17 ปีแห่งความหลังกับโซเชียลมีเดีย กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ

From Social Media กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ
ความสำเร็จในโลกนี้ที่มนุษย์ต้องการเป้าหมายเป็นจุดเดียวกัน แต่การเดินคนละเส้นทางเปรียบเสมือนกับนิสิตจบใหม่ที่เริ่มชีวิตการทำงานที่กำลังสร้างฐานะทุกคนเรียนจากอาจารย์คนเดียวกันตำราเล่มเดียวกัน แต่เส้นทางที่จะให้ถึงเป้าหมายมีเงินทอง ลาภยศ สรรเสริญ อาจจะต้องใช้หนทางและเวลาที่ไม่เหมือนกัน ยากง่าย ลำบาก อ่อนล้า เหน็ดเหนื่อย ขึ้นอยู่กับการเดินทางและการออกแบบอาชีพของชีวิต แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ในวันที่เริ่มต้นชีวิตการทำงานของผมอยากจะเป็นรับราชการกระทรวงต่างประเทศ แต่เส้นทางชีวิตด้านการศึกษาในเวลานั้นตีบตันมาก เพราะปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยเอกชนในประเทศไทยแถมไม่ใช่คนเรียนเก่งติดอันดับ เจอคนที่เก่งกว่ามาจากต่างประเทศและในประเทศ สู้ในเกมส์ที่เขาออกแบบไว้จะไปเหลือหรือครับ แต่ในที่สุด ความรู้ ความอึด หรือโชคชะตานำมาถึงเป้าหมายเพียงแต่ว่า ไม่ใช่ทางตรงเหมือนคนอื่น ๆ ที่เก่งกว่า แต่เส้นทางของผมเป็นทางอ้อมและยาวนานถ้านับกันจริงๆ แล้วใช้เวลา 22 ปี แต่ถ้านับแบบวันที่ไปทำข้อสอบเพื่อแข่งขันรับราชการกระทรวงต่างประเทศใช้เวลาถึง 17 ปี ยาวนานมาก ๆครับ
From Social Media กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ
เสาร์ 7 กันยายน 2556 เวลาเที่ยง ๆ หลังจากการอบรมโซเชียลมีเดียเพื่อการประชาสัมพันธ์ และได้นำข้อเสนอข้อคิดเห็นในการที่จะปรับองค์กรด้านการข่าวที่นำสังคมออนไลน์เข้ามาผนวกกับทุกมิติของการทำงานในการให้ข้อมูลทั้งในประเทศและต่างประเทศ ให้กับข้าราชการ กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศที่โรงแรมพูลแมนพัทยา ขณะที่ผมกำลังเดินจะเดินลงบันไดจากชั้น 2 ห้องอบรมไปรับประทานอาหารกลางวัน คำพูดหนึ่งที่เป็นกำลังใจให้กับผมและเขียนบล๊อคมาเพื่อเล่าความภูมิใจของตัวเองที่มนุษย์เราจะต้องสร้างสิ่งเหล่านี้ขึ้นมาเพื่อเป็นพลังบวกให้กับชีวิต
From Social Media กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ
ท่านฑูตจักรกฤษ สีวลี รองอธิบดีกรมสารนิเทศ (ท่านเป็นคอลัมนิสต์ บ๊อบ บุญหด สอนภาษาอังกฤษในหนังสือพิมพ์เดลินิวส์) ระหว่างที่เดินจะไปทานอาหารด้วยกันท่านได้พูดกับผมว่า “17 ปีไม่สายนะครับ ตอนนี้คุณได้เป็นเสมือนส่วนหนึ่งของกระทรวงต่างประเทศไปแล้ว” ผมตอบท่านด้วยความภูมิใจและเหมือนกับน้ำตาจะคลอเบ้าซึ่งผมเองก็ไม่นึกฝันว่าจะมีวันนี้ “ใช่ครับท่าน 17 ปีครับ ไม่สายเกินไป” ซึ่งผมก็ยอมรับกับตัวเองว่าข้อเสนอที่ผมได้ให้กับกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ สามารถนำไปปฏิบัติและใช้ได้จริงเพื่อจะยกประสิทธิภาพของการนำเสนอข่าวสารบริหารให้กับประชาชนไทยและสังคมโลก
