Social Media For Education ตอน ติดตามความรู้แบบ Topics ผ่านแอพ Flipboard

คลิปแนะนำการทิปการติดตามข้อมูลแบบหมวดหมู่บนแอพ Flipboard





วันระพี 7 ส.ค. 2535 (ผู้เขียนนั่ง)

ก่อนที่ผมจะแนะนำการติดตามความรู้ผ่านแอพ Flipboard ของเขียนเล่าประวัติศาสตร์เทคโนโลยีในการหาความรู้ข้อมูลข่าวสารกันสักนิดครับ


พ.ศ.2535 เป็นปีแรกที่ผมได้เข้าศึกษา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ จ.เชียงใหม่
การเข้าเรียนในโรงเรียนและมหาวิทยาลัยก็เป็นการซื้อความรู้และสายสัมพันธ์เพื่อนฝูงอย่างหนึ่งเพื่อออกนำความรู้จากสถาบันการศึกษาออกไปหาเงินในโลกกว้าง ซึ่งก็ไม่มีใครรู้หรอกว่า ความรู้ที่ได้เล่าเรียนศึกษามาในมหาวิทยาลัยจะตรงกับสิ่งที่ได้เรียนมาหรือไม่ อนาคตเป็นสิ่งที่ไม่มีใครรู้ได้ และวันเวลาชีวิตในมหาวิทยาลัยสี่ปีนั้นแท้จริงแล้วก็สั้นนักกับชีวิตนอกมหาวิทยาลัย ซึ่งยาวมากจนกว่าคุณจะจากโลกนี้ไป

นักศึกษานิติศาสตร์ ม.พายัพ พ.ศ.2535




วิชาแรกที่เข้าไปเรียนปีหนึ่ง ผมจำชื่อวิชาไม่ได้ซะแล้วจำได้แต่มีรหัส 101
เข้าใจว่าเป็นวิชา 101 ห้องสมุด  ก็คือเรียนรู้การค้นหาข้อมูลในห้องสมุดและความรู้ต่างๆ  
วิธีการใช้งานห้องสมุดเมื่อ 24 ปีก่อน ก็คือถ้าหากจะค้นหนังสืออะไรนักศึกษาจะเข้าไปที่กล่อง
เป็นเป็นชื่อเรื่อง หัวเรื่อง หมวดหมู่ ถ้าไม่เจอก็ไปให้บรรณารักษ์ช่วยค้นข้อมูลให้ ความทรงจำของผมก็จำไม่ค่อยได้ว่าบรรณารักษ์ใช้คอมพิวเตอร์ค้นหาหรือไม่


ถ้าอาจารย์สั่งให้อ่านหนังสือเล่มไหนแล้วก็ต้องไปห้องสมุดแล้วจองหนังสือก่อน ถ้าหากมีนักศึกษาคนอื่นยืมไปก็ต้องรอไปอีก 7 วันเห็นจะได้ เพราะฉะนั้นการเข้าถึงความรู้ในสมัยก่อนช้ามาก ๆ กว่าจะได้ความรู้นั้นไม่ทันสมัยและอัพเดทเลย ตำราบางเล่มก็เก่ามากไม่ได้ปรับปรุงเลย นักศึกษาก็จะได้ความรู้เก่าๆ  


รายวิชาคอมพิวเตอร์ 101 ห้องเลคเชอร์ใหญ่มากเป็นสโลปแบบขั้นบันใด
นักศึกษาเรียนกันเป็นร้อยคน แต่ไม่มีคอมพิวเตอร์สักกะตัว อาจารย์สอนแต่ทฤษฏีอยู่บนกระดานดำ คอมพิวเตอร์คืออะไร ประมวลผลอย่างไร หน่วยความจำสำรองแรม เป็นอย่างไร  เรียนไปท่องไป คีย์บอร์ดยังไม่ได้แตะเลย ความจริงแล้วผมเคยเรียนคอมพิวเตอร์สมัยเรียนที่โรงเรียนยุพราชตั้งแต่ชั้น
ม.2 ในพ.ศ.2528 แต่ว่าคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลยังไม่เป็นที่แพร่หลายเพราะราคาสูงมากถูกกว่ารถยนต์ ไปนิดเดียว  


