ชวนเขียนด้วยการพูด คุณสมบัติน่าทึ่งของไอโฟนและไอแพด พิมพ์ด้วยเสียง


          คลิปยูทูบอธิบายการใช้งานไอโฟนสั่งพิมพ์ด้วยเสียงพูด


อย่าเพิ่ง งง นะครับ ผมกำลังทำอะไรกับตัวเอง ผมอยากเป็นนักเขียนแต่ผมกลับต้องมาพูดแทน
หัวข้อนี้แปลกดีไหม ผมอยากเขียนนักเขียน แต่ต้องพูด เพราะผมคิดแล้วพูดเร็วกว่าเขียน
สมัยก่อนต้องอัดเทปแล้วค่อยๆ มาถอดพิมพ์ทีละคำพูดเพื่อเรียบเรียงเป็นงานเขียนในกรณีที่มีบทสัมภาษณ์ แต่โลกยุค 2016 พูดใส่ไอโฟนระบบทำการพิมพ์ให้เลยครับ
ถ้าคำนิยามว่าการพิมพ์หมายถึงต้องกดไปที่แป้นคีย์บอร์ด แต่เดี๋ยวนี้ให้เสียงพูดแทนการพิมพ์




    ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เล่าสนุกๆ ติดตลกเป็นนักเขียนหนังสือขายดีด้วยการพูด


ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เป็นนักเขียนหนังสือติดอันดับขายดี หนังสือ ตามรอยพระยุคลบาทครูแห่งแผ่นดิน ของสำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับรางวัลไปเวียดนาม ดูงานสัปดาห์หนังสือโฮจิมินท์ ผมได้มีโอกาสร่วมคณะไปด้วยท่านเป็นคนพูดตรงๆ  แถมติดตลก เล่าให้ฟังในรถบัสว่า ผมไม่ได้เขียนหรอกนะ
ผมใช้วิธีการพูดเอาแล้วให้คนไปถอดเทป แล้วมาพิมพ์ ซึ่งแน่นอนครับว่า
ผู้ที่มีภารกิจมากมายแบบท่านจะเอาเวลาที่ไหนมานั่งเขียน ก็ต้องใช้วิธีการพูดแล้วให้เลขาไปถอดเทปมาเรียบเรียงเป็นหนังสือซึ่งวิธีนี้ก็ใช้กับผู้มีชื่อเสียง นักการเมือง ข้าราชการ ดารา พระสงฆ์ ใช้วิธีการนี้อยู่แล้ว


ผมมีความทะเยอทะยานอยากเป็นนักเขียนและอยากได้รับการยอมรับจากมหาชนด้วยการเป็นหนังสือขายดีติดอันดับ เช่นเดียวกับนักเขียนผู้มีชื่อเสียงหลายๆ ท่านครับ
ต้นปี พ.ศ. 2552 พี่มานะ สงวนสุข ผู้ก่อตั้งมูลนิธิ  KTBF The King of Thailand Birthplace Foundation
 (มูลนิธิพระราชสมภพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว) เป็นมูลนิธที่จัดตั้งขึ้นโดยคนไทยในนครบอสตัน สหรัฐอเมริกา เพื่อรำลึกถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงพระราชสมภพที่เมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเสส ประเทศสหรัฐอเมริกา  ผมเคยได้มีโอกาสไปช่วยงานที่มูลนิธิประมาณ 2 เดือนด้วยกัน
ก็ช่วยเขียนบล๊อคทำเว็บไซค์และงานเขียนเล็ก ๆ น้อยๆ  พี่มานะบอกกับผม
บอกกับผมตรงๆ ว่า "ผมเป็นคนอ่านหนังสือมาเยอะมาก  ผมเห็นสำนวนการเขียนของคุณแล้วยังต้องปรับปรุงอีกเยอะ"หลังจากฟังพี่มานะพูด ผมยอมรับโดยดุษฏี ไม่โต้เถียง เพราะอาชีพนักข่าวสื่อสารมวลชน เขียนบทความ ก็ต้องนำบทสัมภาษณ์มาถอดเทปลงไป  สมัยนั้นผมไม่เคยได้ยินคำว่า Creative Writing
การฝึกปรับปรุงความละเอียดละออ สำนวน  อารมณ์​ ทฤษฏีการเขียนแทบไม่มีอยู่ในสมองเลย
เพราะฉะนั้นที่พี่มานะ พูดนั้นนะถูกแล้ว


