รถไฟสายสงครามกลางเมือง ตอน 1 กำเนิดรถไฟสายสงครามกลางเมือง

รถไฟสายสงครามกลางเมือง ตอน 1
กำเนิดรถไฟสายสงครามกลางเมือง



อนุสาวรีย์เปิดการเดินรถไฟครั้งแรกของประเทศไทย


สถานีรถไฟหัวลำโพง เป็นศูนย์กลางรถไฟของประเทศไทย ผู้คนที่จะเดินทางไปเหนือ ใต้ ออก ตก
โดยทางรถไฟจะต้องมาขึ้นรถไฟซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการเดินทาง หัวลำโพงผ่านกาลเวลา
รับใช้ผู้คนรุ่นแล้ว รุ่นเล่า ภาพผู้คนสัญจรเดินเข้าเดินออกก็เป็นภาพที่ชินตา ไม่เคยเปลี่ยนแปลง

ผู้โดยสารที่จะเดินทางไปสายเหนือปลายทางจะไปสิ้นสุดที่ จังหวัดเชียงใหม่ ภาคใต้ลงไปถึงปาดังเบซาร์
แต่มีเส้นทางแยกออกไปทางอำเภอกันตัง จังหวัดตรัง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีสองเส้นทางเช่นเดียวกัน คืออีสานเหนือ
ไปสิ้นสุดที่จังหวัดหนองคาย อีกเส้นทางหนึ่งไปสิ้นสุดที่อำเภอวารินชำราบ จ.อุบลราชธานี
สายตะวันตกไปสิ้นสุดที่จังหวัดกาญจนบุรี สายภาคตะวันออกไปถึงอรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว

ผู้คนจากทั่วประเทศมุ่งมายังหัวลำโพงจุดหมายเดียวกันแต่เป้าหมายแตกต่างกัน ประชาชนไทยยังคง
ต้องอาศัยรถไฟเป็นเส้นทางหลักหัวใจของคนทั่วทั้งประเทศ หัวรถจักรที่เก่าแทบจะหมดสภาพก็ต้องถูกนำมาซ่อมใช้แล้วใช้อีก
อาจเป็นความเก่งของช่างรถไฟไทยที่สามารถซ่อมรถไฟที่หมดอายุการใช้งานแล้ว ให้ยังคงสภาพไปเรื่อยๆ

ชานชลารถไฟหัวลำโพงเดินผ่านเข้ามา กลิ่นน้ำมันดีเซลคลุ้ง ปนกับควันผู้คนต่างนั่งรออยู่บนรถไฟ
ผู้โดยสารต่างเริ่งฝีเท้าเดินไปหาขบวนที่กำลังจะโดยสารไปยังจุดหมายปลายทาง จะมีใครสักกี่คนที่ทราบว่า
ปลายสุดของชานชลาทางซ้ายมือนั้นจะมีอนุสาวรีย์แห่งการก่อตั้งรถไฟไทย
ตั้งอยู่ตรงหน้าหัวรถจักรไอน้ำที่จอดเคียงคู่ถึงความเก่าแก่ของรถไฟไทย
สถานที่ตรวงนั้นเป็นจุดต้นกำเนิดของการรถไฟในประเทศไทย เมื่อวันที่ 26 มี.ค. 2439
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพร้อมกับพระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ ชาวต่างประเทศ และประชาชน
ได้มาร่วมพิธีเปิดเส้นทางการเดินรถไฟระหว่างหัวลำโพงไปยังสถานีจังหวัดอยุธยา
ระยะทาง 71 ก.ม. โดยมีพระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากรกรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธินเป็นผู้บัญชาการรถไฟในครั้งนั้น


เส้นทางรถไฟก่อนถึงบางปะอิน

หลังจากที่ในหลวง ร.5 เสด็จเปิดเส้นทางรถไฟอย่างเป็นทางการแล้ว ก็ได้เสด็จพระราชดำเนินโดยรถไฟไปยังพระราชวังบางปะอิน
ขบวนรถไฟเที่ยวนั้นผ่านเส้นทาง ยมราช
สวนจิตรลดา สามเสน บางซื่อ บางเขน หลักสี่ ดอนเมือง รังสิต เชียงราก ไปถึงสถานีบางปะอิน
หลังจากไปถึงก็ได้เสด็จเข้าไปประทับที่พลับพลา ซึ่งได้สร้างเพื่อต้อนรับการเสด็จพระราชดำเนินมา
ทุกวันนี้พลับพลาที่ประทับแห่งนั้นก็ยังคงอยู่สวยเด่นเป็นสง่า ถ้าหากรถไฟขึ้นสู่ภาคเหนือก็จะอยู่ทางซ้ายมือ
ถ้าหากรถไฟวิ่งเข้ากรุงเทพ สถานีก็จะอยู่ทางขวามือ
รถไฟบางขบวนอาจจะไม่จอดเหมือนกับรถไฟชานเมือง


สถานีรถไฟบางปะอิน

ในเย็นวันเดียวกันนั้นเองในหลวง ร.5 ก็เสด็จพระราชดำเนินกลับพระราชวังดุสิต ขบวนรถไฟในวันนั้น
ผู้โดยสายทุกคนไม่มีใครหยั่งรู้เลยว่า เส้นทางรถไฟสายนี้จะเป็นเส้นทางรถไฟสายสงครามการเมืองครั้งแรกที่คนไทยต้องมาฆ่ากันเอง
เพื่อยิงชิงอำนาจทางการเมืองระหว่างกลุ่มอำนาจเก่าและอำนาจใหม่
รถไฟสายนี้ ได้นำปรีดี พนมยงค์ ผู้ก่อการอภิวัฒน์เข้ามาสู่กรุงเทพ ได้เป็นเส้นทางของผู้ก่อการคณะราษฏร 2475
เดินทางไปค่ายโคกกระเทียม ลพบุรี


พลับพลาที่ประทับในหลวง ร.5 สถานีรถไฟบางปะอิน

รถไฟสายนี้นำพานายทหารกบฏทั้งหลายเดินทางและเรื่องราวต่างๆ อีกมากมาย
ที่สงครามการเมืองครั้งนั้นที่ส่งผลกระทบมาถึงปัจจุบัน รถไฟสายสงครามกลางเมืองครั้งนั้นคือ
กบฏบวรเดช 2476 ตัวละครในครั้งได้ได้จบสิ้นไปแล้ว แต่ลูกหลานคงเขาเหล่านั้นก็ยังคงโลดเล่นอยู่ในการเมือง
พร้อมที่จะแย่งชิงยื้ออำนาจทางการเมืองกันอยู่




ชีพธรรม คำวิเศษณ์
www.twitter.com/tri333

ความคิดเห็น