เพราะฉะนั้นโลกของความรู้ในการเรียนหนังสือของนักศึกษามหาวิทยาลัยเมื่อ 24 ปีก่อน ความรู้อยู่แต่ในกระดาษหนังสือไม่มีอินเทอร์เน็ต คอมพิวเตอร์ไม่ต้องไปถามไม่มี  เมื่อไม่มีคอมพิวเตอร์ก็ไม่มีเครื่องมือในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร  ความรู้ในโลกใบเก่าจึงเช้ามาก ๆ การพัฒนาบุคลากรทุนมนุษย์ของประเทศก็ช้าไปตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยีและยุคสมัย

พนักงาน อ.ส.ม.ท. ยุคอินเทอร์เน็ตเริ่มต้น 



พ.ศ. 2540 (ค.ศ.1997) ผมเริ่มเข้าทำงานครั้งแรกในชีวิตที่ช่อง9 อ.ส.ม.ท. โชคดีว่าก่อนจบผมสนใจเรื่องอินเทอร์เน็ตมาก ๆ  จึงทำให้ได้ศึกษาและได้งานทำ เวลานั้นอินเทอร์เน็ตตามบ้านต่อด้วยโมเด็ม
ผ่านสายโทรศัพท์ความเร็วก็ตามอัตภาพ สนนราคาการใช้งานก็ชั่วโมงละ 30 บาท ในวิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้งที่ประเทศไทยกำลังเผชิญก็เป็นจุดเริ่มต้นของเศรษฐกิจดิจิตอลในครั้งนั้น เพราะฉะนั้นเศรษฐกิจดิจิตอลเริ่มมาตั้งแต่เมื่อ พ.ศ.2540 มีหนังสือ Digital Economy เขียนโดย Don tapscott มาขาย
และ ท่าน สส.สงกรานต์ จิตสุทธิภากร แปลมาให้คนไทยได้อ่านความหนาเกือบ  300 หน้า
เวลานั้นมีเทคโนโลยีหนึ่งที่ช่วยให้การเข้าถึงความรู้ก็คือโปรแกรมที่ชื่อว่า Pointcast เป็นโปรแกรมที่เราสมัครข่าวสารและข้อมูลจากส่งตรงมายังหน้าจอเครื่องคอมพิวเตอร์แถมเป็นสกีนเซฟเวอร์รักษาหน้าจอให้ด้วย

โปรแกรม Pointcast



สมัยนั้นเทคโนโลยีส่งข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ตมายังผู้ใช้งานเรียกว่า Push Techology คือการผลักข้อมูลข่าวสารมาให้ผู้ใช้งาน แต่สุดท้าย Pointcast ก็ไปไม่รอดเนื่องด้วยเขาบอกว่ากินแบนด์วิธการใช้งานอินเทอร์เน็ตมาก แต่สำหรับผมแล้วเป็นโปรแกรมที่ดีมาก ๆ  เสียดายครับที่เขาเลิกไป
นั่นเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้มนุษย์บนโลกเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้เร็วขึ้นโดยไม่ต้องคลิ๊กเข้าไปหาข้อมูล

มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต พ.ศ. 2556



พ.ศ.2556 มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต เชิญผมไปสอนโซเชียลมีเดียเพื่อการประชาสัมพันธ์ให้กับ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 และ 4 ภายในห้องเรียนมีคอมพิวเตอร์ประมาณสัก 60 เครื่องเห็นจะได้
เป็นเวลา 21 ปีผ่านมาที่จากชีวิตนักศึกษาปี 1 ของผมและได้มาสอนให้กับนักศึกษาที่มีอายุห่างกว่าผมเกือบ 20  ปี  ถ้าผู้อ่านอาจจะไม่แปลกใจว่าการมีคอมพิวเตอร์ในการเรียนการสอนเป็นเรื่องปกติแม้แต่เด็กโรงเรียนประถมก็ในประเทศไทยในชนบทก็มีใช้งานกัน

