Unseen 12 ปีสถานีโทรทัศน์เนชั่นแชนแนล ผู้กล้า ท้าทาย อึด อดทนและสร้างสรรค





From สถานีโทรทัศน์เนชั่นแชนแนลครบรอบ 12 ปี












 ศุกร์ 1 มิ.ย. 2555 เป็นวันครบรอบ 12 ปี สถานีโทรทัศน์เนชั่นแชนแนล ผมได้มีโอกาสไปร่วมทำบุญและ เขียนบทความลงในนิตยสาร Open Eye ของแมงโก้ทีวี  เกี่ยวกับเรื่อง Unseen และความท้าทายต่าง ๆ ของ สถานีโทรทัศน์เนชั่นแชนแนลมาเล่าสู่กันฟังเพื่อเป็นประโยชน์ต่อชีวิตและองค์กรธุรกิจครับ









1 มิ.ย. 2543 เป็นวันเริ่มต้นของสถานีโทรทั
ศน์เนชั่นแชนแนล ด้วยความมุ่งมั่นที่ต้องการจะสร้างสถานีโทรทัศน์ 24 ชั่วโมงของคนไทย สร้างการรับรู้เติมเต็มกับการรับรู้ข้อมูลข่าวสารรอบด้านให้มุมมองใหม่ ๆ  กับสังคม หลายท่านอาจจะยังไม่ทราบว่า กว่าจะมาถึง 12 ปี ของเนชั่นแชนแนล เกิดอะไรขึ้นกับช่องสถานีข่าวแห่งนี้และทำไมถึงสามารถที่จะยืนหยัดมาได้ทั้งที่เกือบจบต้องพังพาบเพราะสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่ทุกอย่างไม่เอื้อและตีบตันไม่หมด แต่ภายในความยากลำบากในการสร้างสรรค์
สถานีโทรทัศน์เนชั่นแชนแนลกลายเป็นผู้บุกเบิกในเรื่องใหม่ๆ จากบริษัทที่ขาดทุนมาตลอดเกือบ 10 ปี ต้องเลิกจ้างพนักงานนับร้อยคน วันนี้กลายเป็นบริษัท 600 ล้านในตลาดหลักทรัพย์ และเป็นโรงเรียนสร้างคนข่าวโทรทัศน์ที่มีนักข่าวและผู้ประกาศที่มีชื่อเสียงในประเทศไทยก็เกิดมาจากช่องสถานีข่าวแห่งนี้

