หัวรถจักรรถไฟไทยกับหัวรถจักรมาเลเซียสะท้อนถึงระบบการปกครองประเทศ

เครดิตภาพ โพสต์ทูเดย์


ยามดึกระหว่างที่กำลังลุ้นคู่มวยสมัครกลสมัครเล่นโอลิมปิค วุฒิชัย มาสุข ความหวังโอลิมปิค กับนักชกสหรัฐฯ ผมเปิด Tweetdeck ดูข่าวสารไปเรื่อยๆ ช่วงหลังลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญ ประเทศไทยเจอระเบิดการเมืองไปหลายลูก ทำให้ภาพลักษณ์ประเทศด้านการท่องเที่ยวเสียหายไปไม่น้อยเลย

เห็นภาพใน Twitter มีการทวีตภาพหัวรถจักรของรถไฟไทยกังหัวรถจักรของประเทศมาเลเซีย
จอดที่สถานีปาดังเบซาร์มันช่างแตกต่างเหมือนไม่ได้อยู่บนประเทศใกล้เคียงกันทั้งที่ ประเทศติดกัน
ทำไมรถไฟไทยถึงได้ล้าหลังขนาดนี้

ภาพที่เห็นทำให้ผมหวนนึกไปถึงระบบการปกครองของประเทศ ระบบในการบริหารการจัดการ การให้อำนาจกับเมืองในภูมิภาคต่างๆ ไม่เป็นศูนย์รวมอำนาจแบบราชอาณาจักร

ประเทศไทยของเราวันนี้ต้องยอมรับว่าเรามีระบบการปกครองที่ล้าหลังไม่ทันสมัยกับความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและโลก ยิ่งเรารับร่างรัฐธรรมนูญที่มีประชาธิปไตยแบบครึ่งใบด้วยแล้วก็ทำให้การเดินหน้าของประเทศย้อนหลังไปอีกคล้ายกับภาพยนตร์เรื่อง Back To The Future

ถ้าได้ศึกษาประวัติศาตร์ไปเมื่อ 100 ปีที่แล้ว ส่วนหนึ่งของประเทศมาเลเซีย อยู่ภายใต้การปกครองของประเทศสยาม เราเสียดินแดนให้กับอังกฤษไป เพื่อแลกกับเอกราช
สงสัยว่าทำไมในหลวง ร.5 ท่านบริหารการจัดการระบบการเมืองอย่างไรถึงเสียดินแดนมากมาย และทำไมท่านไม่ยอมเปลี่ยนระบบในการบริหารจัดการบ้านเมืองทั้งที่ท่านเป็นพระมหากษัตริย์ผู้มีวิสัยทัศน์ที่สุดองค์หนึ่งของโลก และท่านเองก็เป็นผู้ให้กำเนิดรถไฟไทย

แต่วันนี้เราถูกประเทศที่เคยเป็นประเทศราชแซงไปในเรื่องระบบการขนส่งไปแล้วภาพที่เห็นคือสิ่งที่ปฏิเสธไม่ได้ว่าประเทศไทยเรามีระบบการปกครองที่ล้าหลังจริงๆ และถ้าว่ากันไปจริงๆ แล้ว มาเลเซียเพิ่งได้รับเอกราชมาสัก 50 ปีนี้เอง เพราะฉะนั้นถ้าเปรียบเทียบกับไทยของเราแล้ว เราไปไกลกว่าเขามากในหลายด้าน (ในอดีตที่ผ่านมา) และปัจจบุันที่สำคัญระบบการปกครองในปัจจุบันของมาเลเซียแบ่งแยกกันปกครองคล้ายกับสหรัฐอเมริกา แต่ของไทยเป็นราชอาณาจักรจะแบ่งแยกไม่ได้ศูนย์รวมของอำนาจจึงอยู่ที่ส่วนกลางของประเทศ และการเติบโตก็เป็นลูกโป่งในกรุงเทพฯและปริมณฑล สังเกตได้จากรถไฟไฟฟ้าและรถไฟใต้ดินซึ่งมีแต่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑลเท่านั้น จังหวัดอื่นๆ อยากมีบ้าง รอไปก่อน




