คลิป TED โรงเรียนเป็นแหล่งทำลายความคิดสร้างสรรค์ผู้ชม 39 ล้านราย


                       คลิปการศึกษาที่มีผู้ชมมากที่สุดในโลก  39 ล้านวิว มีซับไตเติ้ลไทย




สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ซึ่งเป็นผู้ผลิตตำราเรียนทางด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ของกระทรวงศึกษาธิการ ตำราทุกเล่มตั้งแต่ ป.1 - ม.6 ได้สร้างสรรค์จากหน่วยงานแห่งนี้ครับ  
นักเรียนทุกคนได้ประเทศไทยต้องใช้ตำราจาก สสวท. รวมถึงผู้เขียนด้วย

ภาพหนังสือเรียนวิชาเคมี มัธยมตอนปลาย พ.ศ.2524 



สสวท. ได้เคยเชิญผมไปสอนโซเชียลมีเดียเพื่อการประชาสัมพันธ์ และ หลังจากนั้น
ได้เชิญผมเป็นที่ปรึกษาโครงการโซเชียลมีเดียเพื่อการประชาสัมพันธ์และการศึกษาให้กับ สสวท.
ซึ่งถือว่าเป็นเกียรติอย่างยิ่งสำหรับผม เพราะจะได้นำเสนอไอเดียเรื่องการศึกษาในมุมมองของผม
ที่การศึกษาต้องสามารถทำให้นักเรียนผู้เรียนหายลำบากยากจนและอะไรที่เป็นเทคโนโลยีทางการศึกษาสามารถเรียนรู้ได้นอกหลักสูตรให้ลองนำไปใช้เช่น แอพ iTunes U app เป็นแอพทางด้านการศึกษาที่ผู้ใช้ไอโฟน และ ไอแพดสามารถเรียนฟรีได้ไม่จำกัดกับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก หรือการแนะนำแอพใหม่ๆ ให้เป็นเครื่องมือในการเรียนเสริมกับหลักสูตร ในทุกสัปดาห์และทุกเดือน เป็นต้น

อาจารย์พรพรรณ ไวทยางกรู ผอ.สสวท. (เสื้อชมพู)



วันนี้ อังคาร 24 พ.ค. 2559 ได้มีการประชุมชึ้นเป็นนัดแรก ผมได้เรียนกับทางคณะทำงานว่า เมื่อครั้งผมยังเป็นเด็กนักเรียน แม้ว่าพ่อของผมจะเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย แต่เวลานั้นผมเองก็ยังไม่รู้ว่าการเรียนในโรงเรียนนั้นจะช่วยอะไรได้บ้าง ไม่มีเป้าหมาย ไม่รู้ว่าการมีผลการเรียนดีเป็นอย่างไร มองไม่เห็นอนาคต จนกระทั่งผ่านเข้าสู่วัยกลางคนได้เห็นโลกกว้าง พบกับความลำบากในชีวิตที่ไม่มีการศึกษาในบางเรื่องของตนเองทำให้ไม่สามารถมีปัญญาต่อสู้กับโลกภายนอกที่มีความซับซ้อนกว่าการศึกษาในสถาบัน  แต่สิ่งล้ำค่าอย่างหนึ่งที่ผมได้รับจากการที่ไม่ได้ศึกษาในระบบบางอย่างทำให้ผมค้นคว้าศึกษาหาความรู้ได้ด้วยตนเองที่ภาษาฝรั่งเรียกว่า  Self-Taught

ผู้เขียนที่  3 ขวา



ผมได้แนะนำทางทีมงาน สสวท. ให้ลองชมการพูดของ TED ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับสิ่งที่ สสวท.
ทำอยู่ และแนะนำคลิปทางด้านการศึกษาที่มีผู้ชมมากที่สุดในโลก 39 ล้านวิว
ของ Sir Ken Robinson ในหัวข้อ โรงเรียนเป็นแหล่งทำลายความคิดสร้างสรรค์หรือไม่
เพื่อได้หามุมมองใหม่ ๆ ทางการศึกษาให้กับประเทศไทย  ผมได้ถามคณะทำงานว่า
ถ้าหากเป็นคลิปภาษาอังกฤษที่วิทยากรได้พูดจะมีครูบาอาจารย์สนใจที่จะฟังคลิปนี้ไหม
ได้คำตอบว่า ไม่ จากนั้นผมก็ได้แนะนำว่าในคลิปแต่ละคลิปของ TED  นั้นมีซับไตเติ้ลภาษาไทย
แปลอยู่แล้ว ช่วยให้เราเข้าถึงเรื่องที่วิทยากรได้พูด  
พร้อมกันนี้ผมยังได้แนะนำหนังสือ โรงเรียนบันดาลใจ Creative Schools  ผลงานการเขียนของ Ken Robinson ที่มีการแปลขายในประเทศไทย ซึ่งเนื้อหาเหล่านี้สามารถส่งต่อไปยังครูและนักเรียนทั่วประเทศให้ได้มุมมองใหม่ๆ ต่อการศึกษาที่ปรับเปลี่ยนพัฒนาให้เท่าทันกับความเปลี่ยนแปลงของโลก
อยากให้ท่านผู้อ่านได้ลองเข้าไปชมกันดูบ้างนะครับ


