แกร็บไบค์ กรณีศึกษาความก้าวหน้าเศรษฐกิจและสังคมดิจิตอล

ข่าวไทยรัฐหน้า 1 พุธ 18 พ.ค. 2559



นโยบายเศรษฐกิจดิจิตอลของรัฐบาลนายกฯ ประยุทธ์ จันโอชา  แต่การกระทำบทบาทของหน่วยงานราชการ กระทรวง ทบวง กรม มันอะนาล๊อคชัด ๆ  ได้อ่านข่าวหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ พุธ 18 พฤษภาคม 2559 พาดหัวข่าวหน้าหนึ่งอวสานแกร๊บไบค์ ให้หยุดวิ่ง  ทั้งที่เป็นการบริการทางเลือกให้กับประชาชนในกรุงเทพและปริมณฑล ซึ่งการให้หยุดวิ่งก็คือการกระทำที่ให้บริการนั้นผิดกฏหมาย ถ้าเอากฏหมายมาอ้างผิดหมดอยู่แล้วครับ
ครั้งหนึ่งผมนั่งกินเหล้ากับพวกตำรวจชั้นผู้ใหญ่ "ท่านพูดออกมาเลยว่ายิ่งมีกฏหมายใหม่ออกมายิ่งชอบ เพราะจับได้ง่ายดี เพราะไม่ค่อยมีใครทราบกฏหมายใหม่ๆ"
แต่มองอีกมุมหนึ่ง ที่สำคัญมีคนที่สมัครเป็นแกร็บไบค์หรือมอเตอร์ไซค์รับจ้างผ่านสมาร์ทโฟน ก็ต้องเสียรายได้จากการที่ไม่ได้วิ่งรับผู้โดยสารมาเลี้ยงชีพกับครอบครัว

พนักงานโรงแรมเซ็นทาราคนหนึ่งที่เป็นพนักงานฟิตเนสสระว่ายน้ำที่โรงแรมเซ็นทาราเซ็นทรัลเวริ์ล
เคยเล่าให้ผมฟังว่า เขาใช้เวลาหลังเลิกงานไปหาลำไพ่พิเศษ เพียงไม่กี่ชั่วโมงก็ได้เงินหลักพัน
และช่วงวันหยุด ก็ไปวิ่งรับจ้างกับ แกร็บไบค์ เดือนหนึ่งๆ  มีรายได้เพิ่มขึ้นมาหลักหมื่นให้กับครอบครัว

คลิปที่มอเตอร์ไซค์รับจ้าง เดินเข้าไปบิดกุญแจของคนรับมอเตอร์ไซค์แกร็บไบค์ที่เป็นที่ฮือฮา
ผมก็ไม่ทราบว่าเขามีสิทธิ์อะไร ทั้งที่สิทธิในการใช้บริการอยู่ที่ผู้ว่าจ้าง ว่าเขาจะว่าจ้างใครก็ได้
และการไปบิดกุญแจนั้นเป็นการละเมิดสิทธิของอีกฝ่ายหนึ่งด้วยไม่รู้ตำรวจเอาผิดได้หรือไม่ไม่ได้ตามข่าว
แต่ถือว่าอุกอาจมาก

แกร็บไบค์คืออะไรก่อนจะมีแกร็บไบค์ (จักรยานยนต์หรือมอเตอร์ไซค์) นั้นมีบริการแกร็บแท็กซี่มาก่อน
ซึ่งสะดวกสบายในการใช้บริการจริงๆ  และภายหลังบริษัทแกร็บนำบริการทั้งหมดมารีแบรนด์เรียกชื่อใหม่ว่า Grab (แกร็บ)  ผมขออธิบายอย่างนี้เพื่อให้เห็นภาพครับ แบ่งเป็น 2  ส่วน
ส่วนแรกคือผู้ใช้บริการเราๆ ท่านๆ  ถ้าจะต้องบริการรถมอเตอร์ไซค์รับจ้างแกร็บไบค์ก็จะต้องติดตั้ง
แอพลงไปในสมาร์ทโฟน  ถ้าอยากจะใช้บริการก็กดเรียก ระบบจะทำการค้นหามอเตอร์ไซค์รับจ้างที่ลงทะเบียนกับแกร็บ แล้วเข้ามารับไปส่งจุดหมายปลายทาง โดยคิดค่าบริการอาจจะแพงกว่านิดหน่อยแล้วเก็บค่าบริการเพิ่ม  ส่วนที่สองก็คือ มอเตอร์ไซค์รับจ้างที่ลงทะเบียนกับแกร็บไว้ เมื่อสมัครผ่านก็จะสามารถให้บริการได้ถ้ามีผู้โดยสารเรียกระบบก็จะขึ้นมาที่สมาร์ทโฟน ของเขา แล้วก็ไปรับลูกค้ายังที่หมาย ก็คือใครขับขี่มอเตอร์ไซค์ได้แล้วต้องการมีอาชีพรับจ้างขี่มอเตอร์ไซค์ ก็เข้ามาร่วมได้แต่ต้องใช้สมาร์ทโฟนแล้วลงแอพแกร็บให้คล่องหน่อย