From อารามบอย
ย้อนหลังไปเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2534 บ้านพักเอกอัครราชฑูตไทย ประจำกรุงเม็กซิโกซิตี้ ประเทศเม็กซิโก ซึ่งอยู่ห่างไกลจากประเทศไทยมาก หลวงปู่ทอง สิริมังคโล (พระธรรมมังคลาจารย์) ได้เดินทางไปสอนวิปัสสนากรรมฐานที่นั่น แม่ของผมซึ่งเป็นลูกศิษย์และเคยเป็นล่ามให้กับหลวงปู่เมื่อครั้งเดินทางมาเผยแพร่วิปัสสนากรรมฐานที่เม็กซิโกในปี พ.ศ. 2528 แม่ได้ซื้อตั๋วเครื่องบินให้ผมมารับใช้อุปัฏฐากหลวงปู่ เคยดูแลยกกระเป๋า ทำกับข้าว ซักผ้า รับใช้ทุกอย่างเท่าที่จะทำได้ ผมจำได้ว่าการเดินทางไปเม็กซิโกครั้งนั้นต้องใช้เวลาเดินทางจากสนามบินดอนเมืองไปเปลี่ยนเครื่องบินที่นาริตะญี่ปุ่น จากนั้นบินเข้าสู่สนามบินซานฟานซิสโก เปลี่ยนเครื่องบินจากซานฟรานขึ้นไปทางเหนือเพื่อไปพักผ่อน 2 คืนที่เมืองซีแอตเติ้ล ซึ่งอยู่บินเหนือขึ้นไปซานฟรานฯ อีกราว 2 ชั่วโมงครึ่ง พักสองคืนแล้วก็บินจากซีแอตเติ้ลมาเปลี่ยนเครื่องบิน ที่ลอสแองเจอลิส จากนั้นก็บินต่อไปอีก 3 ชั่วโมงครึ่ง ปลายทางสนามบินเม็กซิโกซิตี้ ไกลมาก ๆ จากประเทศไทยครับ ถ้าเดินทางรวดเดียวจะเหนื่อยมาก ผมจำได้ว่าเวลานั้นหลวงปู่อายุ 67 ปี เมื่อไปถึงเม็กซิโก หลวงปู่ถึงกับไม่สบายไป 2-3 วัน สำหรับผมก็ยังวัยรุ่นในวัย 18 ปีครับ ก็ดูแลรับใช้ท่าน ทางสถานเอกอัครฑูตไทยประจำกรุงเม็กซิโกซิตี้ ได้ทราบการประสานและนิมนต์หลวงปู่ไปสวดมนต์ฉันเพล ที่สถานฑูตฯ ผมในฐานะเด็กวัดก็ต้องติดตามไปด้วย เป็นครั้งแรกของชีวิตที่ได้เข้าไปสัมผัสชีวิตของนักการฑูตในต่างประเทศ บ้านพักหรูหราใหญ่โต โอ่โถง มีสัญลักษณ์ครุฑเป็นตัวแทนของประเทศไทย ผมได้พบกับท่านเอกอัครราชฑูตอรชุน ตนะพงษ์ ซึ่งท่านเป็นชาวเชียงใหม่เช่นกัน ได้คุยภาษาเหนือกับหลวงปู่ และท่านพูดภาษาสเปญกับชาวเม็กซิกันได้อย่างคล่องแคล่ว ถ้าผมจำไม่ผิดท่านบอกว่าท่านเป็นนักเรียนเก่าประเทศสเปน หลังจากฉันเพลเสร็จท่านก็ได้พาชม ห้องทำงาน และบริเวณบ้าน นั่นเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ผมประทับใจและอยากจะเป็นนักการฑูตแบบนั้นบ้างตามความคิดของคนอายุ 18 ปี ที่ไม่ได้มีประสบการณ์อะไรในชีวิตมากมายนัก โลกของผมก็คือจังหวัดเชียงใหม่ซึ่งเป็นที่เกิดเติบโตและเรียนหนังสือมาทั้งชีวิตจนกระทั่งจบปริญญาตรีแล้วก็เข้าไปหางานทำเหมือนกับคนทั่วไปที่ไปแสวงโชคในเมืองหลวงของประเทศไทย
