Blockchain The Next Internet คืออะไร

                   
                                         ชวนชมคลิปงาน Blockchain The Next Internet


ก่อนจะเขียนบทความนี้ผ่านบล๊อคของผม ถามตัวเองว่านี่ใจแล้วหรือจะเขียนลงไปเพื่อขยายความจากงาน สัมมนา Blockchain The Next Internet ที่จัดโดยมูลนิธิสารสนเทศ ( http://www.thnic.or.th) ร่วมกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (www.set.or.th) จัดขึ้นเมื่อวันจันทร์ที่ 25 ก.ค. 2559 ที่ผ่านมา เป็นเรื่องยากไม่ใช่ของเล่นๆ เลยครับ แต่ในฐานะที่เป็นผู้ดำเนินรายการในช่วงเสวนา ถือได้ว่าผมเป็นคนตั้งคำถามกับวิทยากรที่เก่งและเชี่ยวชาญที่สุดในประเทศไทย เพราะฉะนั้นผมเขียนเองเลยดีกว่า ถือว่ามาเล่าสู่กันฟังละกันนะครับ


ผู้เขียน กับ ศ.ดร.กาญจนา กาญจนสุต เจ้าของไอเดียงาน Blockchain และ คุณเพ็ญศรี อรุณวัฒนามงคล Thnic 


ก่อนอื่นขอกิตติกรรมประกาศสักนิดนึงก่อนที่จะไปในรายละเอียดว่าเจ้า Blockchain คืออะไร หน้าตาเป็นอย่างไร ทำไมต้องจัดงานขึ้นมา แล้วที่สับสนกันมากก็คือ เป็นระบบเดียวกับ Bitcoin หรือไม่ แล้วทำเงินอย่างไร ที่มาของงานสัมมนานี้ก็คือ ศ.ดร. กาญจนา กาญจนสุต ผู้ก่อตั้งตั้งมูลนิธิ ในฐานะที่ท่านเป็นผู้ใช้อินเทอร์เน็ตคนแรกของประเทศไทย และเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตจะมีผลกระทบกับผู้คนในประเทศไทย ซึ่งปัจจุบันมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตกว่า 30 ล้านคนในเมืองไทยเห็นจะได้มั้งครับ

ท่านเห็นว่า Blockchain กำลังจะเข้ามาเปลี่ยนแปลงวงการอินเทอร์เน็ตอีกรอบ จึงมีดำริจัดงานนี้ขึ้นมาในประเด็นเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีเพื่อให้องค์ความรู้นี้ประกาศให้คนไทยทราบอย่างเป็นทางการก่อนแล้วค่อยขยายตัวมากขึ้นจึงได้จัดงานแบบฟรีๆ ร่วมกับตลาดหลักทรัพย์ งานนี้บอกได้เลยครับว่า
ถ้าเป็นมวยชิงแชมป์โลกแล้ว เหมือนกับ เข้าไปดู แมนนี ปาเกียว นักชกฟิลิปปินส์ ค่าตัว 80 ล้านเหรียญ ชกฟรี ๆ ให้ชม ไม่ได้แบบถ่ายทอดสดนะครับ ความยิ่งใหญ่ขนาดนั้น


ถามว่านายชีพธรรมนี้เขียนเว่อร์หรือโม้ไปหรือเปล่า เขาชวนไปเป็นผู้ดำเนินรายการหน่อยทำเป็นเขียนอวยไปได้ อ่านจากผมแล้วอยากตกใจนะครับ ในวันศุกร์ ที่ 4 สิงหาคม 2559 เป็นวันสื่อสารแห่งชาติ
ทาง กสทช. เชิญ Don tapscott นักเขียนผุ้แต่งหนังสือ Blockchain Revolution มาพูดที่เมืองไทย
ให้กับผู้นำประเทศคณะรัฐบาล นักธุรกิจ นักวิชาการ สื่อสารมวลชน สนใจฟังคลิ๊กลงทะเบียน

