รำลึกวันปิยมหาราชครบ 106 ปี 23 ตุลาคม พ.ศ.2559 ศาลาไทยบาดฮอมบวร์ก เยอรมนี

                    
                                คลิปยูทูบรำลึกวันปิยมหาราช อาทิตย์ 23 ตุลาคม 2559




อาทิตย์23 ตุลาคม 2559 ครบรอบ 106 ปี การสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประวัติศาสตร์ที่เป็นเครื่องรำลึกถึงพระองค์ท่าน คือลานพระบรมรูปทรงม้า กรุงเทพมหานคร


เสียงเพลงเชลโล ผลงานการประพันธ์ของ โจฮันเซียบาสเตียน บาค คตีกวียุคคลาสสิคชาวเยอรมัน บรรเลงโดย โยโยม่า เสียงหวานซึ้ง เต็มไปด้วยความอ่อนโยน ดังขึ้นแผ่วลงตามเมโลดี้ที่ผู้แต่งได้รังสรรค์ผลงานขึ้นเมื่อ เกือบ 400 ปี ผ่านมา เสียงเพลงสลับกับเสียงนกยามเช้า
กระรอก 2 ตัววิ่ง วิ่งไปมาหยอกล้อกันยามเช้าหน้าบริเวณบ้านของผู้เขียน


ผมหยิบไอแพดขึ้นมาต้องการเขียนรำลึกถึงในหลวง ร.5 ในความทรงจำของชีวิต ที่ ศาลาไทย เมืองบาดฮอมบวร์ก ประเทศเยอรมนี สถานที่ในหลวง ร.5 เคยเสด็จประทับเพื่อรักษาพระวรกาย ในครั้งนั้น พระโอรสที่มาศึกษายังต่างประเทศได้มารวมตัว ณ บาร์ดฮวมบวร์ก เพื่อวันเฉลิมพระชนม์พรรษา 20 กย 2450 ครบรอบพระชนม์มายุ 54 พรรษาของพระองค์ท่าน


ศาลาไทย บาร์ดฮอมบวร์ก สร้างสมัยราชการที่ 6 เป็นเรื่องรำลึกถึงความสัมพันธ์ไทยกับเยอรมัน มาอย่างยาวนาน ตั้งแต่สมัยพระองค์ท่านยังทรงครองราชย์ เป็นผู้นำประเทศสยาม เป็นพระมหากษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช และเมื่อครั้ง สงครามโลกครั้งที่ 2 ไทย กลายเป็นประเทศที่ต้องเข้ากับฝ่ายอักษะ ร่วมกันจับมือร่วมกับญี่ปุ่น เยอรมันทำสงครามโลก ต่อสู้กับสัมพันธมิตร ประกอบไปด้วยสหรัฐฯ ฯ อังกฤษ ฝรั่งเศส ฯลฯ แต่เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 1 สยามส่งทหารไปร่วมรบกับฝรั่งเศสทำสงครามกับเยอรมัน โลกช่างหมุนเวียน เหมือนกับบทเพลงของวงดนตรีสุนทรภรณ์จริงๆ


ศาลาไทย ออกจากตังเมืองแฟรงเฟริต์ไปประมาณ 30 นาที ตั้งอยู่กลางสวนสาธารณะ ต้นไม้ต่นใหญ่ล้อ,รอบ รื่นรมย์อย่างยิ่ง ด้านหน้าไปสนามหญ้า มีทางเดินให้เดินเล่น
ปลายเดือน พฤษภาคม พ.ศ.2551 หลวงปู่ทอง สิริมังคโล แห่งวัดพระธาตุศรีจอมทอง ได้มาสอนวิปัสนากรรมฐานให้กับชาวไทยและชาวเยอรมนี ที่วัดพุทธปิยวราราม ที่หลวงปู่ได้มีดำริสร้างขึ้นเพื่อเป็นสำนักวิปัสสนากรรมฐานเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวพุทธในเยอรมนี


ผมจำได้ว่าวันนั้นได้บันทึกภาพและติดตามหลวงปู่ไปที่ศาลาไทยด้วย
หลวงปู่ทองและคณะสงฆ์ได้ยืนแผ่กุศลและบังสกุลแผ่กุศล ถึงดวงวิญญาณของในหลวง ร.5 หน้าพระบรมฉายาลักษณ์เป็นรูปโลหะอยู่ด้านข้างศาลา และภายในศาลามีป้ายบันทึกพระบรมวงศานุวงศ์ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยุ่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี เสด็จมาศาลาแห่งนี้ ไม่ทราบวันแต่เป็นเดือน กรกฏาคม พ.ศง2477 และในหลวง ร.9 และพระราชินี เสด็จที่นี่ 28 ก.ค. พ.ศ. 2503 ศาลาไทยแห่งนี้เป็นเสมือนสถานที่สร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและศูนย์รวมจิตใจของคนไทยในเยอรมนี


หลังจากพระองค์เดินทางกลับจากยุโรปไก้เดินทางกลับสยามและล่องเรือไปยัง จ.ตราด ก่อนเข้ากรุงเทพฯ เพื่อบอกให้ชาวตราและจันทบุรีทราบว่าเป็นเอกสารแล้วหลังจากอยู่ใต้ปกครองของฝรั่งเศสถึง 10 ปี แต่สยามก็ต้องเสียดินแดง พระตะบอง เสียมเรียบ ศรีโสภณ ให้กับฝรั่งเศสเพื่อแลกตราดกับจันทบุรีให้มาอยู่ในปกครองของสยาม


พระที่นั่งวิมานเมฆ ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากลานพระบรมรูปทรงม้าเป็นสถานที่อีกแห่งที่จะได้รำลึกประวัติศาสตร์ของในหลวง ร.5 ซึ่งเป็นสถานที่ประทับของพระองค์ท่าน โดยทางสำนักพระราชวังได้เปิดให้ประชาชนได้เข้าชม และสถานที่อีกแห่งก็คือคือพระที่นั่งอนันตสมาคม ภายในพระที่นั่งมีพระราชกรณียกิจที่พระองค์ได้ทรงเลิกทาสเป็นการเริ่มต้นสิทธิมนุษยชนให้ราษฏรไทยได้มีสิทธิเสรีภาพในชีวิตและทรัพย์สินของตนเอง


ผู้เขียนได้ทำคลิปรำลึกถึงในหลวง ร.5 ครบรอบ 106 ปีของการสวรรคต และ บันทึกความทรงจำของชีวิตว่าครั้งหนึ่งเคยได้ไปเยือนศาลาไทย ณ เมืองบาดฮอมบวร์ก ย้อนประวัติศาสตร์ของชีวิตกลับไปที่ พฤษภาคม 2551 และย้อนเวลากลับไป ณ จุดเริ่มต้นของศาลาไทย 20 ก.ย. 2450


เขียนรำลึกถึงในหลวง ร.5
อาทิตย์ 23 ตุลาคม 2559




ความคิดเห็น