ควันหลงไต่สวน Facebook และ Privacy การคุ้มครองความเป็นส่วนตัว ใน รัฐธรรมนญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๖๐



    คลิป Youtube Privacy การคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคลในรัฐธรรมนูญไทย พ.ศ. 2560





โลกของความเป็นส่วนตัว กำลังเป็นประเด็นที่ร้อนแรงในโลก เมื่อสมาชิกวุฒิสภาสหรัฐฯ

ไต่สวน มาร์ค ซักเกอร์เบริ์ค ผู้ก่อตั้งและ CEO ของ Facebook เข้ามาไต่สวนให้ปากคำ

กับคณะกรรมาธิการ เป็นเวลาสองวัน





ผมเองเป็นผู้หนึ่งที่ติดตามดูการถ่ายทอดสด การไต่สวนให้เวลากับวุฒิสมาชิกแต่ละคนเป็นเวลา 4 นาที

แต่ละคนก็ต้องคำถามไปต่างๆ ตามที่อยากได้ข้อมูล  สิ่งที่ผมสังเกตก็คือ วุฒิสมาชิก แต่ละท่านอายุค่อนข้างจะมาก เฉลี่ยอายุมากกว่า 60 ปี บางคนตั้งคำถามดี บางคนก็ต้องคำถามไม่ค่อยดี รู้เรื่องบ้างไม่รู้เรื่องบ้าง

ผมยังรู้สึกว่า เหมือนกับ หมาป่า รุมลูกแกะ อย่างนั้น  ซึ่ง มาร์ค ซัคเกอร์เบริ์ค ก็ตอบคำถามและเก็บอารมณ์ได้อย่างดี กับประเด็น ที่ข้อมูลส่วนบุคคล 80 ล้านชื่อ หลุดไปให้กับ บริษัทวิจัย Cambridge Analytica







สิ่งที่ผมตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับ สิทธิความเป็นส่วนตัว Privacy ของคนไทย มีอยู่ที่ไหนบ้างในกฎหมายไทย

ปรากฏว่าอยู่ใน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐  ซึ่งผมเองก็ได้ทำคลิปลงไปใน Youtube เพื่อให้ผู้ชมและคนไทยทุกคนได้ตระหนักถึงสิทธิส่วนบุคคลของตนเอง ซึ่งอำนาจรัฐจะเข้ามาล่วงละเมิดไม่ได้ และความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ จะทำให้ผู้ที่ถูกฟ้องร้องคดีในการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลยกขึ้นเป็นข้อต่อสู่ได้ และ สิทธิส่วนบุคคลบนโลกดิจิทัลของคนไทย ผู้ใช้ เฟซบุ๊ค กว่า 40 ล้านคน จะได้รับความคุ้มครองมากขึ้นถ้าหากรู้กฏหมายและสิทธิพลเมืองในแบบดิจิทัล



รัฐธรรมแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๕๖๐
คุ้มครองสิทธิความเป็นส่วนตัว
ม.๓๒ บุคคลย่อมมีสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว เกียรติยศ ชื่อเสียง และครอบครัว
การกระทำอันเป็นการละเมิดหรือกระทบต่อสิทธิของบุคคลตามวรรคหนึ่ง หรือการนำข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้ประโยชน์ไม่ว่าทางใดๆ จะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฏหมายที่ตราขึ้นเพียงเท่าที่จำเป็นเพื่อประโยชน์สาธารณะ

ม. ๓๓ บุคคลย่อมมีเสรีภาพในเคหสถาน
การเข้าไปในเคหสถานโดยปราศจากความยินยอมของผู้ครอบครอง หรือ การค้นเคหสถานหรือที่รโหฐานจะกระทำมิได้ เว้นแต่มีคำสั่งหรือหมายของศาลหรือมีเหตุอย่างอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ

ม.๓๔ บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่น การจำกัดเสรีภาพจะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ตราขึ้นเฉพาะเพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐ เพื่อคุ้มครองสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลอื่น เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือเพื่อป้องกันสุขภาพของประชาชน

เสรีภาพทางวิชาการย่อมได้รับความคุ้มครอง แต่การใช้เสรีภาพนั้นต้องไม่ขัดต่อหน้าที่ของปวงชนชาวไทยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน และต้องเคารพและไม่ปิดกั้นความเห็นต่างของบุคคลอื่น

ม. ๓๖ บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการติดต่อสื่อสารถึงกันไม่ว่าในทางใดๆ
การตรวจ การกัก หรือเปิดเผยข้อมูลที่บุคคลสื่อสารถึงกัน รวมทั้งการกระทำด้วยประการใด ๆ เพื่อให้ล่วงรู้หรือได้มาซึ่งข้อมูลที่บุคคลสื่อสารถึงกันจะกระทำมิได้ เว้นแต่มีคำสั่งหรือหมายศาลของศาลหรือมีเหตุอย่างอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ




สิทธิความเป็นส่วนตัวมีผลกระทบกับเรื่องของชื่อเสียง เกียรติยศ ซึ่งในกฏหมายอาญาก็ได้ให้ความคุ้มครอง และความผิดฐานเปิดเผยความลับ ในมาตรา 309 - 333 ซึ่งไปหาอ่านและศึกษากันได้ครับ



ชีพธรรม คำวิเศษณ์

บันทึก เสาร์ 14 เมษายน พ.ศ.๒๕๖๑


ความคิดเห็น