From อารามบอย
กลับจากเม็กซิโก แวะมาสหรัฐฯ ต่อด้วยญี่ปุ่น ปิดท้ายการเผยแพร่ธรรมะที่เมืองปูซาน เกาหลีใต้ มาถึงเชียงใหม่ ฟิตจัดอยากเป็นนักการฑูตบ้างก็ไปเรียนภาษาอังกฤษที่ เอยูเอ เมื่อเข้าเรียนก็เรียนคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ ระหว่างที่เรียนก็ศึกษาชีวิตของนักการฑูต กรมหมื่นนราธิปพงษ์ประพันธ์ (วรรณ ไวทยากร) เรื่องราวของสหประชาชาติ ตอนเรียนปี 4 ก็ได้เรียน กฏหมายคดีเมืองกับคดีบุคคล ข้อสอบแสนจะยาก เวลาสอบอาจารย์ท้ารบให้นำหนังสือที่อ่านเข้าไปเปิดหาคำตอบ แม่เจ้าประคุณแค่อ่านข้อสอบเสียงหัวใจเต้นของผมแทบจะดังออกมาเพราะว่าอยากสุด ๆ หนังสือที่ขนเข้าไปหนึ่งกระเป๋านั้น แทบจะไม่มีคำตอบอยู่เลย ริจักเป็นนักการฑูตแบบไม่เจียมตัวเอง ภาษาอังกฤษในระดับปริญญาตรีก็เรียนเพียง 2 รายวิชาเท่านั้นในเทอมแรกและเทอมสองของชั้นปีที่1 แล้่วที่เหลือก็ไม่ได้เรียนเลย หัดอ่านภาษาอังกฤษเองบ้าง และในที่สุดกระทรวงการต่างประเทศก็เปิดสอบ ผมจำไม่ได้ว่าซื้อใบสมัครมาอย่างไรแล้วในที่สุดก็ต้องไปสอบ
From อารามบอย
เพื่อนๆ ที่จบการศึกษาในปี พ.ศ. 2539 จากมหาวิทยาลัยพายัพ จังหวัดเชียงใหม่ ก็กำลังขึ้นไปแสวงโชคหาหนทางอาชีพในอนาคต พ่อให้เงินค่าเดินทางและกินอยู่สำหรับการไปสอบ ถามว่าในใจแล้วหวังหรือเปล่า คำตอบที่ได้ก็คงจะหริหรี่ครับ แต่ก็ต้องไปสู้ ผมอาศัยรถยนต์ของเพื่อนขับจากเชียงใหม่ไปกรุงเทพฯ ไปถึงก็ค่ำแล้วนอนพักกับเพื่อนหนึ่งคืน ก็ไปอาศัยนอนที่กุฏิคณะ 25 วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ ที่เวลาหลวงปู่ทองมากรุงเทพฯ ท่านจะต้องมาพักที่นี่ ผมก็เลยสนิทกับหลวงพ่อพระครูวรปัญญาคุณ เจ้าคณะ 25 ตอนนั้นมีการแข่งขันโอลิมปิค 1996 สมรักษ์​คำสิงห์ ได้แชมป์มวยสากลสมัครเล่น โอลิมปิครุ่นเฟเธอร์เวท ประสบความสำเร็จในชีวิตไปแล้ว แต่อนาคตของผมหริบหรี่สุด ๆ การสอบครั้งแรกในการหางานทำกับกระทรวงต่างประเทศ และแล้วก่อนไปสอบมีสัญญาณบ่งบอกเกิดขึ้น ใต้กุฏิคณะ 25 วัดมหาธาตุฯ หลวงปู่สมปอง มุทิโต ท่านเป็นพระผู้ทรงพระไตรปิฏกเคยไปเรียนคัมภีร์ที่ประเทศพม่า ท่านเก่งคอมพิวเตอร์มาก ๆ มีทั้งเครื่องแม็คและพีซี ตอนนั้นยังเป็นระบบปฏิบัติการวินโดว์ 95 ได้ความที่ใช้คอมพิวเตอร์ไม่เป็นและอยากจะลองเล่นบ้าง ปรากฏว่าผมลองเล่นไปเรื่อยๆ แล้วลองไปคลิ๊กที่ปุ่ม Shotdown อยู่ ๆ เครื่องปิดไป ผมตกใจมากนึกว่าจะทำเครื่องของหลวงพี่เสียแล้ว แทบจะเป็นลมเพราะคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งก็หลายสตางค์อยู่ ถ้าเสียจะทำอย่างไรละ ก็ไปถามหลวงพี่ท่านก็เมตตาบอกว่า “ไม่เป็นไร ปุ่มนั้นเอาไว้ปิดเครื่อง” โอโห้ความโง่อยู่ในตัวเรา แม้ว่าจะจบการศึกษามาถึงระดับปริญญาตรีแล้ว
