บันทึกเบื้องหลังการขับรถจักรไอน้ำเส้นทางกรุงเทพ-อยุธยา และแคมเปญสิงหาพาแม่เที่ยว ๒๕๕๙

                 
คุณยายวันดา สุนทรยาตร


 ก่อนคุณยายวัย 90 เข้านอนหลับยามค่ำคืนผมถามยายตามไสตล์ เพื่อการเขียนแบบ Memoir writing ช่วงบันทึกความทรงจำให้กับยายและบันทึกชีวิตของครอบครัวไว้ให้คนรุ่นหลังที่อยากรู้อดีตได้อ่านเล่นๆ
"ยายเจ้ามากรุงเทพในชีวิตครั้งแรกเมื่อไหร่แล้วมาทำไม"
ยายผมตอบเป็นภาษาเหนือคำเมือง
"ตอนนั้นแม่เฮา (แม่ของผม เกิด พ.ศ.2492) อายุได้ 2 ขวบ ตาย้ายไปทำงานป่าไม้ที่จังหวัดเพชรบุรี
ยายเข้ากรุงเทพครั้งแรกของชีวิต (ยายเกิด พ.ศ.2470) รถไฟออกจากสถานีเชียงใหม่ ตอนเช้า แต่ไม่แน่ใจว่าถึงกี่โมงเพราะไม่ได้ จำได้ว่านั่งรถไฟชั้น 2 เมื่อมาถึงกรุงเทพ สถานีหัวลำโพงคนไม่ได้พลุกพล่านเหมือนปัจจุบัน"

รถจักรไอน้ำแปซิฟิก 824 สร้างจากประเทศญี่ปุ่น เครดิตภาพ การรถไฟแห่งประเทศไทย


ผู้เขียนกับหัวรถจักรไอน้ำ 824


คุณยายผมเล่าความหลังเกี่ยวกับรถไฟให้ฟัง ผมเดินขึ้นมาบนห้องนอน ทำงานตัดต่อคลิปหัวรถจำไอน้ำที่ตัดต่อค้างไว้อยู่ เป็นคลิปที่ผมเคยกระโดดขึ้นไปนั่งกับพนักงานขับรถจักรไอน้ำขวนพิเศษ หัวลำโพง -สถานีรถไฟอยุธยา เป็นหัวรถจักรไอน้ำหมายเลข 824 เข้าประจำการใน ปี พ.ศ.2493 ซึ่งก็ไม่แน่ใจว่าอาจเป็นหัวรถจักรไอน้ำที่คุณยายผมนั่งมากรุงเทพครั้งแรกของชีวิตก็ได้ครับ


            
                                เจาะลึกเบื้องหลังการขับรถจักรไอน้ำเส้นทางกรุงเทพ-อยุธยา

ครั้งนั้นผมโชคดีมากๆ ได้รับความอนุเคราะห์จากการรถไฟแห่งประเทศไทย ขึ้นไปนั่งได้บันทึกวีดีโอในการบังคับม้าเหล็กรุ่นคุณปู่ที่การรถไฟแห่งประเทศไทยได้อนุรักษ์ไว้ วิธีการขับบังคับต้องมีพนักงานขับรถ 2 คน ทางขวามือเป็นพนักงานบังคับความเร็วรถจักรไอน้ำ คันเร่งรถจักรเป็นด้ามยาวๆ คอยบีบจับ และคอยห้ามรถ
ส่วนพนักงานทางด้านซ้ายเป็นผู้บังคับคอยดูแลระบบไฟให้เผาพลาญตลอดเวลาเป็นแรงขับให้ไอน้ำไปขับเคลื่อนลูกสูบ การที่มีพนักงาน 2 คนมำให้ผมนึกถึงค๊อคพิทเครื่องบิน
โบอิ้งและแอร์บัสต้องใช้นักบิน 2 คน ทำงานร่วมกัน คนหนึ่งเป็น Pilot Fly สำหรับบัวคับการบิน และอีกคนเป็น Pilot Not Fly เป็นผู้อ่านเช็คลิสต์ขั้นตอนต่างๆ ตั้งแต่นำเครื่องขึ้นจนถึงลงสนามบินพร้อมกับคอยติดต่อหอวิทยุการบิน
ในห้องขับพนักงานหัวรถจักรไอน้ำไม่มีห้องแอร์ อาศัยแรงลมธรรมชาติที่หัวรถจักรวิ่งพุ่งออกไปข้างนอก พอได้เย็นสบาย เพราะอากาศในห้องบังคับรถจักรร้อนพอสมควรด้วยแรงไฟจากหม้อต้มไอน้ำ

พนักงานขับรถหัวรถจักรทำงานประสานกันเป็นทีม และมีความตั้งใจที่จะอนุรักษ์หัวรถจักรไอน้ำไว้เป็นสมบัติของคนไทยทุกคนเส้นทางรถไฟกรุงเทพ-อยุธยา เป็นรถไฟสายแรกของประเทศไทยที่เปิดดำเนินมามาตั้วแต่
26 มีนาคม พ.ศ.2439 หรือ 120 ปีผ่านมาแล้ว คราใดที่ได้นั่งรถไฟเส้นทางกรุงเทพ-อยุธยา วิวสองข้างทางอาจทำให้ทุกท่านรำลึกถึงอดีตที่ผ่านมายิ่งถ้ามีข้อมูลทางประวัติศาสตร์ทำให้ยิ่งสนุกกับการท่องเที่ยวมากยิ่งขึ้น

ผมอยากชวนชมคลิปยูทูบประวัติศาสตร์ที่ถ่ายไว้เมื่อวันที่ 23 ต.ค. 2553 เมื่อครั้งรอบ 100 ปี วันสวรรคต ในหลวง ร.5 ผู้ให้กำเนิดรถไฟไทย เส้นทางรถไฟนี้คุณยายและแม่ของผมก็เคยนั่งผ่านมาแล้วในอดีตและยังคงเป็นเส้นทางรถไฟที่มีชีวิตอยู่ต่อไปอีกนานแสนนาน

ครดิตภาพกรมประชาสัมพันธ์


ก่อนเขียนบทความนี้ในบล๊อคและโพสไปตามโซเชียลมีเดียของผม ได้มีโอกาสไปทำธุระที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานใหญ่ เดือนสิงหาคม เป็นวันแม่แห่งชาติ
ททท. ออกแคมเปญการท่องเที่ยว สิงหาพาแม่เที่ยว ผมอยากชวนท่านที่อ่านบล๊อคถ้ามีโอากาสถ้าคุณแม่ไม่ได้ขึ้นรถไฟมานานแล้ว หรือไม่ได้ไปเที่ยวนั้นลองชวนไปเที่ยวเพื่อรำลึกถึงอดีตที่มีความสุขและเปลี่ยนบรรยากาศในการใช้ชีวิต ถ้านึกไม่ออกว่าจะไปเที่ยวไหนก็ลองติดตาม Twitter @go2thailand , เฟซบุ๊คแฟนเพจ Amazingthailand , เว็บไซค์ thai.tourismthailand.org หรือท่านเป็นแฟนคลับของเว็บไซค์หรือโซเชียลมีเดียที่แนะนำท่องเที่ยว ชวนออกไปเที่ยวกันครับ

บันทึก
ชีพธรรม คำวิเศษณ์
ศุกร์ 5 สิงหาคม 2559 




ความคิดเห็น