ค่าตัวมาบรรยาย ได้ยินมาแว่วๆ ว่า 3 ล้านบาท ย้ำ 3,000,000 บาท บรรยายเสร็จบินกลับประเทศแคนาดาเลยพร้อมกับหอบเงินบาทกับไปด้วย ขอถามหน่อยแพงไหม แล้วแต่จะคิดครับ เป็นเรื่องของค่าทรัพย์สินทางปัญญาแล้วกัน ถ้าอยากจะดีแบบฟรีๆ บนยูทูบ เกี่ยวกับเรื่องนี้ หนังสือ Blockchain Revolution ดอนเขียนร่วมกับ Alex Tapscot ลูกชายของเขา ซึ่งเมื่อกลางเดือนกรกฏาคม
ที่ผ่านมาทางบริษัท Google ก็เชิญไปพูดให้พนักงานฟัง ถามอัพโหลดยูทูบให้คนได้ชมกันทั้งโลก
ฟรีๆ ใครสนใจตามลิงค์ข้างล่างเลย ไม่รู้ว่าดอนผู้พ่อมาพูด ค่าตัว 3 ล้านจะเหมือนกับลูกชายพูดให้ Google ฟังฟรีหรือเปล่า ไหน ๆ มาทั้งที กสทช. ต้องให้คุ้มค่าตัวหน่อยนะครับเงินภาษีประชาชนทั้งนั้น ช่วงนี้ประชาชนเดินดินเงินหายาก ต้องให้คุ้มค่าอยากให้มีถ่ายทอดสดด้วยพร้อมกับล่ามแปลภาษาด้วย
แต่สำหรับมูลนิธิ Thnic จัดเรื่องเดียวกันครับจับมือกับตลาดหลักทรัพย์ให้ฟังกันฟรีๆ มาเริ่มกันเลยดีกว่าครับ
ลองชมคลิปของ Alex Tapscott: "Blockchain Revolution" | Talks at Google


                      
                           คณะวิทยากรถ่ายกับผู้เข้าร่วมสัมมนา ห้องประชุมตลาดหลักทรัพย์ชั้น7



ผู้เข้าร่วมสัมมนา 500 คนเห็นจะได้เต็มห้องประชุมตลาดหลักทรัพย์ชั้น 7
ผมว่าครึ่ง ๆ เป็นพวกเก็งกำไรเป็น Bitcoin และ onecoin และสกุลเงินดิจิตอล ต่างๆ
อีกกลุ่มเป็นพวกสายเทคโนโลยี จากองค์กรต่างๆ ซึ่งผมขอดูรายชื่อจากผู้จัดงานแล้วเห็นว่า
มาจากหน่วยงานสายการเงิน มหาวิทยาลัย องค์กรธุรกิจ เห็นแต่ละชื่อแล้วไม่ธรรมดาทั้งนั้น
มี 2 คนระดับประเทศที่ผมรู้จักทำตัวเป็นมวยสุ่มมาฟังด้วย
ก็คือ คุณปรเมศวร์ มินสิริ ผู้บริหาร Kapook.com เว็บไซค์อันดับหนึ่งในสามของประเทศไทย
และคุณฉัตรชัย คุณปิติลักษณ์ โฆษกกระทรวงไอซีที ที่สนใจเรื่อง Blockchain ผมนึกในใจสองคนนี้มาไม่ธรรมดาแน่นอน ในการสัมมนาครั้งนี้มีการถ่ายทอดสดผ่านยูทูบด้วย ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องเยี่ยมมากๆ


คุณโอ๋ ผู้จัดการมูลนิธิ Thnic กับคุณภาคภูมิ ไตรพัฒน์ กรรมการ ดำเนินรายการเองเลย



"น้องโอ๋ ศิรณัชชา วุฒิประพันธ์พงศ์ ผู้จัดการมูลนิธิศูนย์สารสนเทศเครือข่ายไทย
ทำไมคนมาเยอะมากมายขนาดนี้ โปรโมทมูลนิธิโปรโมทอย่างไร"
ผมถามผู้จัดการมูลนิธิเรารู้จักกันมานานแล้ว
"ตลาดหลักทรัพย์ช่วยด้วยพี่คนสนใจเยอะมาก"