From Social Media กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ
และแล้ววันสอบเข้ากระทรวงต่างประเทศก็มาถึง ผมเองจำไม่ได้ว่าสอบที่ไหนจำได้คลับคล้ายว่าเป็นวัดอะไรสักอย่าง หรือวิทยาลัยสักแห่ง ผมก็เหมือนกับคนจบใหม่อีกหลายคนที่มาสอบแข่งขันเข้ารับราชการ ได้ยินเขาบอกกันว่า คนจะเข้ากระทรวงต่างประเทศได้ ต้องมีนามสกุลดี เป็นลูกท่านหลานเธอ แล้วอย่างไรจะเหลือหรือ แต่จิตวิญญาณนักมวยไทยและสมัครเล่นมือเก่าอย่างผมที่ชกมา 10 ครั้งไม่ถอยอยู่แล้ว ปี พ.ศ. 2539 เป็นปีเฉลิมฉลองขึ้นครองราชย์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวครบ 50 ปี ข้อสอบวันแรกเป็นแบบเรียงความเป็นภาษาอังกฤษ กรรมการเดินแจกข้อสอบ โจทย์หนึ่งแผ่นและกระดาษเปล่าเขียนเรียงความเป็นภาษาอังกฤษ ผมหยิบข้อสอบขึ้นมาอ่านโจทย์สั้น ๆ ได้ใจความ จงเรียงความ Golden Jubilee เป็นภาษาอังกฤษ โอ้โห้ โชคดีมาก รู้อยู่แค่นั้นว่าแปลว่าอะไรนึกใจ “แล้วที่เหลือจะเขียนว่าอะไร แล้วคำว่าใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท เขียนเป็นภาษาอังกฤษว่าอย่างไรละ” ครับจากนั้นผมก็เขียนไปเรื่อยๆ แกรมม่า ศัพท์แสง เป็นยิ่งกว่าชาวบ้านฝรั่ง เพราะแทบไม่เป็นไร แต่หัวจิตหัวใจก็เขียนไปให้ครบหน้ากระดาษ สภาพของผมก็เหมือนกับนักมวยที่ถูกน๊อคยกแรก ตั้งแต่หยิบกระดาษสอบแล้ว แต่เหมือนกับกรรมการให้โอกาสชกให้ครบยก ไหน ๆ เสียเงินค่าเดินทางกินอยู่มาแล้วก็เอาให้คุ้มครับ
From Social Media กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ
ขณะที่กำลังเริ่มจะลงมือเขียนผู้เข้าสอบผู้ร่วมชะตากรรมเดียวกับผม บางคนก็ยื่นกระดาษสอบให้กับผู้คุมสอบ โยนผ้าขาวยอมแพ้ไปเลย ไม่บอบช้ำออกไปเที่ยวเล่น ดีกว่า ก็เหลือไอ้พวกตีืื้อบ้ดรัด ยิ่งชกยิ่งเจ็บตัวแสดงความซื้อบื้อออกไปในกระดาษ ผมเชื่อว่าคณะกรรมที่ตรวจสอบ อ่านไปก็คงหัวเราะไป นายชีพธรรม คำวิเศษณ์ คนนี้ช่างโง่แต่ก็มีความพยายามเหลือเกิน ก็ไม่ต้องอะไรนะ ให้ตายตกไปตามกันกับพวกที่เหลือเลยแล้วกัน นั่นเป็นประสบการณ์ในการสอบเข้ากระทรวงต่างประเทศ และเป็นครั้งเดียวในการสอบเข้าทำงานราชการครับ The End Of The Beginning จุดสิ้นสุดของการเริ่มต้น แต่ไม่สิ้นสุดของชีวิต ที่ดิื้นไปเรื่อยๆ 17 ปีหลังจากการสอบเข้ากระทรวงต่างประเทศ ชีวิตผมก็ดิ้นรนไปตาม My