ในหลวง ร.7 เสด็จศาลาไทยประเทศเยอรมันหลังสละราชสมบัติ


ศาลาไทยบาด์ฮวมบอร์วก

ศาลาไทยเยอรมันที่บ่อน้ำร้อน บาดฮวมบอร์วก อยู่ไม่ไกลจากเมืองแฟรงเฟริ์ต ประเทศเยอรมันประมาณ 30 นาที สถานที่แห่งนี้เป็นสถานที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จมารักษาพระองค์ที่เมืองบ่อน้ำร้อนแห่งนี้ในการประพาสยุโรปครั้งที่ 2 เมื่อ พ.ศ. 2450 ถ้าท่านผู้อ่านเคยเห็นภาพสมัยเก่า
จะเห็นมีพระองค์ท่านถ่ายรูปกับพระโอรสเช่น สมเด็จพระราชบิดา , ในหลวง ร.7 ขณะนั้นพระชันษาประมาณ 15-16 ชันษา
เมื่อพระองค์เสด็จกลับเมืองไทยมีพระดำริให้สร้างศาลาไทยเป็นที่ระลึกในการเสด็จประพาสครั้งนั้น และเป็นเครื่องยันยืนถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับประเทศเยอรมัน


ผมมีโอกาสได้เดินทางไปที่ศาลาไทยแห่งนี้ ร่วมกับท่านอาจารย์ทอง สิริมังคโล แห่งวัดพระธาตุศรีจอมทอง อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ ซึ่งหลวงปู่ได้ไปสร้างวัดพุทธเบญจพล เวลานั้นท่านได้ไปสอนวิปัสสนากรรมฐานให้กับชาวเยอรมัน และระหว่างกลับจากฉันเพล หลวงปู่กับคณะได้เดินทางไปแผ่กุศลให้กับในหลวง ร.5 ในฐานะลูกศิษย์ผมก็ได้มีโอกาสเดินทางไปด้วย
หลวงปู่ได้ยืนอยู่หน้าพระบรมฉายาลักษณ์ของล้นเกล้า ร.5 และได้ยืนสงบประมาณ 2 นาที

ศาลาไทยแห่งนี้มาสร้างเสร็จในสมัย ในหลวง ร. 6 บริเวณด้านบนของศาลา มีแผ่นป้ายโละจารึกไว้ว่า พระบรมวงศานุวงศ์ท่านใดเสด็จมาบ้าง
ก็ได้เห็นป้ายโลหะสลักว่าประชาธิปก รำไพพรรณี กรกฏาคม 2477 , July 1934 ก็เลยทำให้ผมเลยทราบว่าหลังจากที่พระองค์ท่าน
เสด็จสละราชสมบัติ แล้วก็ได้เดินทางออกจากประเทศไทยเพื่อไปพำนักที่ประเทศอังกฤษ
และสิ้นพระชนม์ที่นั่น ประวัติศาสตร์ที่เยอรมันได้เล่าเรื่องให้เราเห็นว่า พระองค์ท่านได้มาที่เยอรมัน เพื่อรำลึกถึงชีวิตในวัยเยาว์ของพระองค์และเสด็จพ่อ
ก็ที่จะมีการอภิวัฒน์ 25 ปี และย้อนหลังไปเกือบ 27 ปีที่แล้วที่พระองค์เสด็จมาที่นี่พร้อมกับพระญาติและเพื่อนสนิทนักเรียนไทยที่พำนักศึกษาอยู่ในยุโรป
ในช่วงเวลานั้น หลังจากที่ทั้งสองพระองค์เสด็จที่เยอรมันแล้วก็ไปประทับที่ประเทศอังกฤษ นอกจากป้ายสลักแล้วก็ยังมีป้ายสลักของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินี เสด็จสถานที่แห่งนี้ 28 ก.ค. 2503 เมื่อ 50 ปีที่ผ่านมา

สิ่งที่ผมได้รับเมื่อมาถึงศาลาแห่งนี้ทำให้นึกถึงคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าถึง ไตรลักษณ์ 3 ประการ อนิจจัง ทุกขัง และ อนัตตา
ร่วมถึง โลกธรรม 8 ซึ่งทุกคนที่เกิดมาบนโลกนี้ไม่สามารถทานทนต่อความเปลี่ยนแปลงของโลกได้

ปัจจุบันศาลาไทยแห่งนี้ยังคงตั้งตระหง่าน อยู่ในสวนสาธารณะ ให้ชาวเยอรมัน และ คนไทยที่อยู่ที่นั่น ได้เห็นเป็นเครื่องบำบัดในคราวที่คิดถึงบ้านเกิด
ท่านใดที่ผ่านไปทางแฟรงเฟริ์ตก็ขอเชิญชวนไปเที่ยวศาลาไทยแห่งนี้กันครับ


ป้ายสลักบอกถึง ในหลวง ร.7 เสด็จมาที่นี่




ในหลวง ร. 9 และพระราชินี เสด็จที่นี่เช่นกัน




ป้ายพระบรมฉายาลักษณ์ของ ในหลวง ร. 5


อีกมุมของศาลาไทย



ป้ายโละสลักมองจากด้านในของศาลา




ชาวเยอรมันมักจะมาเดินเล่นใกล้กับบริเวณของศาลา






มองจากด้านนอกเข้าไปอยู่ท่ามกลางต้นไม้ใหญ่


ผู้เขียนกับศาลาไทย




พระบรมฉายาลักษณ์ของ ในหลวง ร.5 อยู่ด้านนี้ครับ




ผู้เขียนรำลึกถึงในหลวง ร.5



ชาวต่างชาติให้ความสนใจกับศาลาไทย








ความคิดเห็น