ชวนดาวน์โหลด Ebook เส้นทางท่องเที่ยวเรียนรู้ข้าวและควายไทย การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

                          ดาวน์โหลดอีบุ๊ค แหล่งท่องเที่ยว ข้าวและควายไทย
http://tourismproduct.tourismthailand.org/index.php?page=product&main_type=1



สุภาษิตจีนบอกว่า ก่อนตายต้องกินอาหารสี่อย่าง คือ หอยเป๋าฮื้อ รังนก หูฉลาด และข้าวหอมมะลิ
(อ้างอิงจาก อีบุ๊คข้าวและควายไทย)

ไทยเป็นประเทศส่งออกข้าวอันดับ 1 ของโลก และทุ่งกุลาร้องไห้  แหล่งปลูกข้าวหอมมะลิ อันดับ1ของโลก  กินพื้นที่ 5 จังหวัดภาคอีสาน สุรินทร์ ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ มหาสารคาม และ ยโสธร  
วางแผนไปเที่ยวกันได้เลย ผมขอเชิญชวนไปซื้อข้าวหอมมะลิกันถึงถิ่นกำเนิด


กองส่งเสริมการท่องเที่ยว การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ได้จัดทำ Ebook คุ่มือสำหรับแหล่งท่องเที่ยวข้าวและควายไทย ซึ่งผมขอเชิญชวนให้ไปดาวน์โหลดมาอ่านและไปตามแหล่งท่องเที่ยว ไปซื้อข้าวโดยตรงจากชาวนากันครับ  เนื้อหาหนังสือแบ่งเป็น 3 ส่วน
1. สนุกรู้ 2. แหล่งรู้  3. เส้นทางเชื่อมโยงแหล่งรู้   ข้าวและควายไทยเป็นเรื่องการท่องเที่ยวได้ 

คำถามที่ตั้งคำถามกับผู้อ่านก่อนไปดาวน์โหลด ข้าวเม็ดแรกของประเทศไทยค้นพบที่ไหน แล้วตามไปเที่ยวกัน ,  
คนไทยปลูกข้าวแบบไหนกันบ้าง พันธุ์อะไร 
ข้าวนาปรังและข้าวนาปี คืออะไรและแตกต่างกันอย่างไร 
ชาวนาไทยปลูกข้าวด้วยวิธีใดบ้าง 
ขั้นตอนการทำนาทำอย่างไร
เครื่องมือในการทำนามีอะไรบ้าง
ประเภทของข้าวที่ดีต่อสุขภาพแบ่งเป็นกี่ประเภท 
คำถามเหล่านี้น่าสนใจมากซึ่งคำตอบอยู่ Ebook ครับ 

อีบุ๊คข้าวและควายไทยของ ททท. ที่ได้จัดทำขึ้นเป็นแหล่งเรียนรู้ที่พัฒนาในเชิงการท่องเที่ยวในภูมิภาคต่างๆ ของประเทศไทย   ที่ได้คัดสรรไว้ให้นักท่องเที่ยว เป็นคู่มือที่ทำให้เราเข้าใจข้าวและควายไทย ออกไปเที่ยวชมชีวิตคนไทยกับข้าวกันครับ


อ่านจากบล๊อคได้เลยครับผมได้ดาวน์โหลดมาไว้ให้อ่านหรือถ้าจะดาวน์โหลดสามารถไปดาวน์โหลดเก็บใส่แท็บเล็ตหรือคอมพิวเตอร์จากเว็บไซค์ของ ททท. ที่ผมได้ทำลิงค์ไว้ข้างต้น

ผมยังจำได้ดีเมื่อ เดือนตุลาคม พ.ศ.2550 ได้รับเชิญจาก ผอ.บุญเหลือ ฤทธิรณ แห่งโรงเรียนบ้านขว้าวโค้ง อ.ชุมพลบุรี จ.สุรินทร์ ให้ไปสอนระบบบริการองค์กรการศึกษา Google Apps ให้กับคณะครู อำเภอชุมพลบุรีและรัตนบุรี  จ.สุรินทร์ ครั้งนั้นผมได้สัมผัสทุ่งกุลาร้องไห้แบบไม่รู้ตัว 
“คุณไตรครับ ขอต้อนรับสู่ท่องกุลาร้องไห้” 
“ที่ไหนหรือครับอาจารย์”
“ก็บ้านผมนี่แหละครับ ชุมพลบุรี และ อีก 5 จังหวัด ใช่หมดทุกตารางนิ้ว เป็นแหล่งปลูกข้าวหอมมะลิ ผมเองก็ปลูกเหมือนกัน ข้างๆ บ้านนี่แหละ  สอนหนังสือเสร็จเดี๋ยวผมจะพาเข้าไปดูทุ่งนาทุ่งกุลาร้องไห้ สมัยก่อนว่ากันว่าเอาหมาไปปล่อยแล้ววิ่งไม่มีที่สิ้นสุดเพราะความกว้างใหญ่ของท้องทุ่งอีสานใต้”

