Everyone Can Study @Harvard Business School ตอน4 ประวัติโรงเรียนบริหารธุรกิจฮาร์วาร์ดและศิษย์เก่าชาวไทย


ห้องสมุด Baker ของ HBS


Harvard Business School (HBS) เพิ่งจะครบรอบ 100 ปี เมื่อปี 2008 เป็นปีเดียวกับที่ผมไปเยือนและลงมือเขียนหนังสือเล่มนี้ครับ ผมมีโอกาสพบกับหนึ่งในศิษย์เก่าของ HBS ในงาน Social Enterprise ที่จัดขึ้นโดย Columbia University ในปลายเดือนกันยายน 2551 เขาผู้นั้นคือ Jeff Immelt ประธานผู้บริหารของ GE ซึ่งในงานนั้นเขาไปรับรางวัลผู้บริหารดีเด่น ในงานนั้นผมโชคดีกว่าพวกอเมริกันหลายคนได้มีโอกาสถ่ายรูปจับมือกับเขา
พวกนักศึกษา MBA ม.โคลัมเบีย พากันอิจฉาผมหลายคนครับ นี่คือ CEO ที่บริษัทกว่าแสนล้านดอลล่าร์สหรัฐ




โรงเรียนบริหารธุรกิจ Harvard ตั้งอยู่ในเมืองบอสตัน รัฐแมสซาชูเสส อยู่ห่างจากใจกลางมหานคร
นิวยอร์คไปทางเหนือ ถ้าขับรถก็ประมาณ 4 ชั่วโมงครับ ถ้าเรามองดูแผนที่สหรัฐฯและเปรียบเทียบกับแผนที่ของประเทศไทยแล้วก็คือประมาณจังหวัดนครพนมครับ คล้าย ๆ กับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
HBS ก็เหมือนโรงเรียนบริหารธุรกิจหลายแห่งในสหรัฐฯ และ ในประเทศไทยของเรา มีประวัติศาสตร์และความเป็นมา สาเหตุที่ HBS มีชื่อเสียงและโด่งดังนั่นก็คือระบบการเรียน แบบ Case Method คือใช้กรณีศึกษาของธุรกิจที่เป็นของจริง ไปใช้สอนในห้องเรียนเปรียบเสมือนกับผู้เรียนเป็นผู้บริหารของบริษัทนั้นและมีการถกเถียงโต้แย้งเพื่อแก้ไขปัญหานั้น ในวิชาต่าง ๆ และ อีกประการหนึ่งก็คือศิษย์เก่าผู้มีชื่อเสียงในวงการธุรกิจและการเมือง อีกในหนึ่งการเมืองภาษอังกฤษใช้คำว่า
Public Service การบริหารสังคมและการบริหารสาธารณะ เราจะไปดูประวัติศาสตร์ของการต่อตั้ง HBS ในเหตุการณ์สำคัญต่าง และ ท่านผู้อ่านสามารถเข้าไปชมเว็บไซค์ครบรอบ 100 ปีของ HBS ได้ซึ่งมีเนื้อหาสาระน่าสนใจมาก
http://www.hbs.edu/centennial
และ
http://institutionalmemory.hbs.edu
เป็นประวัติของ HBS ในแต่ละช่วงตั้งแต่การก่อตั้งในปี 1908 (พ.ศ. 2451)
คณะบริหารธุรกิจในสถาบันการศึกษาของบ้านเราลองนำรูปแบบไปเว็บไซค์และกิจกรรมครบรอบไปประยุกต์ใช้กับคณะเพื่อเป็นประโยชน์ความรู้ทางวิชาการกับชุมชนและประเทศไทยของเราครับ
ความจริงแล้ว HBS ไม่ใช่โรงเรียนบริหารธุรกิจแห่งแรกของสหรัฐฯ ครับ Wharton School of the University of Pennsylvania ก่อตั้งในปี 1881 (พ.ศ. 2424) เรียกว่าก่อตั้งก่อน HBS ถึง 27 ปี
ประวัติของ HBS ผมได้รวบรวมจาก หลายแห่งทั้งในส่วนของผู้บริหาร HBS มอบให้และจาก wikipedia



HBS ขณะกำลังก่อสร้าง


- 1908 HBS เริ่มก่อตั้งขึ้นวันที่ 1 ต.ค. โดยมีนักเรียน 47 คน โดยมี Edwin Gay เป็นคณบดีคนแรก
- 1915 วิชา Social Factors in Business Enterprise ถูกบรรจุเป็นวิชาเลือก ใน MBA
- 1922 หลักสูตรปริญญาเอกทางธุรกิจเริ่มก่อตั้งขึ้น
- 1922 นิตยสาร Harvard Business Review เริ่มพิมพ์เผยแพร่
- 1924 ระบบการสอนแบบ Case Method เริ่มนำเข้ามาใช้


1924 Gerge Baker นายธนาคาร First National Bank of New York บริจาคเงิน 5 ล้านเหรียญ เพื่อสร้างห้องสมุดและแคมปัสใหม่ในฝั่งบอสตัน