       
                             รีวิวเที่ยวมะละกา มาเลเซีย โดยผู้เขียน


ผมไปมาเลเซียเมื่อเดือนตุลาคม 2558 ขอบคุณกรมพัฒนาพลังงานทดแทนฯ กระทรวงพลังงานที่ทำให้ผมได้เห็นมาเลเซียสัมผัสกับตนเอง ไกด์ชาวมาเลเซียเชื้อสายไทย พูดจาภาษไทยชัดเจน เขาบอกเล่าให้ผมฟังว่าเป็นคนภาคเหนือของมาเลเซีย ชุมชนของมีความเป็นไทยสูงมาก มีวัดไทย ขนบธรรมเนียมแบบไทยๆ


เขาเล่าให้ฟังในรถบัสขณะเดินทางไปยังเมืองมะละกา เมืองท่องเที่ยวอันดับต้นๆ ของประเทศ คล้ายกับอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาของไทย
"มาเลเซียมีปัญหาความขัดแย้งในเชื้อชาติสูงมาก ชาวมุสลิม ชาวจีน ชาวฮินดู ฯลฯ อยู่รวมในสังคมเดียวกัน ถ้าสังเกตให้ดีจะเห็นว่าคนหน้าตาแบบออนเดียจะเป็นลูกจ้างใช้แรงงานด้านต่างๆ อย่างที่เราเห็นในร้านอาหาร พลเมืองชั้นหนึ่งจะเป็นมุสลิม แต่รัฐบาลพยายามจะจัดสรรประโยชน์ทุกอย่างให้ลงตัว

ความทรงจำของผมเมื่ออยู่บนรถบัสวิ่งไปมะละกา ถนนหนทางก็คล้ายกับในเมืองไทย แต่ดูถนนเลียบปลอดภัยกว่า เพราะไม่มีบ้านเรือนประชาชนมาอยู่ริมทางหลวงแผ่น หรือเพิงขายของให้เป็นที่น่าหวาดเสียวถ้าหากเกิดอุบัติเหตุขึ้น


ทางหลวงแผ่นดินมาเลเซีย ให้มอเตอร์ไซค์เข้าไปวิ่งได้ แค่เมืองไทยแถวกรุงเทพฯและปริมณฑลห้ามเข้าไปวิ่งเห็นแล้วเป็นจับไปหมดเป็นการริดรอนสิทธิเสรีภาพและเป็นเครื่องมือให้เจ้าหน้าที่ของรัฐใช้กฏหมายจับปรับได้ง่ายขึ้นเป็นช่องทางในการหากินอีกทางของเจ้าพนักงาน



      
                          รีวิวเที่ยวปุตราจายา โดยผู้เขียน


เมืองปุตราจายาที่ทำการของรัฐบาลก็เป็นสถานที่ท่องเที่ยวดึงดูดผู้คนจากทั่วโลกไปชม เหมือนกับชาวต่างชาติมาชมวัดพระแก้วที่บ้านเรา แต่เมืองไทยศูนย์ราชการแถวแจ้งวัฒนะเป็นออฟฟิศ ๆ บวกกับร้านขายของบรรยากาศเหมือนกับตลาดนัดเสาร์อาทิตย์ อย่าหวังว่าจะเห็นนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติไปเที่ยว ก็ไม่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้นกับประเทศไทย ทำไมกรุงเทพเป็นเสืองท่องเที่ยวอันดับหนึ่งของโลกถึงไม่สามารถทำได้เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวไปเที่ยวศูนย์ราชการบ้าง ลองชมจากคลิปได้เลยครับ

