ชวนมาเป็นนักเขียนของสำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ใคร ๆ ก็มาเขียนได้


คลิปสัมภาษณ์ อ.มานิต รุจิวโรดม กรรมการบริหารสำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
แนวทางการเป็นนักเขียนของสำนักพิมพ์จุฬาฯ

รางวัลโนเบล รางวัลระดับโลกที่มอบให้กับคนสำคัญของโลกมีไม่กี่รางวัล
เช่นรางวัลนักเศรษฐศาสตร์, รางวัลสันติภาพ, ฟิสิกส์, เคมี และ วรรณกรรม หรือ นักเขียนวรรณกรรมนั่นเอง เพราะฉะนั้นนักเขียนเป็นสิ่งที่โลกยกย่องกันมาก ถึงแม้ว่าวาทะกรรมในประเทศไทยจะบอกว่านักเขียนไส้แห้ง นักข่าวไส้แห้ง สำหรับตัวผู้เขียนบล๊อคเองก็มีความฝันสูงสุดในชีวิตก็คือ นักเขียนที่มียอดขายหนังสือติดอันดับ  ทำไมผมถึงอยากเป็นนักเขียน เพราะนักเขียนมีอิทธิพลต่อความคิดของผู้คน
เราอยากนำเสนออะไรเราก็เขียนลงไปให้ผู้คนได้อ่านกัน ถึงแม้ว่าวาทะกรรมนักเขียนไส้แห้งจะรุนแรงทั้งเมืองไทยและระดับโลกในบางประเทศ แต่โลกนี้ก็ได้พิสูจน์แล้วว่านักเขียนก็รวยเท่ากษัตริย์แห่งประเทศอังกฤษได้ นักเขียนผู้นั้นคือ เจเค โรลลิ่ง ผู้แต่งหนังสือแฮรี่ พอตเตอร์

วันที่ 24-26 มีนาคม 2559 สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้พานักเขียนที่ขายดีติดอันดับของสำนักพิมพ์ ได้เที่ยวและดูงานหนังสือโฮจิมินท์บุ๊คแฟร์ 2016 ที่เมืองโฮจิมินท์ ประเทศเวียดนาม
ผมเองโชคดีมาก ๆ ที่ได้รับเกียรติเชิญจากสำนักพิมพ์ฯ ไปในฐานะสื่อมวลชน ให้ไปดูงานและช่วยประชาสัมพันธ์การเดินทางดูงานผ่านโซเชียลมีเดียที่ผมใช้งานอยู่

ระหว่างที่เดินชมงาน ผมได้เดินคุยกับ อ.มานิต รุจิวโรดม กรรมการบริหารสำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้แนะนำและแนวทางการเป็นนักเขียนของสำนักพิมพ์
ท่านบอกว่า " สำนักพิมพ์จุฬาฯ พิมพ์ตำราวิชาการ มีแนวทางเป็นของสำนักพิมพ์ นักเขียนที่จะเข้ามาเขียนต้องเขียนแบบวิชาการ จะเขียนแบบเข้ากับแบบตลาดที่สนใจก็อาจได้บ้าง จุดยืนของสำนักพิมพ์จุฬาฯ อีกก็คือถึงแม้จะเป็นหนังสือตลาดรู้อยู่แล้วว่าขายได้แน่ แต่ถ้าไม่มีวิชาการก็จะไม่พิมพ์"

ผมมีเรื่องอยากระบายความในใจนิดนึงเกี่ยวกับเรื่องการเขียนหนังสือตำราวิชาการ สำหรับครูบาอาจารย์ทั้งหลายครับ คืออยากเชิญชวนมาเป็นนักเขียนเพื่อจะได้สร้าง Personal Brading ให้กับตัวเอง
แปลอย่างดีนะ Personal Branding เอาเป็นว่า แบรนด์ของตัวเรา ผู้คนมองเราอย่างไร ผลงานของเรา
ตำราจะเป็นเครื่องพิสูจน์ให้เรารู้จัก

