Unseen History คนไทยสร้างเครื่องบินทิ้งระเบิดเมื่อ พ.ศ.2470 และ Social Media กองทัพอากาศ


ลงมือเขียนบล๊อคสักที หลังจากว่างเว้นมานานพอสมควรด้วยงานสอน Social Media ที่เดินสายเดือนพฤษภาคม 2556 ไปสอนมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต กลับมากรุงเทพ ก็ไปอบรมการค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตและโซเชียลมีเดียให้กับเบียร์สิงห์ รุ่งขึ้นก็ไปสอน social Media ให้กับกองทัพอากาศ​ ในอีกวันถัดมาไปสอนที่สถาบันการประชาสัมพันธ์ กรมประชาสัมพันธ์ ปิดท้ายการให้ความรู้เรื่องโซเชียลมีเดียประจำเดือนพฤษภาคม 2556 ที่โครงการ Social Media For SME ที่วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
From พิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ
เช้าวันอาทิตย์สบาย ๆ อย่างนี้ ผมอยากจะเขียนถึงความชอบและนำเสนอความเก่งของคนไทย ซึ่งประเทศไทยของเราเป็นประเทศที่เริ่มสร้างสรรค์อะไรใหม่ๆ ก่อนประเทศไทย แต่ภายหลังกลับกลายเป็นผู้ตาม ประวัติศาสตร์เป็นอย่างนั้นครับ ผมกำลังจะเขียนถึง หลายเรื่องให้รวมอยู่ในเรื่องเดียวคือ พิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ , เครื่องบินทิ้งระเบิด “บริพัตร” สร้างในปี 2470 และ Social Media กองทัพอากาศ เปิด iTunes Store ขึ้นมาเพื่อกำลังอยากจะได้เพลง Fly Me To The Moon มาทำเป็นมิวสิควีดีโอให้กับเครื่องบินบริพัตรและพิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศครับ เลือกอยู่ว่าไม่รู้จะเอาเวอร์ชั่นไหนดี เป็นบรรเลง หรือเอาเสียงนักร้องหญิงหรือนักร้องชายแฟรงค์ ซิเนตร้า ไว้ทำเสร็จแล้วจะแชร์ให้ชมกันนะครับ แต่ในที่สุดก็ใช้แอพ imovie สร้างมิวสิคออกมาในแบบสไตล์ของ CNN เพราะผมต้องการจะส่งไปที่เว็บไซค์ CNN iReport ให้ผู้คนทั่วโลกได้รู้จักกันด้วยครับ
From Social Media กองทัพอากาศ
จดหมายเชิญจากกองทัพอากาศชื่อหัวข้อ “การประยุกต์ใช้สื่อสังคมสมัยใหม่ สร้างเสริมศักยภาพการปฏิบัติการข่าวเชิงสร้างสรรค์กองทัพอากาศ” ด้วยความบังเอิญจริงๆ นาวาอากาศโทพงษ์ชาติ พันธ์ศรี เป็นเพื่อนรักกันมาตั้งแต่เป็นเกิด บ้านเราอยู่ห่างถัดกันไป 2 หลัง ในบ้านพักอาจารย์วิทยาลัยครูเชียงใหม่ ได้รับผิดชอบเป็นผู้บริหารโครงการด้วย ก็ด้วยความยินดีครับ ได้เจอเพื่อนเก่าด้วยและได้ไปบันแบ่งปันโซเชียลมีเดียด้วย นายทหารอากาศที่เข้าอบรมมาจากหลายหน่วยงานของกองบินทั่วประเทศจาก เช่นจากกองบิน2 จังหวัดลพบุรี, กองบิน46 จังหวัดพิษณุโลก, กรมการแพทย์ทหารอากาศ โรงพยาบาลภูมิพล, กรมกิจการพลเรือน ฯลฯ
From Social Media กองทัพอากาศ