มาที่สายการบินการบินไทยเกิดก่อนมาเลเซีย แต่ตอนนี้โดยแอร์เอเซียสัญชาติมาเลเซียตีกระหน่ำเป็นหอกข้างแคร่ที่ดึงลูกค้าเปลี่ยนพฤติกรรมไปหมด แถมมาเลเซียแอร์ไลน์ โดยวิกฤตการบินทั้ง MH370 และโดนคีปนาวุธ
แต่ก็พยายามจะกลับมาทำธุรกิจเรียกความเชื่อมั่นคืนให้กับสายการบินแห่งชาติ


        
                                        สัญลักษณ์บนแบงค์มาเลเซีย


ผมนึกถึงภาพในโทรทัศน์วันที่รัฐมนตรีชัชชาติ สิทธิพันธ์ อดีตรัฐมนตรีกระทรวงคมนาคม ไปฟังคำพิพากษาโครงการรถไฟ 2 ล้านล้านบาท และศาลรัฐธรรมนูญท่านหนึ่งในองค์คณะถามว่าถ้าจำไม่ผิด ทำถนนลูกรังก่อนดีไหม และในที่สุดโครงการอัพเกรดรถไฟการคมนาคมตั้งแต่สมัยในหลวง ร.5 ที่จะเพิ่มความเจริญทุกด้านให้กับการรถไฟ พังคลืนพินาศสันตะโรเพราะศาลรัฐธรรมนูญที่อำนาจเหนือการปกครองแบบประชาธิปไตย ตอกย้ำด้วยการยึดอำนาจของทหาร คสช. ดองโครงการผ่านไปอีก และวันเวลาผ่านไป 2 ปี เห็นแต่ตู้รถไฟนอนใหม่มาบริการเป็นเรื่องปลีกย่อยเสียเหลือเกิน พร้อมกับการรถไฟออกมาให้ข่าวเกี่ยวกับการแชร์ในโซเชียลมีเดียระหว่างหัวรถจักรไทยและมาเลเซีย เป็นคนละระบบคนไทยใช้รถจักรดีเซลของมาเลเซียใช้ระบบไฟฟ้า


ภาพสะท้อนของหัวรถจักรไทยกับมาเลเซีย เป็นภาพสะท้อนของระบบคมนาคมที่ล้าหลังของไทยมองทะลุไปถึงระบบการปกครองการเมืองซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการของประเทศไทย
เราจะไม่โทษใครคนใดคนหนึ่งแต่สิ่งที่เห็นก็คือเราคนไทยทุกคนจะได้รับผลของสิ่งที่เกิดขึ้นและเราทุกคนต้อวรับผิดชอบร่วมกันถ้าหากปรระเทศของเราไม่ก้าวหน้าเพราะเรายอมให้ระบบอำนาจการเมืองเก่ามากกว่าระบบการเมืองที่ประขาธิปไตยครับ


ระบบการปกครองเป็นกลไกขับเคลื่อนประเทศ เหมือนกับระบบปฏิบัติการบนสมาร์ทโฟนที่อัพเดทเทคโนโลยีอยู่ตลอดเวลา ขอบอกปิดท้ายว่าสนามบินสุวรรณภูมิของไทย นักท่องเที่ยวของประเทศไทยเยอะกว่ามาเลเซียมากครับ เรื่องการท่องเที่ยวเขาเป็นรองเราอยู่หลายขุมจริงๆ ทำให้ผมภูมิใจเรื่องการท่องเที่ยวของเรา แต่พอมาเจอข่าวรถไฟก็หดหู่ก็อยากเขียนระบาย ก็เป็นโชคดีเหมือนกันที่การระบายครั้งนี้ได้ทำคลิปที่เก็บๆ มาครั้งไปมาเลเซียมาให้ได้ชมกัน ฝากติดตามกันด้วยนะครับ ที่เห็นอยู่ตรงหน้าของท่านคลิ๊กเข้าไปชมกันเลย


        
                                 รีวิวเที่ยวบินการบินไทย กัวลาลัมเปอร์ - สุวรรณภูมิ โดยผู้เขียน





ชีพธรรม คำวิเศษณ์
บันทึก พุธ17 สิงหาคม  2559

ความคิดเห็น