บรรยายกาศในห้องบรรยาย พ.ศ. 2556 ต่างกับ พ.ศ. 2535

ถ้าย้อนกลับไปข้างต้นว่ากว่าผมจะได้ข้อมูลข่าวสารจากหนังสือนั้นแสนจะช้าเหลือเกิน
ในระหว่างที่ผมกำลังสอนเรื่องโซเชียลมีเดียไปนั้น ผมยกตัวอย่างกรณีศึกษาบุคคลที่ประสพความสำเร็จในชีวิต บุคคลที่มีชื่อเสียงในวงการเทคโนโลยีที่ประสบความสำเร็จ ระหว่างท่ีสอนไปนั้น นักศึกษาก็ฟังไป ตาก็จ้องเครื่องคอมพิวเตอร์ไป นั่งพิมพ์โน่นพิมพ์นี่ไป เหมือนกับไม่ได้สนใจฟังสิ่งที่ผมสอน ในการสอนผมก็เดินไปมาในห้อง
พูดไปยกตัวอย่างไป ไมโครโฟนเป็นแบบไร้สายทำให้ผมเดินไปมาในห้องได้สะดวก
สิ่งที่ผมเห็นกับตาก็คือ สิ่งที่ผมสอนไปนั้นแค่ผมพูดชื่อของบุคคลนั้น นักศึกษาก็พิมพ์ค้นเข้าไปใน Google ได้ผลลัพธ์และรายละเอียดมากกว่าสิ่งที่ผมจะสอนเข้าอีก นั่นทำให้ผมรู้ทันทีว่า
โลกการศึกษาสมัยของผมที่เป็นนักศึกษากับโลกในปัจจุบันที่มีอินเทอร์เน็ตเข้ามานั้น
ทำให้นักศึกษายุคปัจจุบันพัฒนาตัวเองได้อย่างรวดเร็วมากๆ  และความรู้มีอยู่อย่างไม่จำกัดเพียงแต่
อาจารย์ต้องกระตุ้นชี้แนวทางในการหาองค์ความรู้ใหม่ๆ ให้กับพวกเขา




การเรียนยุคอินเทอร์เน็ต สอนไปค้นข้อมูล



เมื่อโลกเข้ามาถึงยุคโซเชียลมีเดีย โซเชียลเน็ตเวิร์ค ความรู้เกิดจากคนธรรมดาที่มีองค์ความรู้ได้กระจายต่อ ความรู้บนโซเชียลมีเดียไม่ว่าจะออกจาก Facebook, Twitter , Google+ , Instagram, Youtube  ฯลฯ สปีดความรู้ของข้อมูลข่าวสารความรู้เร็วกว่า Google ที่เราเข้าไปค้นข้อมูล
ผมจึงขอแนะนำให้ทุกท่านได้รู้จักแอพ Flipboard เป็นติดตามความรู้ที่ทรงพลังเและรวดเร็วที่สุดแอพหนึ่งท่ีผมใช้อ่านทุกวันและที่สำคัญคือผู้ใช้งานสามารถติดตามความรู้แบบเป็นหัวเรื่อง หมวดหมู่เป็น Topic ได้เฉพาะเรื่องที่เราสนใจ เปรียบเสมือนเราเป็นแพทย์เฉพาะทางที่สนใจโรคเฉพาะด้านที่กำลังศึกษาอยู่อย่างเจาะลึก


Flipboard เป็นแอพที่ไว้ติดตามอ่านข่าวสารความรู้ผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์คที่ดีที่สุดในโลกแอพหนึ่ง
มีใช้งานบน IOS และแอนดรอย รวมถึงบนเว็บไซค์
คุณสมบัติเด่นของ Flipboard คือเลือกความรู้ที่ตามต้องการ , ติดตามแบบ Topic ซึ่งเป็นคุณสมบัติพิเศษมาก ๆ ใน Flipboard , ค้นหาข้อมุลความรุ้ได้จากทุกโซเชียลเน็ตเวิร์ค ,สร้าง Social Media Magazine จัดเก็บเป็นฐานความรู้ส่วนตัว