ผมเจอท่านปรเมศวร์ที่แวบออกมาระหว่างงานเพราะบอกว่ามีถ่ายทอดสดผ่านยูทูบแล้วเดี๋ยวไปดูย้อนหลังกลางคืน


"ท่านมาฟังทำไม มีอะไรน่าสนใจหรือ Blockchain" ผมถามแล้วจะเก็บข้อมูลเผื่อได้กรณีศึกษาไปตั้งคำถามบนเวทีบ้าง เพราะว่า เรื่องนี้ไม่ใช่ง่ายๆ เป็นนามธรรมมาก ไม่ใช่รูปธรรม ว่าแล้วท่านปรเมศวร์ ก็ชี้ไปที่ป้ายงาน


"คุณไตร (ชื่อเล่นของผู้เขียน) ผมว่า เจ้า Blockchain ไม่ใช่ The Next Internet นะ มันจะยิ่งกว่าอินเทอร์เน็ตอีก 2 เท่า ผลกระทบจะรุนแรงมากกว่า
"เฮ้ยท่าน อะไรจะขนาดนั้น แล้วหน้าตามันเป็นอย่างไร เจ้า Blockchain ไหนลองอธิบายมาให้ผมเป็นรูปธรรมหน่อยดิ"


" ผมบอกคุณไตร ตรงๆ เลยนะ ผมรู้ว่ามันเป็นอย่างไร แต่ผมยากที่จะอธิบายเป็นรูปธรรมให้เห็นภาพ
แต่จะปฏิวัติวงการราชการ ทุกคนจะเข้าไปตรวจสอบโฉนดที่ดินได้ ปฏิวัติเรื่องการเลือกตั้ง และสารพัดเลย แล้วคอยดูต่อไป" ท่านปรเมศวร์ มิตรสหายทางเทคโนโลยี สายตาทางเทคโนโลยีประดุจเหยี่ยวที่สายตายาวไกลในประเทศไทย จับตามองแล้วเรื่องนี้ไม่ธรรมดาแน่นอน



อีกท่านที่ซุ่มมาฟังคนนี้ไม่ธรรมดานะครับ คุณฉัตรชัย คุณปิติลักษณ์ โฆษกกระทรวงไอซีที ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด รุ่นพี่รุ่นน้องกับ ลาร์รี่ เพจ และ เซอร์จิ้น บิล ผู้ก่อตั้งบริษัทกูเกิ้ล


"สวัสดีโฆษก มากับเค้าเหมือนกันหรือ"
"ต้องมาหน่อยครับพี่ เรื่องนี้เรื่องใหญ่ จะเปลี่ยนแปลงเยอะมาก"
"ไม่น่าเชื่อหัวข้อนี้ ท่านโฆษกมาเองเลยต้องมีอะไรเด็ดๆ แน่นอน"
"มีแน่พี่"


