เรื่องสั้น ปรัชญาชีวิตจากมวยไทย การยืนระยะของชีวิต



ห้องเรียน กศน. การศึกษานอกโรงเรียน 
อาจารย์ถามลูกศิษย์ในชั้นเรียน นอกเหนือจากสอนวิชาการแล้วยังสอนลูกศิษย์ถึงวิธีการใช้ชีวิตด้วย
“พวกเคยดูมวยไทยไหมกันแบบครบ  5 ยกบ้างไหม”

นักเรียนวัยทำงานต่างรีบชูมือกัน ไม่ได้ตอบอะไร แค่บอกว่าเคยดู
“ทำไมครูถามอย่างนั้นครับ อยากจะบอกอะไรพวกเรา”
เขาเอ่ยถามแทนเพื่อนด้วยความสงสัย 

“ครูอยากจะบอกว่า ชีวิตของคนเราต้องมีการวางแผนเหมือนมวยไทย การวางแผนการชก 5 ยก เป็นเกมส์ยาว   เกมส์สั้นคือแต่ละยก 3 นาที   ต้องวางแผน ภาษามวยเรียกว่า ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ  คือต้องวางแผนการชก  ต้นยก กลางยก ปลายยก  เพื่อเก็บแรงพลังงานของร่างกาย ว่าต่อยแบบไหนถึงจะเก็บพลังไว้ให้ต่อสู้ได้แบบครบยก  ถ้าหากไม่วางแผนแล้ว ถึงเป็นมวยเชิงเก่งอย่างไร แล้วแต่ไม่มีกำลัง ยืนไม่ครบยกก็ไม่มีความหมาย”

 ครูมองไปที่นักเรียน ซึ่งกำลังต้องใจฟัง

“ชีวิตของคนเราก็เช่นเดียวกันครับ  ชีวิตของคนก็ต้องมีการวางแผนในการใช้ชีวิต วางแผนการเงิน เพื่อให้เรามีชีวิตก่อนที่จะจากโลกนี้ไปอย่างมีความสุข หรือจากโลกนี้ไปอย่างผู้ชนะ ไม่ยากจนไม่ลำบาก  ที่ครูพูดไปก็กำลังทำอยู่นะ ไม่รู้ว่าจะหมดแรงช่วงไหน”

“ช่วงวัยเด็ก วัยเรียนต้องใส่ความรู้เข้าไปมากๆ มากแค่ไหน มากแค่เอาตัวรอด แล้วหาเงินให้ได้เพียงพอกับค่าใช้จ่ายในแต่ละวันในแต่ละเดือน ประคองตัวเองไปได้   ช่วงมีครอบครัวก็ต้องวางแผนชีวิตสำหรับคู่ครอง   เลือกคู่ครองให้เหมาะกับตนเอง  ให้เกื้อกูลซึ่งกันและกัน และบั้นปลายชีวิตต้องมีเงินใช้  เพราะเงินคือเครื่องมือที่จะผลักดันให้ชีวิตของเรามีความสุขนอกเหนือจากสุขภาพ เพราะทุกอย่างในชีวิตมีค่าใช้จ่ายหมด  แม้แต่ลมหายใจ เมื่อเจ็บป่วยบางครั้งก็ต้องใช้อ๊อกซิเจน”

ครูผู้มีความจริงใจกับลูกศิษย์พูดต่อ  

“การยืนระยะสำคัญจริงๆ  แม้เจ็บปวดแค่ไหน ก็ต้องทนให้ได้ คู่ต่อสู้ในชีวิตของเราก็หลักๆ ก็คือค่าใช้จ่ายในชีวิต การหาเงินเพื่อให้ได้มา  ทำอย่างไรให้มีคนจ้าง ทำอย่างไรให้ทุกคนอยากให้เราทำงานด้วย หรือถ้าเป็นเจ้าของธุรกิจก็ต้องให้ลูกค้าอยากมาใช้สินค้าและบริการ”



ครูอวยพรก่อนจบชั้น 
“การยืนระยะ การสร้างพลังงานให้กับชีวิตก็คือ การหมั่นแสวงหาความรู้ การใช้เทคโนโลยี การรู้เรียนรู้ที่ไม่ถูกผู้อื่นหลอกลวง การลวงที่จะคบมิตร   ถ้าหากพวกเธอเป็นชาวพุทธ ครูขอแนะนำให้ไปหามงคลสูตรอ่าน  แม้ว่าคำสอนพระพุทธเจ้าจะเป็นของเก่า แต่ยังทันสมัยกับการใช้ชีวิตในยุค ปี 2561 อย่างยิ่ง 
จบชั้นเรียนวันนี้ เรื่องการยืนระยะของชีวิต   แล้วอย่าลืมเรียงความเรื่อง การยืนระยะมาส่งคุณครูด้วยนะครับซึ่งวิชาการเขียนสำคัญมากสำหรับทุกคน”
“ขอบพระคุณครับ”  เสียงกล่าวขอบคุณจากนักเรียน

ครูรำพึงในใจ “ ไม่รู้ว่านักเรียนสักกี่คนจะเข้าใจถึง การยืนระยะของชีวิต เพราะพวกเขายังต้องเผชิญอะไรอีกมาก ซึ่งวันเวลาในสงครามชีวิตนั้นยาวนานจริงๆ 



ชีพธรรม คำวิเศษณ์
อาทิตย์ 14 มกราคม พ.ศ.2561


ความคิดเห็น