ก่อนลงรายละเอียดเกี่ยวกับ Flipboard ผมขอแนะนำเรื่อง RSS Feed สักนิดครับ
RSS Feed คือการที่ผู้ใช้ไปสมัครรับข้อมูลจากเว็บไซค์ไว้ เมื่อเว็บไซค์นั้นมีการอัพเดท ก็จะส่งข้อมูลมาทันทีทันใด ซึ่งตัว RSS นั้นความจริงแล้วใกล้ตัวเรามากสามารถนำมาติดตั้งวางในเบราเซอร์อย่าง
Google Chorme และ Firefox ได้ด้วยครับ






แอพ Flipboard



Flipboard ก็นำแนวคิดนี้มาใส่ไว้ในแอพของเขาครับ เมื่อสมัครลงทะเบียนแล้ว เขาจะให้เราเลือกหัวข้อใหญ่ ๆ ที่สนใจเช่น Business , Technolgy , Design , Music, Sports, Trave, Living, Food, Style ฯลฯ สนใจหัวข้อไหนที่ตรงกับความชอบก็เลือกเข้าไปเลยครับ ในการเลือกตรงนี้เป็นหัวข้อใหญ่ๆ
กว้าง ๆ เดี๋ยวค่อยลงไปในรายละเอียดของ Topics ครับ การใช้งานบนสมาร์ทโฟนก็ใช้นิ้วหัวแม่โป้ง Flip หรือปัดขึ้นเนื้อหาก็จะเปิดเหมือนเราเปิดสมุดครับ

ติดตามความรู้แบบ Topic



Flipboard เมื่อเราสมัครแล้วจะมีความสวยงามในการจัดรูปแบบให้น่าอ่าน เหมือนกับนิตยสารที่สวยงามหนึ่งเล่มในหมวดหมู่ที่เราสนใจ  หน้าจอของ Flipborad บนแท็บแล็ตและสมาร์ทโฟน จะไม่เหมือนกับเลยทีเดียวแต่คล้ายๆ  กันใช้งานได้ยาก ถ้าหากรู้จักใช้งานเขาแล้วรับรองว่าเขารู้ที่เราจะได้เรียนรู้นั้นจะส่งตรงมายังสมาร์ทโฟนตลอดเวลา


เอาละครับเรามาลงรายละเอียดกันว่าความละเอียดลึกซึ้งของความรู้จาก Flipboard นั้นเป็นการเรียนรุ้แบบใหม่ที่สุดในโลก เป็นความรู้ใหม่สด ส่งตรงมาอยู่ตลอดเวลาที่มีการอัพเดทจากเจ้าของคอนเทนต์
เบื้องต้นผมอยากให้ท่านผู้อ่านได้ลองเข้าไป Flip พลิกอ่านเนื้อหา

เลือกในสิ่งที่ชอบเป็นหมวดหมู่ 



เกือบลืมไปครับเนื้อหาส่วนใหญ่ที่เราจะติดตามแบบ Topic เป็นหมวดหมู่ภาษาอังกฤษ สำหรับภาษาไทยยังไม่รองรับครับ  มาติดตามกันต่อเมื่อคลิ๊กเข้าไปที่เนื้อหาที่เราอ่านแล้ว
Topic หรือหมวดหมู่จะเป็นข้อความในช่องสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ  ตรงนั้นเป็นขุมทรัพย์ความรู้เฉพาะเรื่องที่คุณใจแบบไม่ต้องปนกับคนอื่น ครั้งหนึ่งผมเคยไปสอนในวิชา MBA ของมหาวิทยาลัยสแตมฟอร์ด
คุณหมอหัวหน้าแผนกโรคหัวใจของโรงพญาบาลพญาไทมาเรียนผมได้แนะนำให้ท่านใช้ Flipboard ท่านติดตาม Topic เกี่ยวกับการแพทย์ ท่านบอกว่านี่เป็นเครื่องมือความรู้ที่สุดยอดมาก ๆ และอัพเดท