ดร.ยรรยง เต็งอำนวย




ดร.กฤษดา เสกตระกูล

เริ่มเปิดงานตรงเวลามากบ่ายโมง โดย ดร.ยรรยง เต็งอำนวย แห่งมูลนิธิThnic  จากนั้น ดร.กฤษดา เสกตระกูล ผู้ช่วยผู้อำนวยการตลาดหลักทรัพย์ เจ้าบ้านกล่าวต้อนรับ ถ่ายรูปร่วมกันเป็นพิธี
ดร.ภูมิ ภูมิรัตน แห่งบริษัท G-able ขึ้นพูดเรื่อง Blockchain ว่าด้วยเทคโนโลยีล้วนๆ สมกับเป็นด๊อกเตอร์ทางคอมพิวเตอร์จริงๆ ท่านเคยเป็นอาจารย์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีธนบุรี แล้วลาออกมาอยู่ภาคธุรกิจเชี่ยวชาญระบบรักษาความปลอดภัยบนเน็ตและ Blockchain ถ้าเป็นนักมวยก็น่าจะเป็นมวยเอก และเก่งเรื่องนี้ที่สุดเบอร์ต้นๆ ในเมืองไทย ไม่งั้นทีมงานมูลนิธิคงไม่ได้ให้ขึ้นพูดท่านแรก ข้อมูล เล่นเอาผมมึนไปหมด เหมือนกับเจอยานานหลับ เพราะเต็มไปด้วยทฤษฏี และศัพท์แสงทางเทคนิค ก็งานนี้
เป็นเรืองเทคโนโลยี ใครจะมาแสวงโชคแบบแชร์ลูกโซ่คิดหนักแน่นอนครับ แต่ปรากฏแทบไม่มีคนลุกไปไหนแล้ว ผมคิดในใจท่านความรู้เยอะจริงๆ  ผมทนฟังไปก่อน เดี่ยวขึ้นเวทีเสวนา ผมจะถามย่อยให้ ดร.พูดง่ายๆ แล้วกัน  ภายในงานสัมมนา มีการตั้งแฮชเทค #blockchainth สำหรับผู้ที่เข้ามาฟังให้ทวีตบนทวิตเตอร์ขึ้นจอ แรกๆ ผมก็พอทวีตได้ครับ หลังๆ ทวีตไม่ค่อยไหวแล้วยากขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งยอมแพ้ไปเอง
เพราะสติปัญญาความรู้ไม่ถึง นั่งฟังด้วยความสนใจไม่ย่อท้อ จนกระทั่งหมดเซสชั่นของ ดร.ภูมิ
ติดตามฟังคลิป ดร. ภูมิได้ที่ นาที 1.07-1.51

ดร.ภูมิ ภูมิรัตน G-Able




คุณ Pindar Wong จากฮ่องกง 

วิทยากรท่านถัดไปนั่งอยู่ข้างๆ ผมเลยครับ ชื่อคุณ Pinda Wong บินตรงมาจากเกาะฮ่องกง
บรรยายเป็นภาษาอังกฤษล้วนๆ  ผมก็เลยลุกออกไปเตรียมตัวก่อนดีกว่า ท่านใดสนใจภาษาอังกฤษแบบเชิงลึกเทคนิคก็ติดตามชมจากคลิปได้เลยครับ ช่วงนาทีที่ 1.53 -2.35


บรรยากาศเสวนา 


จากนั้นมาถึงช่วงเสวนา ท่านที่ชมคลิปเปิดได้ที่  2.44 - 4.01
สำหรับบล๊อคที่ท่านอ่านอยู่นี้ ผมได้ถอดสรุปจากการเสวนามาให้อ่านกันครับ
ผมเกรินนำกับผู้ฟังกว่า 500 ท่านดังต่อนี้


ผมบอกกับผู้ฟังก่อนเลย ผมเป็นนักข่าวไอทีมา 20 ปี เห็นปรากฏการณ์มาเยอะ แต่ผมก็ยอมรับว่าตื่นเต้น และยากจะปูพื้นไปเรื่อย ๆ ผมอยากให้ทุกคนได้กลับไปมาที่สุดเท่าที่ทำได้
วิทยากรท่านแรก ดร.รอม หิรัญพฤกษ์
วิทยากร ท่านที่สอง ร้อยโท ดร. เจษฏา ศิวรักษ์​
วิทยากร ท่านที่สาม คุณสุวิชชา สุดใจ จากบริษัทดิจิตอลเวนเจอร์ ในเครือธนาคารไทยพาณิชย์
และ ดร.ภูมิ ภูมิรัตน์

มาเริ่มที่ ดร.รอม คนที่อาวุโสที่สุดในงานแต่ท่านอัพเดทมาก ผมถาม ดร.รอมว่า “ทำไมถึงต้องรู้จัก Blockchain”


ดร.รอม “ เป็นสิ่งที่เราจะต้องรู้เพื่อทำการแข่งขันให้ได้ บ่อยครั้งที่เราไม่สามารถแข่งขันได้ เพราะเราไม่ทันเทคโนโลยี ตรงนี้เป็นโอกาส เป็นสิ่งที่เราเกี่ยวข้องได้ เพราะโอกาส และประเทศของเรา”


ผมถามไปที่ ดร.เจษฏา “หน้าตาเป็นอย่างไรกับ Blockchainเป็นฮาร์แวร์หรือซอฟต์แวร์ ”


