เขียนรำลึก 24 มิถุนายน 2559 รวบรวมหนังสือสะสมประวัติศาสตร์อภิวัฒน์สยาม 2475

หมุดอภิวัฒน์ 2475 ด้านข้างพระบรมรูปทรงม้า  (ภาพจากเฟซบุ๊ค)


ศุกร์ 24 มิถุนายน 2559 วันนี้ครบรอบ 84 ปี อภิวัฒน์สยามเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475
เช้านี้ผ่านไปอย่างเงียบเหงา ไม่มีการเฉลิมฉลองทั้งที่เคยเป็นวันชาติ  วันที่ประกาศประชาธิปไตย
ยามที่ประเทศอยู่ในระบบเผด็จการ ซึ่งก็ต้องข้ามกับประชาธิปไตย การให้แสดงความทางการเมืองประชาธิปไตย ย่อมเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้  แม้ว่าผมจะไม่ได้ไปร่วมงานใด ๆ ของกลุ่มอภิวัฒน์สยาม 2475
ก็ขอส่งใจรำลึกถึงความเปลี่ยนแปลง จากสมบูรณาญาสิทธิราช ที่พระมหากษัตริย์อยู่เหนือกฏหมาย
มาเป็นพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ ซึ่งแม้ว่าการกระทำดังกล่าวจะมีแนวคิดบอกว่า
เป็นการล้มเจ้าบ้าง เป็นการรัฐประหารบ้างแต่ก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้อำนาจการปกครองเป็นของปวงชนชาวไทย  

นี่คือวันที่ครบรอบ 84 ปีแรกของประชาธิปไตย ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีการรัฐประหารมากที่สุดในโลก
แต่ก็ไม่เป็นไรครับ ถ้าหากเทียบเคียงกับประเทศสหรัฐอเมริกาที่เป็นต้นแบบของประชาธิปไตยแบบรัฐธรรมนูญที่มีลายลักษณ์อักษร  แรกเริ่ม 84 ปีแรกของประเทศของเขา ก็กระท่อนกระแท่น ไม่แพ้ประเทศไทยเหมือนกัน เวลานั้นตอนร่างรัฐธรรมนูญสหรัฐ สิทธิของพลเมืองก็ไม่ได้เท่าเทียมกัน มีระบบทาสทางภาคใต้ของประเทศ  และในช่วง ค.ศ.1861-1865 เกิดสงครามกลางเมืองขึ้นในสหรัฐฯระหว่างภาคเหนือกับภาคใต้
ในช่วงที่ อับรามฮัม ลิงคอร์น ประธานาธิบดีคนที่ 16 ของประเทศ ผู้ที่เกิดมาจากชาวไร่ชาวสวน
ชีวิตยากจนขัดสนที่สุด ไม่แพ้ทาสที่เขาได้ปลดปล่อย สงครามกลางเมืองครั้งนั้นสังเวยชีวิตผู้คนไปกว่า
6 แสนคน และ ในช่วง 80 ปีแรก ของการปกครองสหรัฐฯ ก็เกิดสุนทรพจน์ที่ยิ่งใหญ่
อธิบายหลักการประชาธิปไตย ที่เราได้ท่องศัพท์กันเป็นนกแก้วนกขุนทองสมัยที่เรียนเมื่อครั้งว้ยเด็ก
ประชาธิปไตยคือการปกครอง โดยประชาชน และเพื่อประชาชน คำพูดนี้คือของอับราฮัม ลิงคอห์น
ที่ได้กล่าวที่เมืองเก็ตตี้สเบิร์ก รัฐเพนซิวาเนีย เป็นสมรภูมิรบที่โหดร้ายและมีคนตายมากที่สุดในช่วงสงครามกลางเมือง  เมื่อปี ค.ศ. 1955 หรือ 50 กว่าปีที่แล้ว สหรัฐฯยังมีความไม่เท่าเทียมกัน ในรัฐทางภาคใต้ เช่น ในรถเมล์คนขาวนั่งข้างหน้า คนดำนั่งข้างหลัง ก๊อกนำ้ดื่ม มีแยกกันดื่ม  การศึกษาก็แยกจากกัน มหาวิทยาลัยของคนขาวและคนดำ  แต่สิทธิพลเมืองก็พัฒนาขึ้นมาเรื่อยๆ จนกระทั่ง เมื่อปี ค.ศ.2008  บารัค โอบามา ได้รับการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีผิวสีคนแรกในประวัติศาสตร์ของสหรัฐอเมริกา