Way หนทางชีวิตของ ตัวเอง ก่อนสอน 1 วัน พี่สุเมธ​เจ้าหน้าที่การฑูต เป็นผู้อยู่เบื้องหลังในการนำเสนอถ่ายทอดสดงานต่าง ๆ ของกระทรวงการต่างประเทศเช่นคดีเขาพระวิหาร และ โทนี่แบรด์ เยือนเมืองไทย ซึ่งเคยไปนั่งเรียนกับผมตอนกระทรวงยุติธรรม เป็นคนเจ้าภาพจัดงานที่หัวหิน มาเสนอกับท่านฑูตจักรกฤษณ์ และคณะทำงาน ว่าต้องเชิญอาจารย์ไตรมาสอน ในที่สุดจากการที่พี่สุเมธ ประทับใจในความรู้ที่ผมสอนก็ได้มารับใช้กระทรวงต่างประเทศที่ทำงาน ในอาหารเย็นก่อนสอนหนึ่งวัน ผมถามพี่สุเมธด้วยความสนใจในชีวิตของนักการฑูตว่า “พี่เคยไปอยู่ท่ีสถานฑูตไทยที่ไหนมาบ้างครับ “ “ผมเคยไปอยู่สวิสเซอร์แลนด์กับฮ่องกงครับ ก่อนจะย้ายมาอยู่กรมสารนิเทศ” จากนั้นก็ได้คุยกันต่อในวงสนทนาพี่สุเมธ​จบคณะพาณิชย์ จากธรรมศาสตร์ จากนั้นไปเรียน MBA กลับมาทำงานบริษัทเชลล์ แล้วสอบเข้ากระทรวงต่างประเทศ ในปี พ.ศ. 2538 “ปีนั้นคนสอบกี่คนครับพี่แล้วเขารับกี่คน” ผมถามพี่สุเมธ เพราะอยากจะทราบตัวเลขของคนสอบและจำนวนผู้ที่จะรับเข้าทำงาน “ปีนั้นมีคนสอบ 4,000 คนครับ และทางกระทรวงฯ รับเข้าทำงานเพียง 55 คนเท่านั้น” “โหสุดยอดเลยครับพี่ เก่งมากๆ “ผมตอบพี่สุเมธด้วยความชื่นชมเพราะคนที่จะสอบเข้าได้ต้องเก่งจริงๆ
From Social Media กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ
แต่อย่างไรก็ตามตลอดระยะเวลา 17 ปีที่ผ่านมา ผมก็ได้พัฒนาตัวเองจากคนที่ีแทบจะไม่มีความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ฝึกฝนตัวเองอยู่ตลอดเวลา จนกระทั่งหลายเป็นที่ยอมรับในเรื่องของการสอนโซเซียลมีเดียเพื่อการประชาสัมพันธ์ และเรื่องโซเชียลมีเดียกับการศึกษา เขียนเล่าเรื่องของตัวเองครั้งนี้ด้วยความภูมิใจเล็ก ๆ ที่วันหนึ่งไม่ได้เป็นข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศ ในส่ิงที่ได้ตั้งเป้าหมายตอนปลายของวัยรุ่นและนักศึกษา แต่ผมไอเดียข้อเสนอของผมและองค์ความรู้ที่ผมได้บรรยายไปนั้นเชื่อว่าจะได้ถูกนำไปใช้เป็นส่วนหนึ่งของแผนการประชาสัมพันธ์ของกระทรวงต่างประเทศ ผมได้เล่าเรื่องนี้ให้กับพ่อและแม่ฟังก่อนไปจะสอนครับ และตอนนี้ผมอยากกลับไปวัดพระธาตุศรีจอมทองเล่าเรื่องนี้ให้หลวงปู่ทองฟังครับ ท่านคงจะภูมิใจในตัวผมบ้างไม่มากก็น้อย ว่าผมก็เป็นส่วนหนึ่งของกระทรวงการต่างประเทศแล้วครับ แม้ว่าจะใช้เวลายาวนานกว่าจะถึงฝั่งฝันเป็นระยะเวลาถึง 17 ปีครับ
From Social Media กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ
ีชีพธรรม คำวิเศษณ์ www.facebook.com/cheeptham333 www.twitter.com/tri333

ความคิดเห็น