ดร.เจษฏา​ “จริงๆ โปรโตคอลที่ทำให้เชื่อมโยงกัน คล้ายกับอินเทอร์เน็ต ระบบโทรคมนาคมในสมัยก่อนเป็นระบบเซ็นทรัลไลซ์ แต่อินเทอร์เน็ตเป็นแบบดิเซ็นทรัลไลซ์ ใครมีคอมพิวเตอร์ก็เอามาต่อกัน
ทำอะไรก็ได้หมด ไม่มีการแบ่งชั้นวรรณะ Blockchain ทำเหมือนกับอินเทอร์เน็ต แต่ทำได้มากกว่า แทนที่เป็นตัวกลางต่างๆ ทำอย่างไรให้เชื่อมโยงเข้าหากัน”

ผมถามต่อ คุณสุวิชชา “ใครควรจะรู้เรือง Blockchain ครับ นักการเงิน คนทั่วไปหรือ คนที่แสวงโชค


คุณสุวิชชา “แอพบน blockchain มีทุกแบบ เมื่อวานนี้ผมไปพูดงาน techsauce summit มีผู้เชี่ยวชาญมาพูดในงานด้วยเขาบอกว่า Blockchain จะมาเปลี่ยนแปลง The way we live or live in the future หมายความว่า
เรามีประชากร 7 พันล้านคน ถ้าเรามา blockchain เข้ามาจับ คนทุกคน เราสามารถจะเข้ามาเชื่อมโยงกับทุกคนได้”


Blockchain กับความสนใจของผู้ร่วมสัมมนา

วิทยากรทั้ง 3 ท่านตอบไปแล้วก็ยังไม่เห็นภาพ ผมจะทำอย่างไรดี กลับมาที่ ดร.ภูมิ ซึ่งบรรยายไปคนแรก
“ดร.ภูมิ ไหนเอาแบบที่เห็นภาพเลยครับ มีแอพ อะไรบ้าง เปิดหน้าตาให้ดูหน่อย เอาแบบโหลดติดตั้งเลย”
ดร.ภูมิตอบว่า “มีเยอะแยะครับ bitcoin wallet , storej , bitmessage จะแชตกับเพื่อนผ่าน ยังมีอีกเพียบ”
“มันเป็น cloud หรือเปล่า ดร.” ผมถาม
“มันเป็นมากกว่า Cloud ครับเพราะทุกคนเข้าไปมีส่วนร่วมได้ Cloud มันเข้าไปอยู่ในเครื่องของคนหนึ่งคนแต่ Blockchain ไม่ใช่”
“ผมอัพโหลดขึ้น Google Drive หรือ Dropbox เข้าไปอยู่ใน Blockchain ไหมครับ”
“ไม่ใช่ครับ แต่ถ้าอัพโหลดขึ้น Storej จะเข้าไปอยู่บน Blockchain


มุมมองจากด้านหลังวิทยากร

ว่าแล้ว ดร.ภูมิ ก็พิมพ์เว็บไซค์ขึ้นจอให้ทุกคนได้เห็น เริ่มจับเค้าลาง Blockchain ได้บ้างแล้วว่า เป็นส่ิงที่จับต้องไม่ได้เป็นเทคโนโลยีคล้ายกับอินเทอร์เน็ตทุกอย่างนำมาเชื่อมต่อกัน
ก็คงคล้ายกับมีใครมาถามเราว่า อินเทอร์เน็ตคืออะไร ถ้าเป็นเราๆ ท่านๆ ก็คงจะ งง ตอบไม่ถูก Facebook , Line , Email , Google , ยูทูบ , อีคอมเมริ์ช ฯลฯ เต็มไปหมด

เริ่มที่จะเห็นภาพกันแล้วใช่ไหมครับ ไม่ใช่ Cloud ไม่ใช่ Dropbox ไม่ใช่ Google Drive แต่ Blockchain เป็นเทคโนโลยีที่อยู่เบื้องหลัง และต้องมีแอพ
ที่พัฒนาขึ้นมาเฉพาะจริงๆ

