จากประสบการณ์สอนโซเชียลมีเดีย เปรียบเทียบนักศึกษา พ.ศ. 2535 กับนักศึกษา พ.ศ.2556

 
 ภาพหมู่ร่วมกับนักศึกษา ม.ราชภัฏภูเก็ต

กว่าจะลงมือเขียนบทความนี้ลงบล๊อคก็ชักช้าอยู่นานมีแต่จินตนาการ ที่ยังไม่ได้ลงมือทำ เหมือนพวกอยากจะมีสุขภาพแข็งแรงแต่ไม่อยากจะออกกำลังตั้งท่าแล้วตั้งท่าอีก ซื้อกางเกง รองเท้า เสื้อผ้า ไม่ได้ออกซักทีเงื้อง่าราคาแพง ก็ได้เวลาลงมือเขียนบล๊อคสักที ปากบอกสอนนักศึกษาให้เขียน ๆ ๆ แล้วก็เขียน ด้วยความที่ใช้แต่น้ำลายถึงคราวตัวเองบ้างถ้าเป็นเครื่องยนต์ก็ฝืดเหมือนกัน (นิ)
 ลงท้ายแบบคำพูดคนภูเก็ต

 
 สมาร์ทโฟนชีวิตกับการศึกษาเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้

หลังจากอบรมโซเชียลมีเดียที่มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ตมา 10 วัน สิ่งที่อยากจะเขียนวันนี้ก็คือ การศึกษาของประเทศไทยที่ต้องเท่าทันกับความเปลี่ยนแปลงของโลก นักศึกษาเขาชอบใช้สื่อไหนอะไรก็ปรับตัวให้เข้ากับพวกเขาให้ได้ ไม่ใช่จะไปตำหนิพวกเขาอย่างเดียว ประสบการณ์ 10 วันนี้รู้เลยว่าเด็กยุคนี้ ไม่เหมือนกับยุคของพวกเราเมื่อ 20 ปีก่อน ลืมบอกไป นักศึกษาที่มาเรียนกับผม
อยู่ชั้นปีที่ 3 และ 4 ของการพัฒนาบุคลากรและการตลาด

 
 นักศึกษารุ่นใหม่เรียนรู้ได้ไวจริงๆ กับเทคโนโลยี

"ใครใช้โทรศัพท์มือถืออะไรบ้าง ยกให้อาจารย์ดูหน่อย" จากสายตาของผมยกบ้างไม่ยกบ้าง เขินอายกัน ตามสภาพเศรษฐกิจของแต่ละบุคคล แต่แล้วก็พบว่าเกือบทุกคนนั้นใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้เกือบทั้งหมด ยกเว้นคนหรือสองคนเท่านั้น ก็ไม่ได้มีปัญหาอะไร ในวันแรกผมสอนเรื่อง การวัดคะแนนโซเชียลมีเดีย Personal Branding ของแต่ละคน ให้ทดสอบส่งข่าวเข้า social TV ของช่อง9 เพื่อช่วยประชาสัมพันธ์ให้กับมหาวิทยาลัย วันที่สองใช้ Twitter , วันที่ 3 content marketing ฝึกเขียนบล๊อคใน blogger และ oknation , วันที่ 4 สร้าง Facebook Fanpage สำหรับเพื่อธุรกิจ หรือ Facebook Fanpage ที่แต่ละคนชอบ สิ่งในวันที่ ประทับใจนักศึกษาคนหนึ่งสร้างแฟนเพจ ธุรกิจรถตู้ให้เช่าท่องเที่ยว ปรากฏว่าเพียง 1 วันเท่านั้นเธอได้ลูกค้ามาว่างจ้างในราคา 5 พันบาท ซึ่งเป็นที่น่ายินดีอย่างยิ่ง

 
 นักศึกษาที่สร้างแฟนเพจรถเช่า ได้ลูกค้าภายใน 1 วัน


 สมัยที่ผมเรียนชั้นปี 3 ในปี พ.ศ. 2537 นั้นสิ่งเหล่านี้ไม่มีเลย ทั้งอินเทอร์เน็ต ,สมาร์ทโฟน, คอมพิวเตอร์ ทุกอย่างที่กล่าวมาได้สัมผัสหลังจบการศึกษาแล้วทั้งสิ้นในกลางปี 2539 เพราะฉะนั้นผมมีความเชื่อลึกว่า เด็กสมัยใหม่จะเก่งกว่าคนรุ่นผมอย่างแน่นอนในวัยที่เท่ากันเพียงแต่ต้องได้รับคำแนะนำที่ดี แล้วเขาเชื่อของผมก็ถูกเป็นอย่างนั้นจริงๆ ครับ ระหว่างที่ผมสอนหนังสือไปนั้น เช่นผมสอนเรื่องผู้ก่อตั้ง Facebook พวกเขาก็ค้นหาสิ่งที่ผมสอนใน google ไป ต่อยอดความรู้ไปอย่างรวดเร็วมาก ในการสอนของของผมได้สร้างสร้างการแข่งขันให้กับนักศึกษาที่เข้าอบรมได้สร้างสภาพการแข่งขัน ตั้งแต่การเขียนบล๊อคให้มีผู้เข้ามาอ่านมากที่สุด, การสร้าง Facebook Fanpage ให้คนเข้ามา กด Like หรือใน Fanpage ของแต่ละคนนั้น ภาพและข้อความของใครมีคนเข้ามากด Like มากที่สุดก็จะได้รับรางวัล ผมต้องการให้พวกเข้าได้เรียนรู้ว่าการแข่งขันบางอย่างนั้น การตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าและบริการเกิดจากลูกค้า ความต้องการของมหาชนบนโซเชียลมีเดีย ใครนำเสนอได้ดีกว่าคนนั้นก็จะประสบความสำเร็จ ทุกคนก็ให้การยอมรับและเข้าใจในกฏเกณฑ์เหล่านี้



 ผมขอชื่นชนนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ที่ได้ตั้งใจและผมได้เรียนรู้ว่าโลกสมัยนี้ นักศึกษาพร้อมที่จะเรียนรู้ เขามีเครื่องไม้เครื่องมือพร้อม เพียงแต่ต้องการโค้ชมาให้คำแนะนำ



ความภูมิใจที่ได้เรียนรู้ร่วมกับนักศึกษา

ชีพธรรม คำวิเศษณ์
Twitter : @tri333
www.twitter.com/tri333

Facebook: www.facebook.com/cheeptham333

ความคิดเห็น