    มาเร่ิ่มต้น  Unseen Nation Channel 12 ปี  หลังจากที่ทีมงานของเนชั่นจำเป็นต้องเลิกทำช่องไอทีวีก็กลับมาสร้างทัพเตรียมตั้งช่องสถานี ในยุคนั้นก็เริ่มรับผู้ประกาศเข้ามาเป็นทีมงาน และเริ่มดำเนินการในวันที่ 1 มิ.ย. 2543 ทางช่อง UBC 8  (ปัจจุบันคือทรู)  แต่ก็ต้องถือว่าเป็นสถานีโทรทัศน์เล็ก ๆ เพราะมีผู้ชมจำกัดที่ต้องเป็นสมาชิกของ UBC เท่านั้นถึงจะรับชมได้มีข้อจำกัดหลายประการ
เรียกว่าเริ่มต้นก็เป็นรองแล้วกับฟรีทีวีทุกประตู  อีกทั้งโฆษณาที่จะเป็นรายได้ของสถานีก็มีข้อจำกัดมากมายเหลือเกิน วันแรกอดีตนายกฯ ชวน หลีกภัย มาเปิดสถานี  วันรุ่งขึ้น โดยรับน้องทันที สื่อต่าง ๆ พากันประโคมข่าวว่าสถานีโทรทัศน์เนชั่นแชนแนลทำผิดกฏหมายเคเบิ้ลทีวี  ทางทีมงานเนชั่นแชนแนลก็ต้องแก้ปัญหา ด้วยการทำเป็น Filler ทำโฆษณาด้วยทำให้เป็นสารคดี  หลังจากได้รับความนิยมมาเกือบ 3  ปี รายการเก็บตกจากเนชั่น  คมชัดลึก  ได้รับความนิยมมาตลอด โดยเฉพาะรายการคมชัดลึก กลายมาเป็นชื่อหนังสือพิมพ์รายวัน คมชัดลึก  และในที่สุดวันสุดท้าย 30 เม.ย. 2546 เป็นวันสุดท้ายของการออกอากาศเพราะเหตุผล ทางการเมือง เรื่องมีอยู่ว่า สรยุทธ์​สุทัศนจินดา และกนก รัตน์วงศ์สกุล สัมภาษณ์​น.ต. ประสงค์ สุ่นศิริ   แล้วจอดับ  จะว่าด้วยเหตุผลทางการเมืองหรือหมดสัญญา 3   
ปี เป็นอันว่า เนชั่นแชนแนล ออกจาก UBC8 ไปหาช่องออกอากาศ ในที่สุดก็ไปได้ช่องไททีวี  แต่ก็มีข้อจำกัดจะต้องติดเสาและขอบเขตในการออกอากาศรับชมได้เพียงแค่กรุงเทพฯ และปริมณฑลเท่านั้น
ทางทีมงานต้องปรับตัวใหม่ การออกช่องใหม่เหมือนกับเคยข้างของในห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล ต้องมาขายของในตลาดนัด  ขวัญกำลังใจทีมงานแน่นอนก็ไม่เหมือนเดิม หลังจากนั้น สรยุทธ์ สุทัศนะจินดา ดาราของช่องก็ลาออกในช่วงที่เนชั่นแชนแนลยากลำบากที่สุดเพื่อไปเริ่มต้นชีวิตการทำงานใหม่จากนั้นก็มีหลายคนลาออกตามเช่นสู่ขวัญ วิวรกิจ ฯลฯ

    เนื้อหาของสถานีโทรทัศน์เนชั่นแชนแนลเป็นที่ต้องการรับชมของผู้ชมทั่วประเทศบางเคเบิ้ลท้องถิ่นเคยแอบลักลอบนำสัญญาไปออกอากาศ แต่ผู้บริหารก็ต้องทำเป็นไม่รู้ไม่เห็นเหมือนกันเพื่ออยากให้ประชาชนได้รับชมถึงแม้จะเป็นการผิดกฏหมาย
    มีคนเคยกล่าวว่าสถานีโทรทัศน์เนชั่นแชนแนลเปรียบเสมือนกับปลาวาฬใหญ่แต่ไม่มีทะเลให้ออก เวลานั้นทุกอย่างจำกัดไปหมด ดาวเทียมสำหรับช่องส่งสัญญาณก็ไม่มี  ทำอย่างไรที่จะทำให้ เนื้อหารายการออกไปสู่ผู้ชมให้ได้มากที่สุด ทางผู้บริหารก็ต้องเปิดเว็บไซค์เพื่อถ่ายทอดสด นำรายการออนไลน์แต่อินเทอร์เน็ตยุคนั้นก็ยังช้าอยู่ รับชมไม่ได้ ถึงแม้กระนั่นก็มีเคเบิ้ลท้องถิ่นบางแห่งก็นำภาพที่แตกละเอียดเล็ก ๆ  เพราะผ่านอินเทอร์เน็ตไปออกอากาศให้สมาชิกรับชม  ไม่เพียงแค่นั้น
เนชั่นแชนแนลได้ทำความร่วมมือกับเคเบิ้ลท้องถิ่น ด้วยการปั้มซีดี ส่งไปกับรถทัวร์และรถส่งหนังสือพิมพ์ ไปทั่วประเทศ ถึงแม้จะไปถึงช้าเคเบิ้ลท้องถิ่นก็ยังต้องการเนื้อหาไปให้ออกอากาศ
    ในขณะที่การติดเสาเพื่อให้ผู้ชมได้รับชมไททีวีก็ทำต่อไป  การเปลี่ยนสถานีออกอากาศทำให้กลุ่มลูกค้าของเนชั่นแชนแนลต้องเปลี่ยนแปลงจากที่เคยลงโฆษณาก็เปลี่ยนไม่ลงโฆษณา
ถึงแม้จะยากลำบาก แต่ด้วยความเป็นสถานีข่าวและรายการสาระคงไม่เปลี่ยนแปลงทุกอย่างพยายามทำให้ดีที่สุดภายในข้อจำกัด
   