หนังสือ โรงเรียนบันดาลใจ Creative Schools


Ormschool ยูทูบการศึกษาอันดับหนึ่งของประเทศไทย



ผมได้แนะนำให้ สสวท. ได้รู้จักและอยากให้ สสวท. ช่วยสนับสนุน  Youtube Ormschool  ซึ่งเป็นช่องยูทูบมีคลิปสำหรับติวฟรี กับ นักเรียนชั้นหัวกะทิ ฟิสิกซ์​ เคมี ชีวะ โอลิมปิคที่ได้รับรางวัลระดับโลกมาติว รวมถึงภาษาอังกฤษ ฯลฯ เฉลยข้อสอบมีคลิปเป็นหมื่นคลิป ให้เรียนฟรีโดยไม่ต้องเสียเงิน   ซึ่งทุกท่านได้ให้ความสนใจในบทบาทของโซเชียลมีเดียด้านการศึกษาของออมสคูลไม่แพ้ที่ไหนในโลก  

คู่มือการสอนวิชาเคมี ม.4  พ.ศ.2516



ผมได้แนะนำเว็บไซค์ Facebook.com/livemap เพื่อให้ทางคณะทำงานดูว่าขณะนี้มีการถ่ายทอดสด
จากสมาร์ทโฟนทั่วโลก และ ประเทศไทยมีคนถ่ายทอดสดกันอยู่
ผมนำเสนอไอเดียให้ สสวท. ถ้าหากมีโอกาสลองจัดประกวดถ่ายทอดสดการสอนของครูจากทั่วประเทศหรือนักเรียนที่ติวหนังสือสอนที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาของ สสวท. เพื่อให้เกิดการกระจายของความรู้ผ่าน Facebook เพราะนักเรียนสอนนักเรียนอาจมีอะไรที่น่าสนใจได้ และสำหรับในทางเทคโนโลยี
ถ้าหาก สสวท. โพสแบบเดิมภาพและข้อความ อาจทำให้เกิดการเห็นจากสมาชิกได้น้อยเพราะว่า
ณ ขณะนี้ Facebook  จะปล่อยฟีดวีดีโอมากกว่าข้อความไปยังสมาชิก

บรรยากาศในการประชุม



ผมยังได้แนะนำเครื่องมือ Hootsuite เป็นเครื่องมือบริหารโซเชียลมีเดีย ที่ช่วยในการตั้งเวลาอัตโนมัติ
ในการส่งข้อความไปในช่วงเวลาที่สมาชิกเห็นได้เยอะที่สุด โดยได้ยกตัวอย่างในการทำงานของบล๊อคที่ผมเขียนหลังจากใช้ Hootsuite แล้วมีปริมาณผู้ชมเพิ่มมากขึ้น


หรือแม้กระทั่ง หนังชีวิตประวัติของ รามานุจัน นักคณิตศาสตร์ ชื่อก้องโลกที่กำลังเข้าฉายอยู่ ณ ขณะนี้สามารถที่จะช่วยให้เยาวชนไทยเห็นความสำคัญของวิทยาศาสตร์ในมุมมองใหม่


ครูดีเด่น  STEM Education ประเทศไทย

ขอขอบคุณ สสวท. ที่ให้เกียรติผมได้นำเสนอความคิดไอเดียลงไปให้กับคณะทำงานเพื่อสร้างสรรค์
การศึกษามุมมองใหม่ๆ ให้กับประเทศไทยของเราครับ


ชีพธรรม คำวิเศษณ์
อังคาร 24 พฤษภาคม 2559




ความคิดเห็น