ดร. ภูมิ แนะนำ Storej แล้วก็บอกว่าเจ๋งกว่านั้นก็คือหาเงินจาก Storej ได้ด้วย ลองเข้าไปใช้ที่ https://storj.io/ เบื้องหลังคือ Blockchain เอาไฟล์ไปฝากได้
ให้ผู้คนเช่าฮาร์ดดิสก์ได้

ดร.รอม หิรัญพฤกษ์

จากนั้น ดร.รอม แนะนำหนังสือ Blockchain Revolution ให้ไปอ่านเพิ่มเติมกัน ก็คือหนังสือที่ Don Tapscott
จะมาบรรยายที่เมืองไทยครับ

ดร.เจษฏา ขอเสริม “ผมอยากให้มอง Blockchain คนเอาคอมพิวเตอร์มาเชื่อมกัน เช่นผมมีฮาร์ดิสก์มาต่อกัน”
ผมถามต่อ “คล้ายกับ Bittorrnet ไหมครับ”
​ “ก็คล้ายนะครับแต่มากกว่า เมื่อเดือนเมษายน ที่สหรัฐอเมริกา มีการขายไฟฟ้า มีการเอา Blockchain เข้ามาใช้ซื้อขายด้วย เอางี้
ถามว่า อินเทอร์เน็ตให้บริการทีวีได้ไหม โทรศัพท์ได้ไหมวิทยุได้ไหมก็ทำทุกอย่างได้หมด Blockchain ก็คล้ายๆ กันครับ ” ผมย้ำไปอีกเสริมกับ ดร. เจษฏา
ไปอีกว่า “ Blockchain คืออินเทอร์เน็ตที่มากกว่า อินเทอร์เน็ต”


คุณสุวิชา สุดใจ จาก Digital Venture

ดร.รอม เสริมต่อ “เป็นดาต้าเบสฐานข้อมูลก็ได้ แต่กระจายไปอยู่บนอินเทอร์เน็ต ความแตกต่าง ก็คือการเข้าถึงและการเข้ารหัสเป็นขั้นตอนที่ยากกว่า มีระบบรักษาความปลอดภัยเปลี่ยนแปลงข้อมูล ต้องกระจายไปหลายๆ ที่ เป็นดาต้าเบสที่กระจาย
อย่าง 7 ปีก่อน คุณซาโตชิ นากาโมโต้ ชาวญี่ปุ่น ซึ่งไม่รู้ว่าตัวจริงเป็นใคร
ได้ตีพิมพ์ ซอร์คโค้ดออกมา

คุณสุวิชาเสริม ไม่ต้องรู้เยอะ แล้วก็เปิดเว็บไซค์ bitcoin ก็เป็นส่วนหนึ่งของ Blockchain

ผมได้บอกว่ากับผู้ฟังว่า จำลองตัวเอง เป็น เจฟ บีซอส ผุ้ก่อตั้ง amazon.com ว่าได้ยินคำว่าอินเทอร์เน็ต เขาอยากขายหนังสือนับจากนี้ไปว่า ถ้าได้ยินคำว่า Blockchain จะไปหากินอย่างไรได้บ้าง
ดร.ภูมิ คนแรก ๆ เพราะรู้ดีกว่าเพื่อน รบกวนบอกหน่อยครับ

ดร.ภูมิ “ทำอะไรก็ได้ ได้ทุกอย่าง เช่นโฉนด บัตรประชาชน ผมว่าโฉนดจะเป็นแอพแรก ๆ ที่วิ่งบน Blockchain”


ผมสวนไปทันทีว่า “แม่ผมไปขอคัดสำเนากรมที่ดินยังไม่ค่อยจะให้ดู ต้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียเท่านั้น”

ดร.ภูมิบอกว่า”ประเทศไทยไม่รู้ ประเทศอื่นมีแน่นอน”
“ถ้าคนทั่วไป คนทั่วไปถ้าออกแบบเป็นข้อมูลบางอย่างอยู่บน Blockchain ยิ่งกว่า MySQL อีก”
คุณสุวิชชา บอกว่ามี 6 เรื่อง เช่น Asset, แก้วแหวนเงินทอง อะไรที่อยากจะตรวจสอบไปต้นตอ
Trust ความน่าเชื่อถือ การโอนเงิน ธุรกรรมต่างๆ
Ownership ความเป็นเจ้าของ
Identity คนทุกคนมี ID มีตัวตน เราไป
Money เราเอาเงินไปโอน
Contract การซื้อขายระหว่างกัน อยากจะโอนกรรมสิทธิ์ของรถต่างๆ ซือขายกันผ่าน Blockchain

