ชวนชมคลิป TED The Brain in Love เมื่อสมองตกหลุมรัก มีบทบรรยายภาษาไทย


                       

                        Helen Fisher: The brain in love




ความรักเหมือนธรรมชาติ เหมือนกับการหายใจ
เครดิต จากภาพยนตร์ที่จำไม่ได้

 ความรักเหมือนโรคา บันดาลตาให้มืดมน
 ไม่ยินและไม่ยล อุปสรรคใดใด
 ความรักเหมือนโคถึก กำลังคึกผิขังไว้ ก็โลดออกจากคอกไป
บ ยอมอยู่ ณ ที่ขัง ถึงหากจะผูกไว้ ก็ดึงไปด้วยกำลัง 
ยิ่งห้ามก็ยิ่งคลั่ง บ หวนคิดถึงเจ็บกาย
บทพระราชนิพนธ์ในหลวงร.6 เรื่อง มัธนะพาธา ตำนานดอกกุหลาบ

 ความรักทำให้เกิดการแต่งงาน หญิงแย้เตียงหักหลังแต่ง 3 เดือน ถ้าเป็นสำนวนไทยเก่าแก่ เรียกว่าหม้อข้าวไม่ทันดำ อย่าว่าแต่หญิงแย้เลยครับ ผมก็เคยผ่านประสบการณ์มาเพียงแต่ไม่ใช่คนดังแบบหญิงแย้ เท่านั้น เหตุการณ์และประสบการณ์ชีวิตในครั้งนั้น ทำให้ผมสนใจเกี่ยวกับความรักในมุมมองใหม่ ในการบำบัดความเจ็บปวดอันเกิดจากความรัก ซึ่งเราไม่ได้ศึกษาในชั้นเรียนมหาวิทยาลัย 

ความรักทำฆ่าตัวตาย นักฟุตบอลทีมพัทยา กินยาตายกับแฟนสาว
 ความรักทำให้เกิดเพศสัมพันธ์นอกสมรสที่ผิดศีลธรรม แต่ก็คือความรัก
 ความรักทำให้เกิดครอบครัว ความรักทำให้เกิดเพลง หวานซึ้งปนเศร้า เช่นเพลง รักเอย หนี้รัก บัญชารัก รักข้ามขอบฟ้า รักหนอรัก ฯลฯ เยอะแยะมากมายสารพัด 
เพลงที่เกี่ยวกับความรัก ตั้งแต่อดีต มาถึงปัจจุบัน และในอนาคต แม้ว่าผู้เขียนจะสิ้นชีพไปแล้วก็ตาม 
ความรักทำให้เกิดสถาปัตยกรรม เช่นทัชมาฮาล วัดโสมนัสราชวรวิหาร พระราชวัง และสถานที่สำคัญซึ่งมีอยู่ทั่วประเทศไทยและทั่วโลก เพื่อรำลึกถึงความรัก

ความรักทำให้เกิดโศกเศร้า ความรักทำให้เกิดความพลัดพราก ความรักทำให้เกิดความผิดหวัง ความรักทำให้ครอบครัวล่มสลาย ความรักทำให้ทำร้ายชีวิต สารพัดทุกอย่าง 

Helen Fisher เป็นนักมานุษยวิทยา ศึกษาเกียวกับสมองอารมณ์กับความรักโรแมนติคว่าสมองของมนุษย์เมื่อมีความรักแล้วมีสารเคมี ในการตกหลุมรักของมนุษย์มีผลกระทบอะไรกับสมองบ้าง เธอได้เขียนหนังสือ Why We love เป็นอะไรที่น่าศึกษามาก เพราะในชีวิตของเรานั้นตกหลุมรักได้อยู่ตลอดเวลา และไม่ใช่ว่าเราจะสมหวังในความรักทุกครั้งไป ผมนำคลิป TED เรื่อง The Brain in Love เมื่อครั้งเธอได้พูดเมื่อเดือน กุมภาพันธ์ 2008 (พ.ศ. 2551) ได้นำงานวิจัยมาเขียนนำเสนอเล่าให้ฟัง ในคลิปนี้มีซับภาษาไทยให้ได้ชมเกิดความเข้าใจได้อย่างสะดวก มีผู้ชมจากทั่วโลกไปแล้วกว่า 4 ล้านครั้ง

ต้องขอขอบคุณ คนไทย 2 ได้แก่ คุณปัทมา ปัทมจินดา และ คุณคณวัฒน์ เสนานันท์ ถ้าเขียนภาษาไทยชื่อทั้งสองท่านผิดต้องขออภัยเพราะผู้เขียนแปลจากภาษาอังกฤษมาครับ สำหรับผู้ที่ต้องการจะอ่านบทพูดที่แปลเป็นภาษาไทยสามารถคลิ๊กได้จากที่นี่เลยครับ
https://www.ted.com/talks/helen_fisher_studies_the_brain_in_love/transcript?language=th


 ผมอยากให้ช่วยนำความคิดดีๆ เหล่านี้กระจายออกไปเหมือนคำขวัญของ TED Ideas worth spreading เพื่อให้คนไทยได้รู้จักความรักในมุมมองใหม่ที่เมื่อเราตกหลุมรักใครเข้าแล้วยิ่งกว่า เสพโคเคน เฮเลนบอกอย่างนั้นครับ และยังเมื่อถูกสลัดความรักและไม่สมหวังแล้ว เราจะยิ่งรักไปอีก ขอให้ผู้อ่านได้เรียนรู้ความรักในมุมใหม่ๆ ไปด้วยกันและฝากแชร์ต่อด้วยครับ

ความรักมีเงื่อนเวลา ถ้าอยากให้อยู่นานต้องซ่อมความรักและความสัมพันธ์ครับ

ชีพธรรม คำวิเศษณ์
Youtube www.youtube.com/trimemory
Facebook ชีพธรรม ไตร คำวิเศษณ์
Twitter @tri333

ความคิดเห็น