    ในที่สุดก็ได้ทดสอบการออกอากาศผ่านดาวเทียมเป็นโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเป็น สถานีแรกของประเทศไทย เริ่มที่ดาวเทียม ST1, NNS6 , C Band , KU band  ได้รับความนิยมบ้าง ไม่ได้รับความนิยมบ้าง เพราะสถานการณ์เวลานั้น จานดาวเทียมยังมีราคาสูงอยู่  แต่ก็มีความพยายามที่จะทำให้เนื้อหาออกไปสู่ผู้ชมมาที่สุด ขณะเดียวกันก็พยายามที่จะหารายได้ส่วนอื่น ๆ มาเสริม เช่นทำซีดีรอมขาย , ส่งผู้ประกาศไปออกทีวีในช่องต่าง ๆ เพื่อแลกเปลี่ยนกับโฆษณาและสร้างแบรนด์ให้กับผู้ประกาศ
        แต่ในที่สุดก็ไม่สามารถทานทนกับค่าใช้จ่ายภาระที่เพิ่มขึ้นได้ทั้ง เงินเดือนพนักงาน ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเดินทาง ค่าออกอากาศเดือนละ 3 ล้านบาท ต้องปลดพนักงานครั้งใหญ   40 เปอร์เซ็นต์ของพนักงานที่มีอยู่ 300 กว่าคนใน ปี พ.ศ. 2548  หลังจากที่จัดงานครบรอบ 5 ปี
    หลังจากปรับโครงสร้างองค์กรทุกอย่างต้องประหยัด และต้องอยู่รอดให้ได้ ความลำบากและขาดทุนมีกระแสข่าวว่าบอร์ดของเนชั่นบริษัทแม่จะปิดสถานีโทรทัศน์เนชั่นแชนแนลเพื่อลดการขาดทุนขององค์กรต้องปิดโต๊ะภาษาอังกฤษ โต๊ะกีฬา โต๊ะศิลปวัฒนธรรม และหน่วยงานที่ต้องตัดค่าใช้จ่าย
    ด้วยความที่ทีมงานของผู้บริหารสถานีเนชั่นแชนแนล มาจากหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจที่ทำงานด้วยกันมาอย่างยาวนาน ได้ร่วมแรงร่วมใจต้องการจะพิสูจน์ให้ทุกคนให้เห็นว่าสถานีเนชั่นแชนแนลจะอยู่รอดได้โดยไม่มีการปิด

