ชวนชมภาพถ่ายสยามประเทศ 150 ปี พ.ศ.2408 มาถึงเซลฟี่ IG อินสตาแกรม พ.ศ. 2558


คอลัมภ์ Siam Through the lens of John Thomson จาก นสพ.บางกอกโพสต์ อังคาร 6 ม.ค. 2558


ผมอ่านหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ 2 ฉบับ ของฉบับเมื่อวันอังคารที่ 6 กับวันพุธที่ 7 มกราคม 2558
หลังจากที่อ่านแล้วมีมุมมอง 2 เรื่อง ของเขียนเล่ารวมกันเลยครับ ซึ่งทั้งสองเรื่องนี้ผมจะนำไปเล่าในรายการวิทยุ MCOT Dot Net ทาง FM100.5 สำนักข่าวไทย อ.ส.ม.ท. คืนวันพุธที่ 7  ม.ค. 58 เวลา 23.10-24.00 น. พร้อมกับการวิเคราะประวัติศาสตร์กับเทคโนโลยีภาพถ่ายจนถึงยุคเซลฟี่เลยครับ


เรื่องแรกหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ได้นำเสนอว่าบทความเรื่อง Siam Through The Lens of John Thomson เป็นเรื่องการแสดงภาพถ่ายในอดีตของสยามหรือประเทศไทย  ช่างภาพคือ จอห์น ทอมสัน ชาวสก๊อตแลนด์  เข้ามาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในหลวงรัชกาลที่ 4 ใน ค.ศ. 1865 (พ.ศ.2408) บวบลบแล้วเป็นเวลา 150 ปีผ่านมา  จอห์น ทอมสัน ได้มีโอกาสเข้าไปถ่ายภาพในพระบรมมหาราชวัง และยังได้ฉายพระรูปของในหลวงรัชกาลที่ 5 สมัยยังเป็นพระยุพราชไม่ได้ขึ้นครองราชย์  ภาพที่จอห์นสันถ่ายมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ของชาติไทยอย่างมาก ทำให้เราสามารถเดินสำรวจอดีตของกรุงเทพเรียนรู้ชีวิต ขนบธรรมเนียม ของผู้คนเมื่อ 150 ปีที่แล้ว  เป็นการยากมากที่กว่าจะได้มาแสดงที่เมืองไทย  หลังจากภาพถ่ายชุดนี้ได้แสดงไปมาแล้วทั่วโลก เป็นเรื่องที่น่าปลื้มใจที่ภาพถ่ายนี้กลับมาที่เมืองไทยโดย ม.ร.ว.นริศรา จักรพงษ์ ได้เป็นเพื่อนกับผู้จัดงานที่ประเทศจีน และได้ใช้ความพยายามที่จะจัดงานนี้มาตั้งแต่ พ.ศ.2552  สำหรับผู้สนใจสามารถเข้าไปชมได้ตั้งแต่วันที่ 10 มกราคม - 28 กุมภาพันธ์ 2558 ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ ถ.เจ้าฟ้า กรุงเทพ ไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น 



ม.ร.ว.นริศรา จักรพงษ์ (คนที่ 2 จากขวา)
ภาพข่าวจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย 
http://www.tatnewsthai.org/newsdetail.php?newsID=3716&NEWS=1



มาถึงเรื่องที่ 2 เป็นบทความเรื่อง The First Family of Instagram  ผมเห็นบทความนี้ในแอพ Flipboard เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมาเป็นของหนังสือพิมพ์นิวยอร์คไทม์ มาถีงวันพุธ หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์มานำเสนอต่อให้กับผู้อ่านในประเทศไทยต้องมีอะไรเยี่ยมๆ  แน่นอนครับ เรื่องมีอยู่ว่าครอบครัวนี้ แม่,ลูกชายและลูกชาว

ใช้งานอินสตาแกรมกันทั้งครอบครัว เรียกว่าเป็นครอบครัวที่ทันสมัยมาก แถมจากงานอดิเรกกลายเป็นธุรกิจได้ด้วย  คุณแม่ Sarah Philip เป็นเจ้าของบัญชี @food (www.instagram.com/food) มีผู้ตามมากกว่า 330,000 ราย และ @baking มีสมาชิกตาม 27,000 ราย เรียกว่าเธอโพสทั้งอาหารและขนม
มาถึงเรื่องที่ 2 เป็นบทความเรื่อง The First Family of Instagram  ผมเห็นบทความนี้ในแอพ Flipboard เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมาเป็นของหนังสือพิมพ์นิวยอร์คไทม์ มาถีงวันพุธ หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์มานำเสนอต่อให้กับผู้อ่านในประเทศไทยต้องมีอะไรเยี่ยมๆ แน่นอนครับ เรื่องมีอยู่ว่าครอบครัวนี้ แม่,ลูกชายและลูกชาว ชาวรัฐนิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา


ลูกสาว Liz Eswein เป็นเจ้าของบัญชี @newyorkcity มีสมาชิกตามกว่า 1.1 ล้านราย และลูกชาย Tom Eswein เป็นเจ้าของอินสตาแกรม @realestate มีโฟลโล่เวอร์ผู้ตาม 6,524 ราย
ครอบครัวนี้ชื่นชอบการใช้เทคโนโลยีมาก  น่าแปลกมากใช่ไหมครับว่าทำไมครอบครัวนี้ถึงได้ชื่ออินสตราแกรมเป็นชื่อเยี่ยมๆ  เพราะครอบครัวนี้อยู่ในช่วงอุตสาหกรรมดอทคอมมาก่อน  เมื่ออินสตาแกรมเริ่มเปิดให้บริการก็จดชื่อบัญชีเหล่านี้ไว้ ทุกวันนี้นอกจากจะเป็นงานอดิเรกแล้วก็ยังเป็นธุรกิจในการทำธุรกิจในการโพสภาพถ่ายในแต่ละครั้งด้วย  ในการโพสแต่ละครั้งก็จะใช้แต่ละบัญชีสลับไปมาช่วยกันเป็นธุรกิจในครอบครัวไปด้วยครับ 

 ใครที่ใช้ IG ก็ลองเข้าไปติดตามกันได้ครับ ครอบครัวนี้บอกว่า Don’t touch your food until a picture has been taken. อย่ายุ่งกับอาหารก่อนที่จะถ่ายภาพ  ตอนนี้เมืองไทยก็เป็นแบบนั้นเหมือนกันครับเวลาไปทานอาหารที่ไหนก็จะมีการถ่ายภาพไว้ก่อน  ผมเชื่อว่าหลายครอบครัวในเมืองไทยก็ใช้ IG ในครอบครัวเหมือนกันแต่ครอบครัวนี้ เป็นที่ปรึกษาโซเชียลมีเดียด้วยก็เลยใช้โอกาส
ที่โลกเข้าสู่ที่คนธรรมดาก็สร้างสื่อเองได้ใช้ประโยชน์จากสิ่งเหล่านี้ เป็นความสุขของตนเองและครอบครัวพร้อมกับเป็นธุรกิจสื่อได้ด้วยครับ 



 ภาพจากหนังสือพิมพ์ บางกอกโพสต์ พุธ 7  ม.ค. 2558


มาถึงสิ่งที่ผมอยากจะวิเคราะห์รวมกันทั้ง 2 เรื่อง จากเรื่องแรกถ้าย้อนเวลาไปได้ 150 ปีที่แล้ว
เรื่องของการถ่ายภาพเป็นเรื่องของชนชั้นสูง ชาวบ้านตลาดร้านค้าไม่สามารถที่จะมีกล้องถ่ายรูปได้
ถ้าได้เห็นภาพเก่า ๆ และหนังสือเก่าๆ จะเห็นว่า ในยุค 150 ปีที่แล้วคนที่จะถ่ายรูปได้ต้องเป็นชนชั้นสูงในสยามถีงจะมีภาพถ่ายได้  คนธรรมดาชาวบ้านจะไม่ค่อยเห็น  วันเวลาผ่านมา 150 ปี ประเทศไทย
มีผู้ใช้สมาร์ทโฟนเรียกว่าโทรศัพท์มีกล้องถ่ายรูปพร้อมใช้อินเทอร์เน็ต ผู้ใช้ในเมืองไทยกว่าหลักสิบล้านเครื่องถ่ายภาพแล้วยังยังแชร์ออกโซเชียลมีเดีย Facebook , Instagram , Twitter , Line , Google+
ยิ่งยุคนี้แล้วภาพถ่ายตัวเองหรือเซลฟี่ยังเป็นที่นิยม  เพราะฉะนั้นเราจะเห็นว่าเทคโนโลยีทุกวันนี้ที่เคยเป็นของเข้าถึงยากเช่นอินเทอร์เน็ต , เทคโนโลยี GPS ใช้ในวงการทหารแต่ปัจจุบันใคร ๆ ก็ใช้ได้
ถ้ามองออกไปทั่วโลกแล้วปัจจุบันมีผู้ใช้ Facebook กว่า 1 พันล้านคน โดยใช้จากสมาร์ทโฟนไม่ต่ำกว่า 300 ล้านเครื่อง ลองจินตนาการดูซิครับว่าในแต่ละวันจะมีภาพถ่ายบนโซเชียลเน็ตเวริ์คมากมายขนาดไหนครับ จากทุกมุมโลก

สรุปว่าอยากนำเสนอให้เห็นถึงความก้าวหน้าที่ไม่หยุดยั้งของเทคโนโลยีกับชีวิตของผู้คนที่ยุคหนึ่งเป็นของที่ใครจะครอบครองได้มาถึงยุคปัจจุบันของที่ว่าใครครองไม่ได้มีใช้กันทุกคน ไม่ต้องมีช่างภาพแล้เซลฟี่กันเองเลย และอยากชวนทุกท่านไปชมนิทรรศการภาพถ่าย ถ้าหากใครไปแล้วก็ชวนไปถ่ายภาพเซลฟี่ช่วยประชาสัมพันธ์ให้คนไทยและเพื่อนชาวต่างชาติไปชมนิทรรศการภาพถ่าย สยามผ่านมุมกล้องของจอห์น ทอมสัน กันนะครับ  ถ้าใครไปมาแล้วก็แชร์ภาพให้ชมด้วย สำหรับผู้เขียนไปแล้วจะมาเขียนทั้งกระทู้และบล๊อคให้ชมกันครับ ด้วยรักจากใจจากผมผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์และเทคโนโลยี

ชีพธรรม คำวิเศษณ์
Twitter @tri333

 ภาพจากหนังสือพิมพ์ บางกอกโพสต์ พุธ 7  ม.ค. 2558


ความคิดเห็น