คุณสุวิชชากับดร.ภูมิ แนะนำ https://smartcontract.com/
ผมถามต่อ “เชื่อมกับ Google และแอนดรอย ได้หรือไม่
ดร.ภูมิบอกว่า “ระบบ Smartcontract เราต้องใส่เงินเข้าไปก่อน และจ่ายเงินทางนั้นเป็นความเชื่อถือกัน ระบบนี้จะไม่เห็นต่อเมื่อเงินเข้าไปอยู่ในระบบแล้ว”

“ดร.ภูมิแล้วใช้ได้เลยไหม จะใช้เดี๋ยวนี้เลยก็ได้ครับ เมืองนอกใช้กันแล้ว เมืองไทยผมยังไม่แน่ใจ ส่งคำถามกับไปที่ ดร.เจษฏา อะไรที่จับต้องได้อีก ไม่เอาทฤษฏี”

ร้อยโท ดร. เจษฏา ศิวรักษ์ จาก กสทช.


ดร.เจษฏา “ ก่อนจะมีอินเทอร์เน็ต ผมขอถามว่าสถานีโทรทัศน์ทำยากไหม คำตอบคือยาก เดี๋ยวนี้มีสมาร์ทโฟนเลย เมื่อมีอินเทอร์เน็ตเข้ามาทุกคนสามารถมีสถานีวิทยุ และมีสถานีโทรทัศน์ของตัวเอง ให้บริการโทรคมนาคมได้ถ้านำ Blockchain เข้ามาใช้ทุกคนเป็นธนาคารได้”

ดร.เจษฏาพูดเป็นประเด็นขึ้นมาเลยครับ “ทุกคนเป็นธนาคารได้ เอ้าแล้วเป็นอย่างไรละ
แนะนำ Wb21.com เป็นธนาคาร เป็นหนึ่งตัวอย่าง หรืออะไรที่กล่าวกับสัญญาต่างๆ จะไม่มีตัวกลาง
เพื่อ เอา Blockchain มาให้นักเรียนส่งการบ้านก็ได้ อีกตัวอย่างคือองค์กร DAO องค์กรที่องค์กรไม่มี CEO ทุกคนเท่ากันหมดเอาไปใช้กับพรรคการเมืองก็ได้ แต่องค์กรรุ่นเก่าจะไม่ยอมสูญเสียโอกาส จะเป็นความท้าทายใหม่ๆ เอาแบบสุด ๆ จะเปลี่ยนระบบการเมืองการปกครอง
ไม่ต้องมีการเลือกตั้งไม่ต้องมี สส. ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชนจะเปลี่ยนไป”

ดร.รอมอธิบายเพิ่มหน่อย “สิ่งที่ทุกคนนึกในกรอบเก่า ประเด็นที่เราพูดถึง Blockchain จะมาทำลายของเก่า
เปรียบเทียบว่าเราจะมีรถยนต์ไร้คนขับที่กำลังจะเกิดขึ้น ทำไมต้องเป็นรถละ บริษัทก็สามารถทำได้
ธุรกรรมต่างๆ ตามที่ตกลงกันไว้ กิจกรรมบริหารจัดการทั่วไป สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นแล้ว แต่ถ้าถามว่า
แพร่หลายก็คงเหมือนกับอินเทอร์เน็ตเมื่อ 30 ปีก่อนที่ ตอนนั้นยังไม่มีใครจะรู้ว่าอินเทอร์เน็ตจะทำอะไรได้บ้าง
ที่เรากำลังพูดกันอยู่ถือว่าเราผิวเผินมาก ๆ ถ้าเราดูจากบทวิจัย 5-10 ปี ก็จะเป็นเรื่อง Blockchain ลดค่าใช้จ่ายสิ่งเหล่านี้จะเปลี่ยนธุรกิจ เช่นถ้าหุ้นไปอยุ่ใน Blockchain จะเป็นอย่างไร ตลาดหลักทรัพย์จะเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง”