ก่อนเริ่มต้นบรรยายผมได้เล่าให้นายทหารทุกท่านฟังว่า “ผมมีความหลังกับพิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ เพราะเป็นผู้ที่ชื่นชอบเรื่องการบินเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว วันที่ผมได้เข้ามาที่นี่เมื่อ 5 ปี ก่อนผมรู้สึกทึ่งว่า ทำไมคนไทยถึงสามารถสร้างเครื่องบินขับไล่และทิ้งระเบิดได้ 2 แบบ คือเครื่องบินประชาธิปกและเครื่องบินบริพัตร ในปี พ.ศ.2470 ผมเคยได้ยินมาว่า พระเวชยันรังสฤษดิ์ เป็นผู้ออกแบบใบพัดอยู่ข้้างหน้าเครื่องบินหมุนผลักเครื่องบินให้ไปข้้างหน้า ขณะเดียวกันก็สามารถยิงลูกกระสุนปืนออกมาโดยไม่โดยกับใบพัด เป็นไปได้อย่างไร และจากประสบการณ์ของผมที่ได้เดินทางไปเยี่ยมชมที่ Museum Of Flight โรงงานโบอิ้งที่รัฐวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา ผมพบว่าพิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศในประเทศไทยของเรา ก็ไม่ได้ด้วยเรื่องแสดงเครื่องบินเลย ถือว่าเป็นสถานที่ท่องเที่ยวระดับโลกที่อยากให้คนไทยและชาวต่างชาติมาเที่ยวกันเยอะ ๆ ครับ”
From Social Media กองทัพอากาศ
From Social Media กองทัพอากาศ
จากนั้นผมก็ได้บรรยายเรื่องโซเชียลมีเดียด้วยการสอนใช้ Twitter และสมาร์ทโฟนให้เกิดประโยชน์สูงสุดสอน ตั้งแต่ความหมายของโซเซียลมีเดีย, การวัดคะแนนโซเชียลมีเดีย , การใช้ Twitter ติดตามข่าวสารจากผู้สื่อข่าว , การติดตาม Twitter ของผู้สื่อข่าวเกือบ 800 คนมาอยู่บนสมาร์ทโฟน เพื่อติดตามข่าวสารบ้านเมือง คล้ายกับเป็นวิชาเสนาธิการกิจของโรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศ พร้อมกับให้ฝึกส่งข่าวสารและประชาสัมพันธ์กองทัพอากาศผ่าน twitter เพื่อไปยังกลุ่มเป้าหมาย ผมบอกกับนายทหารอากาศว่า “เราสามารถจะใช้ instagram ในการนำภาพเครื่องบินที่แสดงโชว์อยู่ในพิพิธภัณฑ์ประชาสัมพันธ์ออกไปในโซเชียลให้สังคมได้รับรู้สถานที่สำคัญและเรื่องราวการบินของประเทศชาติ”
From Social Media กองทัพอากาศ
ในการอบรมเกือบ 3 ชั่วโมงครั้งนี้ มีหลายเรื่องที่ค้างคาใจมาหลายปี ผมได้เสนอให้กับกองทัพอากาศจัดทำโครงการโรงเรียนการบินจำลอง ด้วยการให้นักบินที่ปลดประจำการของกองทัพอากาศได้ ไปสอนนักเรียนในต่างจังหวัดด้วยการใช้ซอฟต์แวร์ Flight Simulator เป็นซอฟต์แวร์ฝึกบินเสมือนจริงเพื่อให้นักเรียนเยาวชนของชาติได้สัมผัสการบินเหมือนกับสถานการณ์จริง ซึ่งจะเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาของชาติ และผมเองก็ยินดีที่จะไปร่วมการสอนด้วย จากประสบการณ์ในการสอนเด็กนักเรียนฝึกบินด้วยการบินจำลอง
From Social Media กองทัพอากาศ
หลังจากสอนเสร็จผมก็ได้ใช้เวลาเกือบ 2 ชั่วโมงในการเดินสำรวจพิพิธภัณฑ์ที่เพิ่งได้รับการบูรณะและจัดสร้างใหม่หลังจากที่กองทัพอากาศดอนเมืองโดยมหาอุทกภัยครั้งร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ตั้งแต่ก่อตั้งดอนเมืองมาเมื่อเกือบ 100 ปีที่ผ่านมา ผมขอเป็นไกด์พาเดินชมผ่านบล๊อคของผมเลยแล้วกันนะครับ พิพิธภัณฑ์มีหลายอาคาร ขอเริ่มจากอาคารหลักก่อนนะครับ อยู่หลังพระบรมราชานุสาวรีย์ล้นเกล้ารัชกาลที่ 5
From พิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ
เข้ามาที่ห้องโถงเห็นเครื่องบิน F-5 ลำใหญ่ เขียนข้้อความข้างล่างน่านฟ้าไทยไม่ให้ใครย่ำยี มีแผนที่กองบินตามจังหวัดต่างๆ ทั่วภูมิภาคของประเทศไทย เดินเข้ามาทางซ้ายมือจะเป็นการแสดงประวัติการบินของชาติไทยตั้งแต่มีชาวฝรั่งเศสนำเครื่องบินมาแสดงที่สนามม้าวังสระปทุมเมื่อ พ.ศ. 2454 จากนั้นก็มีประวัติศตวรรษการบิน 100 ปีของประเทศไทย
From พิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ
From พิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ
ถัดมาเป็นเครื่องบินจำลองยุคแรกของบุพการีกองทัพอากาศที่ได้ไปเรียนการบินที่ประเทศฝรั่งเศส ผมเดินผ่านมาถึงบอร์ดสายยงยศไหมสีแดง ทำให้นึกถึงหนังสือนิยายสายแดงของ ส.บุญเสนอที่เขียนมาตั้งแต่ ช่วงก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 และท่านเคยเป็นศิษย์การบิน ก่อนที่จะผันตัวเองมาเป็นนักประพันธ์ เดินมาเรื่อยยิ่งจะทำให้ภูมิใจกับอดีตซึ่งเราสามารถซ่อมและสร้างเครื่องบินได้เอง ซ่อมเอง สร้างเอง เป็นเครื่องบินที่สร้างจากไม้ มีไม้ประเภทต่าง ๆ ไม้โมก, ไม้ยมหอม, ไม้ตาเสือ ที่จัดแสดงให้ได้ชม
From พิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ
From พิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ
เดินถัดมาอีกเป็นการแสดงเครื่องบินที่ไปรบสมัยกรณีพิพาทอินโดจีน เป็นสงครามทางอากาศครั้งแรกของประเทศไทยในปี พ.ศ.2484 กับฝรั่งเศส ถัดมามีเครื่องบิน​Hawk III ซึ่งเหลืออยู่เพียงลำเดียวในโลกเท่านั้น เดินถัดมาอีกนิดจะมีการแสดงภาพสมัยญี่ปุ่นบินในสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่กองบิน 5 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ในวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2484 วีรกรรมในครั้งนั้น กองทัพอากาศสูญเสียวีรชนไป 39 คนสู้รบกับทหารญี่ปุ่น
From พิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ
From พิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ
From พิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ
From พิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ
ผมเดินเรื่อยมาอีกห้องโถงคราวนี้เป็นเครื่องบินยุคใหม่ครับ เป็นเครื่อง F-5A เครื่องแรกของโลก ปลดประจำการแล้วแสดงโชว์อยู่ พร้อมกับเครื่องบินกริพเพน ซึ่งกองทัพอากาศสวีเดนได้มอบให้ในฐานะที่กองทัพอากาศได้ซื้อเครื่องบินกริพเพนมาประจำฝูงบิน เดินข้ามาอีกอาคารเป็นอาคารหลังเก่ามีหลังคาแต่เป็นแบบโล่งแจ้ง เมื่อท่านเดินมาสายตาแรกมีเครื่องบินจองเรียงกัน 2 แถว ตรงข้ามกัน แต่มีเครื่องบินลำหนึ่งโดดเด่น จอดขวางอยู่ด้านในสุด นั่นคือเครื่องบินบริพัตร เป็นเครื่องบินแบบท้ิงระเบิด พันโทหลวงเวชยันรังสฤษดิ์ เป็นผุ้ออกแบบมี 2 ที่นั่ง ลงมือสร้างในวันที่ 5 เมษายน พ.ศ.2470 หรือเมื่อ 86 ปี มาแล้ว
From พิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ
From พิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ
ผมค่อยๆ เดินสำรวจไปรอบ ๆ เครื่องบิน เอามือไปจัดใบพัดซึ่งเป็นไม้ เอามือไปเคาะลำตัวเครื่องบิน เป็นอลูมิเนีย ปีกเป็น 2 ชั้น ผมย้อนรำลึกย้อนกลับไปในประวัติศาสตร์เพื่อดื่มด่ำความก้าวหน้าของประเทศไทยในยุคนั้น แล้วนึกในใจว่าเกิดอะไรขึ้นกับประเทศไทยถึงได้มีการหยุดพัฒนาความก้าวหน้าทางด้านการบินทั้งที่ควรจะก้าวล้ำนำกว่าประเทศอื่นไปแล้ว ล่าสุดผมเปิดนิตยสารต่างประเทศเห็นประเทศอินโดนีเซียเริ่มที่จะผลิตเครื่องบินออกมาจำหน่ายในเชิงพาณิชย์แล้วครับ เชื่อหรือไม่ครับว่าภารกิจของเครื่องบินบริพัตรเคยไปเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศอินเดียและเวียดนามมาแล้ว
From พิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ
เมื่อชมเครื่องบินบริพัตรแล้วอยากให้ค่อยๆ ชมลำอื่น ๆ ที่จอดอยู่ในห้องโถงเดียวกันนั้น มีอีกลำหนึ่งที่น่าสนใจ คือเครื่องบินแบบเบรเกต์ เป็นเครื่องบินขนส่งและทดลองคมนาคมทางอากาศครั้งแรกในปี พ.ศ. 2462 จากสนามบินดอนเมืองไปยังสนามบินเนินพลอยแหวนจังหวัดจันทบุรี
From พิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ
From พิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ
ทางด้านหลังของพิพิธภัณฑ์ยังมีการจัดแสดงเครื่องบินในที่โล่งแจ้งท้ังด้านหน้าและด้านหลัง มีโรงจัดแสดง เฮลิคอปเตอร์ในสมัยก่อน และห้องพิพิธภัณฑ์ที่ผมไปสอนนั้นมีการนำ Flight Simulator เครื่องฝึกบินจำลอง และเครื่องปรับสภาพอากาศ ในสมัยเมื่อเกือบ 60ปีที่แล้วมาจัดแสดงให้ชมด้วยครับ
From พิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ
ก่อนกลับผมมองเห็นเครื่องบิน Bearcat ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นเครื่องบินขับไล่ที่ทันสมัยที่สุดของกองทัพอากาศ ได้รับมอบจากกองทัพอากาศสหรัฐฯ ระหว่างปี 2490 เป็นต้นมา จอดนิ่งสนิทเป็นโบราณวัตถุอยู่ ผมบอกนายทหารอากาศท่านหนึ่งซึ่งเป็นนักบินด้วย เขาค่อนข้างจะกลัวเทคโนโลยีสมาร์ทโฟน 3 G ผมเองก็ไม่ทราบด้วยเห็นอันใด แล้วผมก็บอกกับเขาพร้อมกับชี้แล้วพูดว่า “ถ้าไม่อยากเป็นแบบเครื่องบินแบร์แคทลำนั้นก็รีบเรียนรู้ เรื่องสมาร์ทโฟน 3G และโซเชียลมีเดียนะครับ” ครับทุกอย่างก็เข้าสู่หลักไตรลักษณ์ที่ทุกอย่างต้องเปลี่ยนแปลงไป ครั้งหนึ่งเครื่องบินเหล่านี้เคยเป็นสุดยอดของกองทัพอากาศ มาวันนี้เป็นวัตถุโบราณให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้ พวกเรายังมีชีวิตกันอยุ่ ก็ต้องฝึกฝนตัวเองที่จะเรียนรู้กับโลกยุคใหม่ๆ กันครับ ผมเองเขียนแล้วก็ต้องทำให้ได้ด้วยฝึกใช้เทคโนโลยีเหมือนกับการออกกำลังกายทำให้ร่างกายสดชื่อ การศึกษาเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต สมาร์ทโฟน 3G ก็ทำให้เรารู้จักเท่าทันความเปลี่ยนแปลงของโลกด้วยครับ พิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศตั้งอยู่บนถนนพหลโยธินสายเก่า อยู่ด้านหลังกองทัพอากาศ มีเครื่องบินจดอยู่น่าจะเกือบร้อยลำเห็นจะได้นะครับ เปิดให้เข้าชมฟรีทุกวัน เว้นวันหยุดนขัตฤกษ์

 ชีพธรรม คำวิเศษณ์

ความคิดเห็น