ซึ่งภายหลังได้ศึกษามาแล้วยอมรับว่างานเขียนนั้นต้องใช้จินตนาการและการฝึกฝน
คล้ายๆ กับกีฬาเหมือนกันครับ ผมมีความปรารถนาอยากเป็นนักเขียน มีทักษะมาบ้าง ถึงจะเขียนให้คนอ่านจริงๆถ้าต้องขายและจำหน่าย ให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสินใจนี่ว่ายากเลยนะครับ  ต้องใช้การฝึกฝนอย่างมาก ๆ หาตำรับตำรามาเรียนรู้เยอะ งานเขียนไม่ใช่เรื่องเล่นๆ  จะว่ายากก็ยาก จะว่างง่ายก็ง่าย เข้าใจยากเหมือนกัน



อ.มานิต รุจิวโรดม กรรมการสำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ (คนใส่หมวกแดง)กับผู้เขียน




อ.มานิต  รุจิวโรดม แห่งสำนักพิมพ์จุฬาฯ ได้แนะนำให้ผมอัดเทปในการพูดแทน แล้วให้คนมาถอดเทป
เชื่อหรือไม่ครับ การหาคนมาถอดเทปก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ  เพราะท่านบอกว่าผมเป็นนักพูดเป็นนักจัดรายการวิทยุ เป็นอาจารย์สอนหนังสือ พูดได้ดีกว่าเขียน  ซึ่งก็จริง ผมก็ไม่ได้ปฏิเสธอะไร  เพราะชีวิตผมนั้น พูดสอนหนังสือ จัดวิทยุแล้วได้เงินมากกว่าเขียน แต่ผมก็อยากจะมีผลงานเขียน เพราะงานหนังสือเป็นเครื่องยืนยันในองค์ความรู้และความเชี่ยวชาญของเรา


เครื่องโทรศัพท์ไอโฟน และสมาร์ทโฟนแอนดรอย มีคุณสมบัติประการหนึ่ง
ก็คือการพูดออกเสียงแล้วพิมพ์ออกมาเป็นตัวอักษร ภาษาฝรั่งเรียกว่า Speech to Text
เทคโนโลยีนี้มีมานานแล้ว ผมจำได้ว่าสมัยยังเป็นนักข่าวสายเทคโนโลยีสารสนเทศที่ช่อง 9
ในราว พ.ศ. 2541 คุณเอกรัตน์ อวยสินประเสริฐ ผู้จัดการบริษัทอินเทลประเทศไทยเวลานั้น แถลงข่าวเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ชิพอินเทล สามารถที่จะใช้เสียงแล้วพิมพ์ใน Microsoft Word ได้ แต่เทคโนโลยีนี้ก็ไม่ได้รับความนิยมในเวลานั้น จนมาถึงยุคของไอโฟนและสมาร์ทโฟน


เชื่อหรือไม่ครับ ผมรู้ว่าไอโฟนมีคุณสมบัตินี้แต่ผมก็ไม่ค่อยได้ใช้  ถามว่าทำไมไม่ใช้
เพราะง่ายและเร็ว คำตอบคือ นักเขียนก็คือนักเขียน ก็ต้องใช้วิธีการพิมพ์ด้วยนิ้วบนแป้นพิมพ์คีย์บอร์ด
หัวสมองค่อยๆ  คิด แล้วแปลงเป็นตัวอักษร  และในที่สุดผมเองไม่สามารถต้านทานเทคโนโลยีและความเปลี่ยนแปลงนี้ได้แล้วครับ ผมต้องใช้วิธีการพูดใส่ลงไปในไอโฟน ซึ่งไอโฟนก็เก่งมาก
พูดใส่อะไรลงไป พูดภาษาไทยนะครับ พิมพ์ได้รวดเร็วมาก และถูกต้องเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์
ในคำที่ไม่ยากเกินไป แต่ก็ไม่ได้ถูกต้องหมดครับ แต่ถือว่าใช้ได้เลยทีเดียว
ผมเลยต้องหันมาพูดใส่ลงไปสลับบ้าง เพราะหัวสมองเวลาพูดนั้นยอมรับว่าเร็วกว่าเขียน