ผมเกิดในสังคมของแวดวงสังคมการศึกษาคือเกิดและโตในบ้านพักอาจารย์วิทยาลัยครูเชียงใหม่ ปัจจุบันคือสถาบันราชภัฏเชียงใหม่ เกิดและอาศัยอยู่จนกระทั่งเรียนจบปริญญาตรี  หลังจากที่ผมเติบโตขึ้นและบรรดาที่คนรุ่นพ่อแม่ค่อยๆ ทะยอยเกษียณอายุราชการไป ปรากฏว่าอาจารย์หลายท่านส่วนใหญ่แล้วไม่ค่อยมีใครจ้างต่อ คือเกษียณแล้วเกษียณเลย  น่าเห็นใจมากเพราะระหว่างที่รับราชการอยู่นั้นไม่ได้เขียนตำราไว้เลย  ก็จะโทษว่าไม่เขียนไม่ได้อีก น่าเห็นใจเพราะอยู่ไกลจากศูนย์กลางของประเทศไทย
ไม่รู้จะไปพิมพ์ที่ไหน  แถมเป็นอาจารย์ต่างจังหวัด อาจารย์วิทยาลัยครู ดูเหมือนศักดิ์ศรีจะน้อยกว่าอาจารย์มหาวิทยาลัยเหมือนเป็นการแบ่งชนชั้นทางสถาบันการศึกษา
ทั้งที่ อาจารย์หลายทั้งมีความเก่งมาก ๆ จบการศึกษามาจากต่างประเทศเช่นเดียวกับอาจารย์มหาวิทยาลัย แต่ไม่มีโอกาสเพราะไม่ค่อยมีใครรู้จัก  ถึงแม้จะเป็น ผศ. หรือ รศ​. ก็เป็นผลงานทางวิชาการ ที่ไม่ได้ถูกเผยแพร่ออกสู่สาธารณชน  ไม่ได้ไปอยู่ในแผงหนังสือ ร้านหนังสือให้มหาชนได้รับทราบทั่วประเทศ

โลกทุกวันนี้เปลี่ยนไปมากครับ ทุกคนมีความเก่งในตัวเอง โลกได้เปิดกว้างขึ้นมากมีเวที มีเครื่องมือบนอินเทอร์เน็ต โซเชียลมีเดียต่างๆ ให้เผยแพร่ แต่การเป็นหนังสือออกมา เป็นเครื่องยืนยันความเก่งและความเชี่ยวชาญของท่านต่อมหาชน และหนังสือจะไม่มีวันตายถึงแม้ว่าสื่ออีบุ๊คและสื่ออิเลคทรอนิคส์มีการเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภคหนังสือ

ผมรู้จักสำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มานานมากเหมือนกับพรรคพวกเพื่อนฝูงที่รู้ใจกัน
ว่า ผมอยากจะเขียนบอกท่านผู้อ่านว่า สำนักพิมพ์จุฬาฯ นั้นเปิดโอกาสให้กับทุกคน ไม่ว่าคุณจะเป็นใครก็ได้ จะมาจากมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียง หรือสถาบันการศึกษาที่ชื่อเสียงเป็นรอง มาจากคนธรรมดาที่ไม่ได้เป็นครูบาอาจารย์ แต่ถ้าคุณเป็นคนที่มีความรู้และอยากเผยแพร่เป็นตำราวิชาการ คุณสามารถจะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของนักเขียนได้  แต่ก็มีกฏกติกา ระเบียบ ตามขั้นตอนที่สำนักพิมพ์ได้ระบุไว้นะครับ

ขอเชิญชวนทุกท่านที่สนใจมาเป็นนักเขียนกันนะครับ  มาเริ่มไปพร้อม ๆ กับผมกันครับ
ผมมีเป้าหมายที่จะมีผลงานตีพิมพ์กับสำนักพิมพ์จุฬาฯ เหมือนกับนักเขียนหลายๆ  ท่านที่ประสบความสำเร็จไปแล้ว  ถึงแม้จะรู้จักกันเหมือนกับเพื่อนฝูงแต่ผมก็ต้องพิสูจน์ตัวเอง เพราะว่าคณะกรรมการพิจารณา เป็นผู้ทรงคุณวุฒิระดับประเทศกันทั้งนั้น

ถ้าหากท่านใดสนใจเป็นนักเขียนลองติดตามและส่งข้อความไปที่ Facebook Fanpage ของสำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกันนะครับ
https://www.facebook.com/ChulaPress

ชีพธรรม คำวิเศษณ์

ความคิดเห็น