ถ้าเปรียบเทียบกับ 84 ปีแรกของประชาธิปไตยไทย ก็มีสงครามกลางเมือง กบฏบวรเดช พ.ศ.2476 (ขออภัยที่ต้องเขียนกบฏบวรเดชและเอ่ยชื่อพระองค์เจ้าบวรเดช ผู้เขียนไม่ได้มีอคิตใด ๆ แต่ส่วนใหญ่เรียกกันอย่างนั้น ผู้เขียนให้ความเคารพกับทุกท่านในประวัติศาสตร์ไม่ว่าอยู่ฝ่ายไหนเพราะถือว่าเป็นบรรพบุรุษของคนไทยด้วยกัน)  
จริงๆ แล้วเหตุการณ์บ้านเมือง 14 ต.ค. 2516, 6 ต.ค. 2519 , พฤษภาทมิฬ 2535 และ ราชประสงค์เผาบ้าน
พ.ศ.2553 ก็ล้วนเกิดจากการกำลังเปลี่ยนแปลงเป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ ซึ่งคนไทยเราทุกคนต้องรับผิดชอบร่วมกัน ในสิ่งที่เกิดขึ้น ไม่ว่าใครจะเป็นผู้ที่ได้กระทำผิดหรือถูก  เหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้น
ล้วนเป็นสิ่งที่ทำให้คนรุ่นหลังได้ตระหนัก ถึงผลร้ายและป้องกันไม่ให้เกิดขึ้น และเราทุกคนต้องยอมรับว่าอะไรที่ได้เกิดขึ้นมาแล้ว ทำใจให้อภัยและยอมรับกว่าอดีตที่ได้ผ่านมา

และเช้านี้ผมกำลังถามตัวเองว่า ทำไมผมเริ่มสนใจประวัติศาสตร์การเมือง ช่วงไหนอย่างไร  ค่อยๆ นึก ค่อยๆ คิด มาลองเปรียบเทียบเหมือนกับน้ำท่วมบ้าน เคยสอบถามคนที่ถูกน้ำท่วม ใหญ่ปี 2554 ถามว่าลักษณะน้ำท่วมบ้านเคยๆ ไหลมาเรื่อยๆ แล้วก็ขึ้นมาทีละนิด ทีละนิด จนกระทั่งท่วมขึ้นชั้นสองของบ้าน ความสนใจของผมก็เช่นเดียวกัน กว่าจะมารู้ตัวอีกทีว่าสนใจประวัติศาสตร์การเมืองหนังสือสะสมเกี่ยวกับประวัติศาสตร์การเมือง 2475 ก็มีมากขึ้นบนชั้นหนังสือ