    กลยุทธ์เปิดหน้าสู่้ก็คือสร้างรายได้เพิ่มด้วยการส่งผู้ประกาศ ข่าวอย่าง สุทธิชัย หยุ่น , กนก รัตน์วงศ์สกุล , ธีระ ธัญญไพบูลย​, จอมขวัญ​หลาวเพ็ชร์  , วีณารัตน์ เลาหภคกุล และ ทีมโปรดิวเซอร์ กระจายไปอยู่ตามช่องและรายการต่าง ๆ อย่างเรื่องเด่นเย็นนี้ ทางช่อง 3 , สยามเช้านี้ ช่อง 5  , จมูกมด ช่อง7 ,  ข่าวค้นคนข่าว  ช่อง 9  และรายการอื่น ๆ  ทางฟรีทีวี และรายได้ตรงนี้ทำให้สถานการณ์ของสถานีโทรทัศน์เนชั่นแชนแนลกระเตื้องขึ้นมา แต่รายการต่าง ๆ ในช่องเนชั่นแชนแนลยังคงเข้มข้นเหมือนเดิม
    ระหว่างที่ส่งผู้ประกาศออกไปยังช่องฟรีทีวีต่าง ๆ  ทางสถานีโทรทัศน์เนชั่นก็ได้มีโอกาสยิงสัญญาณดาวเทียมขึ้นดาวเทียมไทยคม ทำให้สามารถรับชมได้ทั่วประเทศผ่านจานดาวเทียม
ทำให้ปลดปล่อยตัวเองกลายเป็นปลาวาฬออกสู่ทะเลใหญ่อีกครั้ง  ความยากลำบากต่าง ๆ เริ่มที่จะหมดลงไปบ้าง สภาพความมั่นคงเริ่มกลับมา
    การเลือกตั้ง  พ.ศ. 2548 สถานีโทรทัศน์เนชั่นแชนแนลได้เป็นแกนกลางในการรายงานผลการเลือกตั้งให้กับทีวีพูลรายงานผลการเลือกตั้งด้วยการใช้เทคโนโลยีผ่านโทรศัพท์มือถือใช้ทีมงานกว่า  2 หมื่นคน ฟรีทีวีทุกช่องนำข้อมูลไปออกอากาศ จะรายงานแบบไหนใช้กราฟฟิศอย่างไรแล้วแต่ช่อง แต่ข้อมูลมาจากที่เดียวกันหมดจากสถานีโทรทัศน์เนชั่นแชนแนล
    ปี พ.ศ. 2550 สถานีโทรทัศน์เนชั่นแชนแนลก็ได้สร้างทีมงานใหม่เพื่อทดแทนรุ่นเก่าๆ ที่ลาออกไปอยู่ช่องฟรีทีวีต่าง ๆ หรือลาออกไปสู่เพื่อสู่เส้นทางอาชีพใหม่จึงเป็นที่มา ของโครงการสานฝันผู้ประกาศ ก็มีรุ่นใหม่ๆ เข้ามาเสริมทัพได้แก่ นภพัฒน์จักร อัตตนันท์ , วรรณศิริ ศิริวรรณ, เทพกิจ ฉัตรสุริยาวงศ์, โมไนย เย็นบุตร ฯลฯ

     พ.ศ. 2551 หลังจากขาดทุนมาอย่างยาวนาน ก็เริ่มมีกำไรขึ้นด้วยรายได้จากฟรีทีวี
แต่ก็ยังต้องการเงินทุนเพื่อมาขยายกิจการซื้ออุปกรณ์ใหม่หลังจากที่ใช้มาอย่างยาวนานและประหยัดทุกอย่าง   จนเข้าสู่ยุค New Media ผู้สื่อข่าวทุกคนก็ต้องปรับตัวใหม่
    และในวันที่ 11 พ.ย. 2552  สถานีโทรทัศน์เนชั่นแชนแนลก็ปรับตัวเองเข้าไปจดทะเบียนในบริษัทตลาดหลักทรัพย์ภายใต้ชื่อ บริษัท เนชั่น บรอดแคสติ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ NBC
 จากบริษัทที่ขาดทุนมาเกือบตลอดและเริ่มมีกำไร พอเข้าไประดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ทำให้สถานีโทรทัศน์เนชั่นแชนแนล กลายเป็นบริษัทที่ไม่มีหนี้ และมียอดรับรู้รายได้ 600 ล้านบาท 

    ปี 2553  เป็นปีที่ครบรอบ 10  ปี สุทธิชัย หยุ่นได้ออกมาประกาศขอบคุณผู้ชมทางบ้าน
ที่ได้ให้การสนับสนุนและขอบคุณทีมงานของเนชั่นแชนแนลทุกคน และก็ยังย้ำว่า สถานีโทรทัศน์เนชั่นแชนแนลเป็นสมบัติของคนไทยทุกคนที่จะได้รับรู้ข่าวสารจะทุกมุมโลกที่มีผลกระทบต่อชีวิตของคนไทยทุกคน
     ในเดือนมิถุนายน 2555 เป็นบทพิสูจน์ทฤษฏีทางธุรกิจของโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมที่บุกเบิกมาอย่างอยากลำบากเป็นรองคู่แข่งในธุรกิจเดียวกันทุกรูปแบบ วันนี้เนชั่นแชนแนลก้าวมาไกลกว่าจะเดิมมา และความท้าทายยังคงมีอยู่ตลอดเวลา ขอบคุณทุกท่านที่สนับสนุนสถานีโทรทัศน์ 24 ชั่วโมงเนชั่นแชนแนลตลอดมาและตลอดไป  ที่กำลังจะเข้าสู่ยุคของ Social TV

ความคิดเห็น