เมื่อท่านเข้าไปที่คอนเทนต์และเห็น Topic แล้วก็ติดตามเข้าไปครับ อยากบอกว่า
การติดตาม Topic นั้นสามารถติดตามได้เท่าไหร่ก็ได้ สำหรับตัวผมเองมี Topic ที่ติดตาม 600 กว่า Topic  แล้วถามว่าทำไมผมต้องติดตามเยอะขนาดนั้น ขอบอกว่าในระบบของ Flipboard จะทำการคัดเลือก Topic หมวดหมู่ให้  


ตรงนี้เป็นข้อสังเกตทิปและเทคนิคเลยนะครับ ถ้าท่านเข้าไปสมัครอ่านในหมวดหมู่ใหญ่ๆ เช่น Business, Travel , Techology  ระบบจะทำการเลือก Topics มาให้อัตโนมัติ ให้เราติดตามได้เลย
และที่สำคัญหลังจากที่เราสมัครเป็น Topics ไว้เยอะแล้ว ระบบ Flipboard ก็จะทำการเลือกเรื่องเด่น ๆ ของ Topic นั้นมาอยู่ใน Cover Story ของ Flipboard ให้เราได้อ่านด้วย


สำหรับตรงเมนูแว่นขยายนั้น  ถ้าหากท่านค้นหาความรู้พิมพ์ลงไประบบก็จะมี Topic ขึ้นมาให้ด้วย
ระบบจะค้นมาจากทุกโซเชียลเน็ตเวิร์คมาให้หมด ซึ่งแนวทางการใช้ตรงนี้ผมจะอธิบายให้อีก
และการสร้างโซเชียลมีเดียแม็กกาซีนครับ


สำหรับการค้นหาติดตามความรู้แบบ Topics บน Flipboard ผมขอเรียนกว่าเป็นความรู้ที่ทันสมัยและเร็วที่สุดในโลก ส่งตรงมายังสมาร์ทโฟน  ถ้าหากท่านใดไม่สะดวกบนสมาร์ทโฟนก็สามารถเปิดเข้าไปที่เว็บไซค์ www.flipbobard.com ได้ครับ


ก่อนจบผมมี Topics ต่างๆ ท่ีผมติดติดตามคอยอ่านอยู่เรื่อยๆ ทั้งที่สนใจมาก สนใจปานกลาง มีอะไรแปลกๆ อยู่ตลอดเวลา เรียนอีกครั้งว่า ความรู้บน Flipboard เร็วกว่า Google มาก ๆ
เหมาะสำหรับนักเรียน นักศึกษา นักวิจัย นักธุรกิจ ที่ต้องการความรุ้ในมุมมองใหม่ๆ สไตล์โซเชียลมีเดียครับ


โลกในปี พ.ศ. 2535 มาถึงปัจจุบันนั้น เทคโนโลยีในการหาความรู้มีหลากหลายแปลกใหม่มากขึ้น
ให้เราได้อ่าน การอ่านเป็นหัวใจหลัก แต่สิ่งที่เปลี่ยนแปลงก็คือการปรับเปลี่ยนสไตล์ใหม่ๆ ในการหาความรู้กับเครื่องมือใหม่ๆ  มากขึ้นครับ

ขอฝากไว้นิดครับว่า เมื่อใช้งาน Flibboard แล้ว หมั่นเข้าไปอ่านให้พอๆ กับที่เราเข้าไปเล่น Facebook ครับ ผมรับรองว่าโลกแห่งความรู้ข่าวสารในชีวิตของเราจะเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิงครับ
เรามาช่วยกันเปลี่ยนการใช้สมาร์ทโฟนจาก Communication มาเป็น Education ครับ
ท่านใดสงสัยวิธีการใช้สามารถสอบถามมาที่ Facebook ชีพธรรม ไตร คำวิเศษณ์ หรือ

ชีพธรรม คำวิเศษณ์

ความคิดเห็น