เบื้องหลัง รถจักรไอน้ำ (รฟท) คืนชีพ เขาขับกันอย่างไร มาชมกันแบบเจาะลึก

รถจักรไอน้ำเคยขึ้นกันบ้างไหมครับ ผมเชื่อว่าหลายท่านคงเคยเห็นอยู่ตามสถานีรถไฟ เช่น เชียงใหม่ ,ลำปาง, ลพบุรี , อุบลราชธานี , ชุมทางบ้านภาชี
หัวลำโพง ไปทางใต้ที่ผมเคยเห็นที่ สถานีรถไฟหัวหิน และที่ไม่เคยเห็นแต่อ่านจากเว็บก็คือสถานีชุมทางเขาชุมทอง

รถจักรไอน้ำที่เคยวิ่งรับใช้คนไทยตอนนี้ไม่มีให้บริการแล้ว เหลืออยู่เพียง5 คันในประเทศไทยเท่านั้น จะวิ่งเฉพาะในงานสำคัญ ๆ เท่านั้น
ภายใน youtube นี้เป็นรถจักรไอน้ำ ขบวนพิเศษ​ หัวลำโพง- อยุธยา เมื่อวันที่ 23 ต.ค. 53 เป็นวันคล้ายวันสวรรคต ของรัชกาลที่5 ครบรอบ 100 ปี

เมื่อผมได้มีโอกาสไปอยู่แบบใกล้ชิดคืออยู่ข้างหลังพนักงานขับรถ และ ช่างไฟ เปรียบเสมือนกับนั่งใน ห้องนักบินขอเปรียบเทียบอย่างนั้นไปเลย สำหรับผมแล้วการเข้าไปในห้องนักบินยังง่ายกว่าเข้าไปอยู่หลังหัวรถจักรไอน้ำ เพราะว่าไม่บ่อยครั้งที่จะเอามาวิ่ง

การขับเคลื่อนของรถจักรไอน้ำ จะมี พนักงานขับรถ 1 คน คอยบังคับเดินหน้าถอยหลัง เบรค การขับเคลื่อนต่าง ในส่วนของการบังคับ และที่นั่งขนานคู่กันในวีดีโอที่ท่านชมอยู่นั้น เขาเรียกว่าตำแหน่งช่างไฟ
มีหน้าที่คอยปรับแต่งไฟและไอน้ำ เป็นศิลปะอย่างหนึ่งในการผสมไอน้ำ และไอน้ำนี้จะทำให้รถวิ่งได้
พนักงานขับรถก็จะใช้ไอน้ำนี้ทั้งขับเคลื่อนรถและเบรค ทั้งสองคนจะต้องทำงานประสานสอดคล้องกัน

สำหรับหัวรถจักรไอน้ำรุ่นคุณแม่ หมายเลข 824 สร้างในประเทศญี่ปุ่น เริ่มเข้าประจำการในประเทศไทย พ.ศ.2492 ขอเชิญไปนั่งอยู่ข้างหลังคนขับรถไฟขบวนประวัติศาสตร์นี้ได้เลยครับ






youtube รถจักรไอน้ำกำลังเคลื่อนออกจากหัวลำโพงผ่านคลองแสนแสบ

ความคิดเห็น