และอีกนั่นแหละ ผมกำลังทบทวนตนเองว่า เริ่มสนใจประวัติศาสตร์การเมืองมาอย่างไร
เริ่มต้นจาก สงสัยว่า ทำไมผู้ก่อการอภิวัฒน์ 2475 แต่ละท่าน ถึงไปเสียชีวิตในต่างประเทศ เป็นเพราะวิบากกรรมที่ได้ทำอภิวัฒน์ไว้หรือเป็นแนวความคิดในเชิงพุทธศาสนาของผม  ต่อมาเป็นเรื่อง เหตุการณ์ที่ได้ฟัง ประวัติศาสตร์การเมืองไทยจากพี่เล่ห์ (ทักษ์ศีล ฉัตรแก้ว บรรณาธิการนิตยสาร MBA)   เหตุการณ์บ้านเมืองหลังรัฐประหาร 2549 ทำไมถึงเกิดขึ้นได้อีกทั้งที่ประเทศก้าวหน้ามาไกลมาแล้วในระบอบประชาธิไตย , หนังสือเล่มเก่า จากพี่ประทีป กังนิกร ที่มอบให้ผม ชื่อหนังสือคือ เจ้าฟ้าประชาธิปกราชันผู้นิราศ เขียนโดยนายหนหวย ,
เรื่องราวของ พระยากัลยาณไมตรี ฟรานซิส บีแซร์ ที่ปรึกษาในหลวงรัชกาลที่ 7 เมื่อครั้งที่ผมไปเขียนหนังสือในสหรัฐอเมริกา พ.ศ. 2551 , เห็นป้าย ในหลวง ร.7 เสด็จที่ศาลาไทย บาดฮวมบอร์ก ประเทศเยอรมัน ก่อนสละราชสมบัติ พ.ศ.2477,  สิ่งที่สำคัญที่สุดอะไรคือสาเหตุต้นกำเนิดเสื้อเหลือง เสื้อแดง และความขัดแย้งในประเทศ แต่เราไม่ใช้ระบบการเลือกตั้ง แต่ผู้ปกครองประเทศเลือกใช้การรัฐประหารแทนระบบประชาธิปไตย ,สงครามกลางเมืองของสหรัฐ และประวัติของประธานาธิบดีลิงคอห์นผู้มีเมตตาธรรมปลดปล่อยทาส แม้ชีวิตของตนเองที่ยากไร้ขัดสนไม่แตกต่างจากทาสที่ได้ปลดปล่อย,สามสหาย พระยาพหลฯ , พระยาทรงสุรเดช, พระยาศรีสิทธิสงคราม เพื่อนรักนักเรียนนายร้อยเยอรมนี เพื่อนร่วมสาบานที่ ต้องมาฆ่ากัน และขัดแย้งพลัดพรากจากกัน ถึงขั้นเนรเทศ ไม่ได้เผาผีกัน ทั้งหมดเป็น Connecting the dot ที่มองย้อนลงไปในประวัติศาสตร์ชีวิตของตนเอง , ผมชอบศรีบูรพา เขาเป็นนักเขียนที่ผมอ่านหนังสือ ลูกผู้ชาย รวดเดียว จบใน พ.ศ 2533 ซึ่งนวนิยายเรื่องลูกผู้ชาย ศรีบูรพา ได้ประพันธ์ขึ้นใน พ.ศ. 2471 เค้าโครงเรื่องอยู่ในช่วงก่อนอภิวัฒน์ 2475 ได้เห็นความไม่เท่าเทียมของชีวิตที่ได้เกิดมา การดูถูกเหยียดหยามทางชนชั้น

ซึ่งวันนี้ผมอยากจะแนะนำหนังสือสะสมเกี่ยวกับอภิวัฒน์ 2475 หลายปีที่ผ่านได้ผมได้สะสมหนังสือไว้เพื่อเรียบเรียงเขียนเป็นหนังสือสารคดีทางการเมือง ซึ่งยังไม่ขอเปิดเผยชื่อเพราะยังไม่ตกผลึก แต่ทั้งหมดนี้สะสมมาไม่ต่ำกว่า 7 ปี ก็อยากรีวิวเผื่อใครสนใจไปค้นคว้าตามต่อได้ครับ มีทั้งเก่าและใหม่ ทั้งเป็นวิทยาพนธ์และเขียนจากความทรงจำ Memoir Writing

IMG_20160624_111421.jpg
ปฏิบัติ 2475 เขียนโดย ชาญวิทย์ เกษตรศิริ / ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์

IMG_20160624_111414.jpg
อวสานสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในสยาม เขียนโดย เบนจามิน เอ. บัทสัน

IMG_20160624_111852.jpg
พระปกเกล้ากับคณะราษฏร เขียนโดย สุพจน์ ด่านตระกูล

IMG_20160624_111454.jpg
จดหมายเหตุวังไกลกังวล สมัยรัชกาลที่ ๗ เขียนโดย แพทย์หญิง กรรณิการ์ ตันประเสริฐ

