทความนี้บนบล๊คแล้วผมก็จะไปทำเขียนหนังสือและทำคลิป
ตั้งชื่อตอนไว้ว่า จากศาลาไทยเยอรมันถึงพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
มีที่มาที่ไปอยากเล่านิดนึงครับ เมื่อ เดือน พฤษภาคม พ.ศ.2551 ผมติดตาม หลวงปู่ทอง สิริมังคโล แห่งวัดพระธาตุศรีจอมทอง อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ ไปรับใช้เป็นศิษย์วัด ในระหว่างที่อยู่หลวงปู่ทองก็ไปบังสกุลอุทิศส่วนกุศลให้กับ พระบรมฉายาลักษณ์ ในหลวง ร.5 ซึ่งอยู่ที่นั่น และผมได้ไปเห็นป้ายแผ่นเหล็กจารึกว่า พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระนางเจ้ารำไพพรรณี เสด็จมาที่นี่เมื่อ พ.ศ. 2477


หลวงปู่ทอง สิริมังคโล กับผู้เขียนในฐานะเด็กวัดติดตาม สถานีรถไฟแฟรงเฟริ์ต

ผู้เขียนกับศาลาไทย เมืองบาดฮอมบวร์ก ประเทศเยอรมนี




พระต๋อง (ลาสิกขาแล้ว) เพื่อนผู้เขียน พาผมไปชมป้ายในหลวง ร.7 




ป้ายจารึกในหลวง ร.7 เสด็จมาศาลาไทย ผู้เขียนถ่ายไว้ 23 พ.ค. 2551



ภาพในหลวง ร.5 บันทึกภาพที่บริเวณศาลาไทย เยอรมนี สันนิษฐานว่าวันที่ 19 หรือ 20 ก.ค. 2450


เวลานั้นผมยังไม่มีความรู้ทางประวัติศาสตร์การเมืองมากนัก ไม่รู้ว่านี่เป็นช่วงที่มา
สละราชสมบัติหรือยัง หรือมาทำอะไรที่นี่ หรือคิดถึงพ่อ (ในหลวง ร.5) เพราะเมื่อ เดือนกันยายน 2450 เมื่อครั้งเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ 2 พระโอรสของในหลวง ร.5 ที่ทรงศึกษาในยุโรปมารวมกันที่เมืองบาดฮวดบวร์ก เยอรมนี ซึ่งเป็นที่ตั้งของศาลาไทยแห่งนี้ เวลาผ่านไปข้อมูลหลายเรื่องเกียวกับ อภิวัฒน์การเมือง 2475 , ในหลวง ร.7 สละราชสมบัติ ในการต่อรองอำนาจทางการเมืองกับคณะราษฏร เป็นสิ่งที่น่าศึกษาทำเป็นหนังสือและสารคดีมาก และเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 4 สิงหาคม 2559 ที่ผ่านมาผมได้มีโอกาสไปเดินเที่ยวชมพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว นั่งเรือคลองแสนแสบไปลงที่สะพานผ่านฟ้า เดินขึ้นจากท่าเรือก็ถึงพิพิธภัณฑ์เลยครับ


พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ถนนหลานหลวง สะพานผ่านฟ้า กรุงเทพฯ



ภาพประวัติศาตร์ ในหลวง ร.5 ถ่ายภาพกับพระโอรสและแขกผู้มีเกียรติ 20 ก.ย. 1907 (พ.ศ.2450)
ที่บริเวณใกล้กับศาลาไทยเยอรมนีขณะนั้นยังไม่สร้าง  ภาพนี้อยู่ที่พิพิธภัณฑ์พระปกเกล้าผู้เขียนถ่ายเมื่อ พฤหัสบดี 4 ส.ค. 2559 เพิ่งเห็นเป็นครั้งแรกหลังจากเก็บข้อมูลที่เยอรมนี พ.ค. 2551 


ผมกำลังเขียนบทและทำคลิปตัดต่อบนยูทูบให้ชม และ ขอเชิญให้ติดตามชมเรื่อยๆ นะครับ
ขณะนี้ ข้อมูลในหัวสมองเต็มไปหมด เรื่องราวประวัติศาสตร์การเมือง 2475 และ สงครามกลางเมืองครั้งแรกของประเทศไทย 2476 ที่พระองค์เจ้าบวรเดช นำทหารจากโคราชมาสู้กับคณะราษฏร จนพ่ายแพ้ และเป็นต้นกำเนิดของการต่อสู้ทางประชาธิปไตยของประเทศไทยและก่อนที่จะได้ชมคลิปจากศาลาไทยเยอรมนีถึงพิพิธภัณฑ์พระปกเกล้าในหลวง ร.7 ผมได้ทำคลิปนั่งเรือชมวังบางขุนพรหมจากแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งก็จะเป็นส่วนหนึ่งของสารคดีประวัติศาสตร์การเมืองในเชิงของการท่องเที่ยวครับ


           
                  คลิป นั่งเรือชมวังบางขุนพรหมจากแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นการทดลองของผู้เขียนเช่นกัน


ผมกำลังเขียนบทและทำคลิปตัดต่อบนยูทูบให้ชม และ ขอเชิญให้ติดตามชมเรื่อยๆ นะครับ
ขณะนี้ ข้อมูลในหัวสมองเต็มไปหมด เรื่องราวประวัติศาสตร์การเมือง 2475 และ สงครามกลางเมืองครั้งแรกของประเทศไทย 2476 ที่พระองค์เจ้าบวรเดช นำทหารจากโคราชมาสู้กับคณะราษฏร จนพ่ายแพ้ และเป็นต้นกำเนิดของการต่อสู้ทางประชาธิปไตยของประเทศไทย

และก่อนที่จะได้ชมคลิปจากศาลาไทยเยอรมนีถึงพิพิธภัณฑ์พระปกเกล้าในหลวง ร.7
ผมได้ทำคลิปนั่งเรือชมวังบางขุนพรหมจากแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งก็จะเป็นส่วนหนึ่งของสารคดีประวัติศาสตร์การเมืองในเชิงของการท่องเที่ยวครับ

ทั้งหมดก็คือเรื่องราวของการทดลองการเขียนหนังสือ พร้อมกับนำเสนอเป็นสารคดีบนยูทูบไปพร้อมกันครับ เพื่อเสนอจากตัวอักษรเป็นภาพยนตร์บนโลกโซเชียลมีเดีย ไม่รู้ว่าจะออกมาดีขนาดไหนแต่ก็จะพยายามอย่างเต็มที่ครับ

บันทึก พุธ 10 สิงหาคม 2559
ชีพธรรม คำวิเศษณ์​ (ไตร)

ความคิดเห็น

Unknown กล่าวว่า
เยี่ยมครับไตร