- 1943-1945 HBS ได้หยุดการเรียนการสอนเนื่องจากปัญหาสงครามโลกครั้งที่ 2
- 1947 วิชา Management of Small Enterprise เป็นวิชาเลือกเนื่องจากความต้องการสร้างธุรกิจใหม่ของนักศึกษา HBS มีมากขึ้น
- 1964 คอมพิวเตอร์เครื่องแรกถูกติดตั้งที่ HBS
- 2000 George W. Bush ศิษย์เก่า MBA ปี 1975 ได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีของสหรัฐฯ
- 2005 Jay O. Light ได้รับเลือกเป็นคณบดีคนปัจจุบัน






ศิษย์เก่า HBS จากเมืองไทย


หนังสือ นักเรียนฮาร์วาร์ด

ก่อนหน้าที่ผมจะเขียนหนังสือเล่มนี้ ได้มีโอกาสอ่านหนังสือ “นักเรียนฮาร์วาร์ด” ซึ่งแต่งโดย ดร.วิชิตวงศ์ ณ ป้อมเพชร เป็นศิษย์เก่า มหาวิทยาลัยฮาร์ดวาร์ด ทางด้านเศรษฐศาสตร์ ท่านได้แต่งหนังสือเล่มนี้ขึ้นมาในปี 2543
ทำให้ผมค้นคว้าเพิ่มเติม และได้มีโอกาสไปพบกับ ดร.วิชิตวงศ์ ด้วยตนเองครับ
ภายในหนังสือเล่มนี้หน้า 71 – 72 เขียนไว้ว่า
คนไทยคนแรกที่คว้าปริญญา MBA จากฮาร์วาร์ดคนแรกของประเทศไทยก็คือ คุณไกรศรี นิมมานเหมินทร์
ชาว บิดาของคุณธารินทร์ นิมมานเหมินทร์ อดีตผู้บริหารธนาคารไทยพาณิชย์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ได้ศึกษาระหว่างปี 1936-1938 หรือ พ.ศ. 2481
หลังจากได้ข้อมูลนี้ผมก็นึกขึ้นมาได้ ทำให้ผมรู้สึกทึ่งมากสำหรับคนจากเมืองเหนือที่ไปเรียน
เมืองนอกซึ่งการเดินทางและการเรียนสมัยก่อนไม่ใช่เดินทางง่ายแบบนี้ ทำให้ผมอยากค้นคว้าเพิ่มเติมไปอีก
ความจริงแล้วผมเคยไปพบคุณไกรศรี หรือ อ.ไกรศรี ซึ่งท่านเป็นชาวจังหวัดเชียงใหม่เช่นเดียวกันผม ผมเคยไปเยี่ยมท่านตอนที่ท่านไม่สบายและยังถึงแก่กรรมในปี 2533 ก็เกือบ 20 ปีมาแล้ว
กับพระเทพสิทธาจารย์ (หลวงปู่ทอง สิริมังคโล) โดยหลวงปู่ได้เชิญ อ.ไกรศรี เป็นประธานผู้สร้างพระไตรปิฏก ฝ่ายฆราวาส ผมยังจำได้ดีถึงเหตุการณ์วันนั้น ไม่น่าเชื่อว่าผมจะได้มาเขียนเรื่องของท่านลงในหนังสือเล่มนี้
วันนั้นผมขับรถตู้ไปที่บ้านริมน้ำปิง แถวฟ้าฮ่าม จ.เชียงใหม่ บ้านหลังนั้นใหญ่มาก
ชายผู้สูงอายุรูปร่างเล็ก ได้นิมนต์พระมหาเถระเข้าไปในบ้าน
ท่านไม่ค่อยสบาย พระมหาเถระ กับนักปราชญ์ชาวเชียงใหม่ ผู้ผ่านทั้งทางการศึกษาในธุรกิจระดับโลกมาแล้ว
ได้กราบคารวะและสนทนาธรรม



อ.ไกรศรี นิมมานเหมินทร์

ผมก็ค่อย ๆ ลำดับเหตุการณ์ว่าบ้านหลังนั้นอยู่ตรงไหนที่ผมไปเยี่ยมท่าน ผมก็ได้มีโอกาสขับรถไปและได้ข้อมูลใช้เวลาประมาณ 4 เดือนถึงได้มีโอกาสพูดคุยและสัมภาษณ์ ท่านธารินทร์ นิมมานเหมินทร์
“คุณป๋าจบมัธยมจากโรงเรียนอัสสัมชัญ ไปเรียนที่ โรงเรียนบริหารธุรกิจวาร์ตัน ที่ฟิลาเดลเฟีย เมื่อจบแล้วก็ไปเรียนที่ HBS ต่อเลย หลังจากจบการศึกษากลับมาก็ได้เข้าร่วมก่อตั้ง คณะพาณิชศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และทำงานธนาคารไทยพาณิชย์ จากนั้นย้ายกลับไปอยู่ที่ จ.เชียงใหม่ ในบั้นปลายชีวิตศึกษา
ค้นคว้าเกี่ยวกับ วัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ของล้านนานไทย” คุณธารินท์เล่าให้ฟังคุณป๋าซึ่งเป็นสรรพนามที่ใช้เรียกแทนคุณพ่อ ท่านธารินทร์เล่าให้ฟังต่อไปว่าท่านเองก็เป็นนักเรียนฮาร์วาร์ดแต่เรียนทางด้านรัฐศาสตร์ในระดับชั้นปริญญาตรี จากนั้นไปเรียน MBA ที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด



ท่านธารินทร์ นิมมานเหมินทร์ ลูกชาย อ.ไกรศรี กับผู้เขียน


ศิษย์เก่า HBS ที่เป็นคนไทยที่ไปร่ำเรียนที่นั่นจากข้อมูลที่พอหาได้นะครับ จากอินเทอร์เน็ต และ Wikipedia
เพิ่มเติมมีศิษย์เก่าที่จบจาก HBS ทั้งคนไทยและต่างประเทศดังต่อไปนี้ครับ
ชุมพล ณ ลำเลียง อดีต CEO ปูนซีเมนต์ไทย,
คุณบัณฑูร ล่ำซำ , ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ทั้งสองเป็นผู้บริหารระดับสูงธนาคารกสิกรไทย สำหรับ
ดร.ประสาร เป็นคนไทยคนแรกที่จบด๊อกเตอร์ จาก HBS


อ.ไกรศรี คนที่ 2 แถว 2 จากซ้าย


หันไปดู CEO ระดับโลกที่เป็นศิษย์เก่า ของ HBS กันบ้างครับ ขอเริ่มจากคนที่ทำให้ HBS มีชื่อเสียงด้านลบที่สุดในประวัติศาสตร์คือ
- George Bush อดีตประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนที่ 43
- Michael Bloomberg นายกเทศมนตรีเมืองนิวยอร์ค เพิ่งได้รับการเลือกตั้งอีกสมัย
- Jeff Skilling อดีต CEO บริษัท Enron ตอนนี้ติดคุก 24 ปี ฉ้อโกงประชาชน

- Scott Cook ผู้ก่อตั้งบริษัท Intuit บริษัทซอฟต์แวร์ทางบัญชีและการเงิน Quicken มีชื่อเสียงมากในสหรัฐฯ
- Jeff Immelt ประธานผู้บริหารบริษัท GE
- Jamie Dimon ประธานผู้บริหาร JP Morgan Chase
- Timothy Draper ผู้บริหารกองทุน Venture Capital ลงทุนใน Hotmail และ Skype
- John Doerr ผู้บริหาร กองทุน VC ลงทุนใน Google , Amazon.com
- Bruce Henderson ผู้ก่อตั้งบริษัทที่ปรึกษา Boston Consulting Group
- A.G. Lafley ประธานผู้บริหารบริษัท P&G
- Stan O'neal ประธานผู้บริหาร บริษัท Merrill Lynch
- Michale Porter อาจารย์ผู้มีชื่อเสียงด้านกลยุทธ์
- Suzy Welch อดีตบรรณาธิการนิตยสาร Harvard Business Review ปัจจุบันเป็นคอลัมนิสต์ Business Week และเป็นภรรยาของ แจ๊ค เวลซ์ อดีด CEO บริษัท GE
- Meg Whit man อดีต CEO บริษัท eBay

ศิษย์เก่าจาก HBS ออกไปสร้างชื่อเสียงกันทั่วโลก ก็คล้าย ๆ กับศิษย์เก่าของสถาบันการศึกษาในประเทศไทย
ทำให้เด็กรุ่นหลังอยากจะเข้าไปเรียนหนังสือที่สถาบันแห่งนั้นครับ


HBS เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนก็จริงครับ แต่ว่าแนวคิดจะต่างจากบ้านเรา
มหาวิทยาลัยในเอกชนในบ้านเรา จะเป็นของตระกูลที่ร่ำรวย แต่ของสหรัฐฯ
ชื่อว่าเอกชนแต่เป็นองค์กรไม่แสวงหากำไร ค่าเทอมที่เก็บมาจะไปเป็นค่าใช้จ่ายและทุนการศึกษาให้กับนักเรียน
แต่เชื่อไหมครับว่า สิ่งที่ทำเงินให้กับโรงเรียนบริหารคือการขาย Case Study ให้กับสถาบันการศึกษาทั่วโลกครับ

ข้อมูลปัจจุบันที่น่าสนใจจาก Annual Report ประจำปี 2008 (www.hbs.edu/annualreport)
- รายได้ 451 ล้านเหรียญสหรัฐ
- ใบสมัคร 8,661 ใบจากทั่วโลก
- พนักงาน 1,146 คน
- รายได้จากการขาย case จำนวน 8,240,000 ล้านเหรียญ (รายได้มากที่สุดจากสื่อสิ่งพิมพ์)
- รายได้จาก Harvard Business Press Book จำนวน 2,025,000 ล้านเหรียญ




โรงเรียนบริหารธุรกิจฮาร์วาร์ดในปัจจุบัน










ความคิดเห็น