ผมถามต่อไปครับ คำถามต่อไปพวก Bitcoin Onecoin สำคัญกับ Blockchain อย่างไรที่เก็งกำไรกัน มีพรรคพวกมาเล่าให้ฟังว่ามีคนรู้จักได้เงินเหล่านี้มาถึง 11 ล้านบาท


ดร.ภูมิ​ “เป็นเรื่องของซับพลายและดีมานด์ ของพวกนี้ไม่เกี่ยวกับค่าเงินของประเทศใดประเทศหนึ่ง
ผมไม่แนะนำสิ่งเหล่านี้

คุณสุวิชชาบอกว่า “bitcoin ก็เหมือนกับการเทรดทอง ต่างๆ เหมือนกับการขุดทอง ทำให้มีราคา ราคาขึ้น ๆลงๆ เหมือนกับการเก็งกำไรเป็นการเทรดกันธรรมดา”


ผู้เข้ารับฟังปรบมือประทับใจ

ดร.เจษฏา “ Bitcoin พวกนี้บางทีเหมือนแชร์ลูกโซ่ ไม่เกี่ยวกับ Blockchain สิ่งเหล่านี้ เป็นเรื่องแชร์ลูกโซ่เป็นเครื่องเก่าแล้วเอา Blockchain มาปรุงแต่งเป็นเรื่องเล่าให้คนเชื่อ Blockchain เกิดมาเพื่อจะฆ่าคนกลาง
ส่วนเรื่องการค้าขาย เอามาทำ Digital Currency สกุลเงินที่ไม่ได้ผลิตออกมาจากรัฐบาล ผลิตจากที่ประชาชนนำคอมพิวเตอร์มาต่อกัน
ผิดกฏหมายไหม ไม่ผิดกฏหมาย Bitcoin ยอมรับว่าเป็นสกุลเงินหรือไม่ มีหลายประเด็นที่พิจารณา”

ผมถามต่อ “แล้วแต่ละท่านเห็นใครท่ีทำเงินจาก Bitcoin เอาบัญชีมาโชว์กันบ้างหรือไม่

ดร.เจษฏา “ก็มีคนแรก ๆ ที่เข้าไป จากนั้นก็ถูกเชิดไปในคราวหลัง”

ดร.รอม “ผมขอเตือนเลยครับว่า Bitcoin เพื่อนผมเสียเงินไปเยอะ เสี่ยงมาก คล้ายกับแชร์แม่ชม้อย
คนที่พูดเรื่องนี้เป็นแชร์ลูกโซ่ ต้องช่วยกันทำความเข้าใจ Blockchain ไม่เกี่ยวกับแชร์ลูกโซ่
ถ้าเขาโชคดีก็ทำเงินได้ ถ้าโชคไม่ดีก็ทำเงินไม่ได้ ช่วงนี้ Fintech จัดงานกันบ่อยมาก
เบื้องหลังของแอพเหล่านั้นคือ Blockchain


วิชั่นวิสัยทัศน์คือผู้ที่มองไกลมองเห็นอนาคตก่อนคนอื่น ผมเชื่อว่าสิ่งที่มูลนิธิ Thnic ได้มอบองค์ความรู้
Blockchain ให้กับสังคมไทยจะเป็นประโยชน์ต่ออนาคตของประเทศเพราะสังคมดิจิตอลขับเคลื่อน
ทุกอย่างด้วยเทคโนโลยี

ผู้เขียนขอขอบคุณ Thnic ที่ให้เกียรติมาดำเนินรายการเสวนา Blockchain

บันทึก พฤหัสบดี 28 ก.ค. 2559 
ชีพธรรม คำวิเศษณ์


































ความคิดเห็น

Unknown กล่าวว่า
> < อยากฟังบ้าง เอ๊ะ.. หรืออยากเล่าให้ฟังดี > <
VisionPowers กล่าวว่า
อ่านบทสนทนาต่างๆ แล้ว มีใครเข้าใจบ้างครับ?