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ผมมองว่าเทคโนโลยีและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วนั้นทำให้
กฏหมายและระบบการบริหารจัดการ กฏหมายและการตอบสนองกับสังคมนั้นช้าไปอย่างยิ่ง
สำหรับ Uber Moto ก็เช่นเดียวกัน ก็เป็นบริการอีกค่ายที่เข้ามาแข่งขันในรูปแบบการให้บริการเช่นเดียวกัน

ตอนแรกผมเข้าใจเองว่า บริษัททั้งสองแห่งจะได้เคลียร์กับหน่วยงานราชการไว้แล้ว ซึ่งถ้าเอาจริงๆ แล้ว ผมว่าบริการลักษณะแกร็บแท็กซี่หรือบริการแบบรถยนต์ก็น่าจะผิดกฏหมายแต่ได้มีการเคลียร์เรียบร้อย
กรณีของแกร็บไบค์เป็นตัวอย่าง

รถมอเตอร์ไซค์รับจ้างในกรุงเทพฯนั้นถือเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะรถติดหนักแบบวินาศสันตะโร ชั่วโมงเร่งด่วนถ้าไม่มีมอเตอร์ไซค์รับจ้างไปไม่ทันแน่นอน สำหรับต่างจังหวัด แต่ละบ้านมีรถมอเตอร์ไซค์กันอยู่แล้ว

เหตุการณ์แบบนี้จะต้องเกิดขึ้นกับโรงแรมที่พัก ลักษณะคล้ายกับแบบนี้อีกแน่นอน
เพราะเศรษฐกิจยุคใหม่เป็นแบบ Sharing Economy บริการอย่าง Airbnb ที่ให้คนธรรมดา
นำบ้านหรือห้องพักมาเป็นที่พักโรงแรมแล้วให้นักท่องเที่ยวลูกค้ามาจองผ่านแอพ  Airbnb
ซึ่งก็ได้ข่าวว่าสมาคมโรงแรมในประเทศไทย ก็เริ่มไม่ค่อยพอใจเหมือนกัน เพราะคนธรรมดาที่มีบ้านไม่
ได้ทำโรงแรมกลายมาเป็นคู่แข่ง ก็เช่นเดียวกับมอเตอร์ไซค์รับจ้างที่เขาลงทะเบียนไว้
เมื่อมีคนธรรมดามารับจ้างเป็นคู่แข่งก็คงไม่พอใจ

แต่นี่เป็นประเด็นทางเศรษฐกิจสังคมในยุคสมาร์ทโฟน 4G เราต้องมีรัฐบาลที่เข้าใจความเปลี่ยนแปลง
ของสังคมโลกดิจิตอล ไม่ใ่ช่นำกฏหมายมาเป็นเครื่องสะกัดกั้นความเจริญ หรือถ้าจะหยุดให้บริการด้วยอำนาจกฏหมายควรมีอะไรที่ผ่อนสั้นผ่อนยาวมากกว่านี้

ที่เขียนมานี่ก็อยากระบายออกมาและเขียนให้เป็นประเด็นเรื่องเราเข้าสู่สังคมดิจิตอลเต็มรูปแบบ
แม้แต่หน่วยงานของกรมการขนส่งยังลงโฆษณาในไทยรัฐวันนี้ให้คนไทยมีส่วนร่วม
ในการตรวจสอบพฤติกรรมคนขับรถสาธารณะผ่านแอพ  DLT GPS


โฆษณากรมการขนส่งทางบก ในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ชวนดาวน์โหลดแอพ DLT GPS


ชีพธรรม คำวิเศษณ์


ความคิดเห็น