IMG_20160624_111845.jpg
ชีวิตและงาน ของ ดร.ปรีดี พนมยงค์ เขียนโดย สุพจน์ ด่านตระกูล

IMG_20160624_111858.jpg
ชีวิตทางการเมืองของ พ.อ.พระยาฤทธิอัคเนย์ ทหารเสือปฏิวัติ ๒๔๗๕ เขียนโดย เสทื้อน ศุภโสภณ

IMG_20160624_111905.jpg
                           ปฏิวัติ ร.ศ.๑๓๐ เขียนโดย ร.ต.เหรียญ ศรีจันทร์ และ ร.ต.เนตร พูนวิวัฒน์

IMG_20160624_111911.jpg
ชีวิตและการต่อสู้ของพระยาทรงสุรเดช เขียนโดย เสทื้อน ศุภโสภณ

IMG_20160624_111918.jpg
ท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม เขียนโดย ละเอียด พิบูลสงคราม

IMG_20160624_111929.jpg
ณ เส้นขอบฟ้า พระยาสุรพันธเสนี

IMG_20160624_111738.jpg
ยุคทมิฬ บันทึกนักโทษฝ่ายกบฏบวรเดช เขียนโดย พายัพ โรจนวิภาต

IMG_20160624_111744.jpg
อยู่อย่างเสือ เขียนโดย ร.ท. จงกล ไกรฤกษ์

IMG_20160624_111752.jpg
ความฝันของนักอุดมคติชีวิตและผลงาน ม.ร.ว.นมิตรมงคล นวรัตน

IMG_20160624_111809.jpg
ราตรีประดับดาวที่หัวหิน เขียนโดย สรศัลย์ แพ่งสภา

IMG_20160624_111829.jpg
มนุษย์ไม่ได้กินแกลบ เขียนโดย กุหลาบ สายประดิษฐ์

IMG_20160624_111835.jpg
เค้าโครงเศรษฐกิจหลวงประดิษบ์มนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์)

IMG_20160624_111636.jpg
อำนาจ II  เขียนโดย รุ่งมณี เมฆโสภณ

IMG_20160624_111702.jpg
สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น เขียนโดย ม.จ.พูนพิศมัย ดิศกุล

IMG_20160624_111708.jpg
นวนิยาย น้ำเงินแท้  เขียนโดย วินทร์ เลียววาริณ

IMG_20160624_111732.jpg

ประชาธิปไตยบนเส้นขนาน เขียนโดย วินทร์ เลียววาริณ

IMG_20160624_111432.jpg
อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยกับความหมายที่มองไม่เห็น เขียนโดย มาลินี คุ้มสุภา

IMG_20160624_111522 (1).jpg
๑๑๑ ปี ฯลฯ พลเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา “เชษฐบุรุษ” ๒๙ มีนาคม ๒๕๔๑

IMG_20160624_111532.jpg
วิทยานิพนธ์ กบฏบวรเดช ๒๔๗๖ เขียนโดย ดร.นิคม จารุมณี

IMG_20160624_111540.jpg
นักเรียนนายร้อยไทยในเยอรมันยุคไกเซอร์ เขียนโดน สรศัลย์ แพ่งสภา

IMG_20160624_111554.jpg
การเมืองในทหารไทย สมัยรัชกาลที่ ๖ เขียนโดย เทพ บุญตานนท์



IMG_20160624_111507.jpg
ราษฏรสามัญหลังวันปฏิวัติ ๒๔๗๕ เขียนโดย ศราวุฒิ วิสาพรม

IMG_20160624_111612.jpg
ข้อเท็จจริงประวัติศาสตร์เกี่ยวกับ นายปรีดี พนมยงค์ และ จอมพล ป.พิบูลสงคราม

ชีพธรรม คำวิเศษณ์
บันทึก ศุกร์ 24 มิถุนายน 2559



              คลิปยูทูบหนังสือสะสมประวัติศาสตร์ 24 มิถุนายน อภิวัฒน์สยาม 2475

ความคิดเห็น