ผมยังจำคำพูดของอาจารย์บุญเหลือได้ดี และอยากกลับไปเที่ยวอีกครั้งซึมซับประสบการณ์แบบการท่องเที่ยวสไตล์เข้าถึงชีวิตท้องถิ่นของชาวนา  สายลม ท้องทุ่งนา ต้นข้าวสีเหลือง ไกลสุดสายตา ชีวิตของชาวนา กำลังขับรถอีแต๋นกลับเข้าบ้าน ต้อนควายยามเย็น เป็นภาพที่ประทับใจจริงๆ ครับ

หลังจากนั้นอีกไม่นานต้นปี มกราคม พ.ศ.2551 ก่อนวันเด็กแห่งชาติ ผมได้รับเชิญจาก โรงเรียนบ้านด่าน อ.บ้านด่าน จ.บุรีรัมย์ ไปสอนขับเครื่องบิน  Fligh Simulator ในงานวันเด็กที่โรงเรียนได้จัดขึ้น
ตอนนั้นผมนั่งรถ บขส. จาก อ.ธาตุพนม จ.นครพนม  มุ่งหน้าผ่าน อ.สุวรรณภูมิ จ.ร้อยเอ็ด  ท้องทุ่งกุลาร้องไห้อีกครั้ง สองข้างท้างเต็มไปด้วยท้องทุ่ง
บรรยากาศสวยไปอีกแบบ ถ้าเดินทางท่องเที่ยวกลางวันจะได้เห็นชีวิตที่แปลกตาท้องทุ่งข้าวไกลสุดสายตาจริงๆ ไม่เหมือนบรรยากาศทางเหนือ จ.เชียงใหม่บ้านเกิดผม ที่เต็มไปด้วยภูเขา
แวะไปเปลี่ยนรถเมล์ที่ อ.พยัคฆภูมิพิสัย จ.มหาสารคาม เพื่อไปจังหวัดบุรีรัมย์ ผ่าน อ.พุทไธสง  อ.สตึก อ.บ้านด่านและเข้าสู่ตัวเมือง จ.บุรีรัมย์ 



บรรยากาศการอบรมระบบบริหารองค์กร Google Apps ตุลาคม 2550


วิกฤตคือโอกาส ชาวนาไทยกำลังเจอปัญหาราคาข้าวตกต่ำ รัฐบาล นายกฯ พลเอกประยุทธ จันทร์โอขา กำลังจะช่วยจำนำข้าว เหมือนกับอดีตนายกฯยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่เข้าไปช่วยเหลือประชาชนให้หลุดพ้นจากความยากลำบากของชีวิต ความยากไร้ Poverty เป็นส่ิงที่น่ากลัวที่สุดในชีวิต และความยากจนก็เป็นพันธุกรรมที่ส่งต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น หลายชั่วอายุคน ซึ่งหนังสือทรัพยศาสตร์ ซึ่งเป็นหนังสือเศรษฐศาสตร์เล่มแรกของไทยที่เขียนโดยพระยาสุริยานุวัตร ตั้งแต่สมัยในหลวง ร.5 ก็เขียนไว้ว่าชาวนาเป็นชีวิตที่ลำบาก น่าเห็นใจมากครับชาวนาไทย ไม่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้นความยากลำบากถึงได้ยาวนานเป็นร้อยปีมาแล้ว หรืออ่านเพิ่มเติม วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก เศรษฐกิจแห่งสยาม (พ.ศ.2450) เขียนโดย พระองค์เจ้าดิลกนพรัฐ ดร.จากเยอรมัน คนแรกของประเทศไทย พระโอรสของในหลวง ร. 5
http://digi.library.tu.ac.th/journal/0098/22_10_aug_2544/09PAGE63_PAGE71.pdf


หนังสือทรัพยศาสตร์ เขียนโดยพระยาสุริยานุวัตร ร่วมสมัยกับ วิทยานิพนธ์ เศรษฐกิจแห่งสยาม

ผมขอเชิญชวนดาวน์โหลดอีบุ๊ค ข้าวและควายไทย แล้วออกไปเที่ยวท้องนาทั่วประเทศไทย ถ่ายรูปแล้วแชร์ลงโซเชียลมีเดียกันครับ 



บันทึก พุธ 2 พฤศจิกายน 2559
 ชีพธรรม คำวิเศษณ์

ความคิดเห็น