มาดูวิธีการขึ้นตอนกันเลยนะครับ ว่าจะให้ไอโฟนพิมพ์ด้วยการพูดอย่างไร


  1. เข้าไปที่ Setting  
  2. เข้าไปที่ General
  3. คลิ๊กเข้าไปที่ Keyboard
  4. Enable Dictation เปิดคลิ๊กให้เป็นสีเขียว
  5. ถ้าเข้าไปที่แอพไหนก็ตามแล้วพิมพ์ถ้าเห็นไมโครโฟนขึ้นมาถือว่าใช้งานได้

ลองทำตามขั้นตอนตามภาพได้เลยครับ

1. หน้าจอแรกไอโฟนคลิ๊กที่ Setting


2. คลิ๊กที่ General 

3. คลิ๊กที่คีย์บอร์ด


4. คลิ๊กที่ Enable Dictation 

 5. ถ้าเห็นไมโครโฟนถือว่าใช้งานได้



ลองเข้าไปดูในคลิปยูทูบของผมข้างต้นอีกครั้งสักครั้ง เพียงแค่นี้ก็สั่งให้ไอโฟนพิมพ์ได้แล้ว จากที่ผมใช้งานมาสักพัก พบว่า ไอโฟนทำงานได้ดีมากเลยครับ เร็วมาก ๆ เราคิดอะไรมาแล้วพูดก็พิมพ์ออกมาได้เลย  
ผมขอแนะนำถ้าอยากเขียนนะครับ ให้ใช้แอพ Google Doc ยอดเยี่ยมมากเลยครับ
ติดตั้งบนไอโฟน แล้วไปพิมพ์ต่อแก้ไขบนเว็บไซค์ได้ครับ เข้าไปที่ Gmail ก็จะอยู่ในนั้นทั้งหมด

ผมไปสอนโซเชียลมีเดียเพื่อการประชาสัมพันธ์มาเยอะมากครับ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554  มาจนถึงปัจจุบัน
ในการสอนเกือบทุกครั้งพบว่า ถ้าต้องเขียนประชาสัมพันธ์แบบเป็นงานเป็นการแล้ว เขียนไม่ค่อยออก
บางครั้งต้องใช้กุศโลบายหลอกสมองของผู้เรียนว่าให้นึกถึงการเขียนในแอพไลน์
เพราะฉะนั้นการเขียนเป็นเรื่องยาก ถ้าจะว่ายากก็ยาก ถ้าจะว่าง่ายก็ง่าย เพราะเพียงแค่พิมพ์ลงไป
เท่านั้น   แต่โลกยุคใหม่ที่พูดให้การเป็นเขียนน่าจะทำให้ทุกอย่างง่ายและสะดวกขึ้น
ระหว่างที่กำลังเขียนอยู่นี่ผมก็กำลังสับสนและตั้งคำถามกับตัวเองว่า
นักเขียนรุ่นใหม่ๆ ที่เกิดมาพร้อมกับเทคโนโลยีนั้นจะเป็นนักเขียนด้วยการพูดกันในยุคถัดไป

และมีปัญหาอีกอย่างหนึ่งก็คือ บางท่านอาจพิมพ์ดีดไม่คล่อง
พิมพ์ไลน์พิมพ์แชตได้ครับ แต่ถ้าเป็นงานเป็นการ มานั่งตรงหน้าจอคอมพิวเตอร์ดันเกิดพิมพ์ไม่ออก ไอเดียที่มาอยู่ในหัวหดหายไปหมด ซึ่งอาการแบบนี้ก็เกิดขึ้นกับผมเช่นกัน
เมื่อเรามีสมาร์ทโฟนแล้ว เราสามารถลดข้อจำกัดของตัวเองได้ครับ

ผมอยากเชิญชวนให้ทุกท่านได้ลองมาเขียน บันทึกความทรงจำเรื่องราวของตัวเอง เป็นนักเขียนจากชีวิตของตัวเอง แล้วใช้เทคนิคการเขียนด้วยการพูดลงบนไอโฟนครับ

หมายเหตุ
เครื่องไอแพดก็สามารถพิมพ์ด้วยเสียงพูดเช่นเดียวกันครับ

ชีพธรรม คำวิเศษณ์
อังคาร 17 พฤษภาคม 2559
www.youtube.com/trimemory
Facebook ชีพธรรม ไตร คำวิเศษณ์
Twitter @tri333





ความคิดเห็น