ย้อนหลังประวัติศาสตร์การศึกษาและ ครบรอบ 85 ปี แห่งการสวรรคตของ ร.6

ย้อนหลังไปวันที่ 25 พ.ย. 2468 วันนั้นเป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จสวรรคต แต่ก่อนที่พระองค์จะสวรรคตนั้น เพียงหนึ่งวันเท่านั้น สมเด็จพระเจ้าฟ้าภคนีเธอเจ้าฟ้าเพชรรัตรราชสุดก็มีพระประสูติกาลขึ้นในขณะที่ ในหลวง ร. 6 ประชวรหนักและถึงแก่สววรคต เพียงแค่ได้เห็นพระธิดาวันเดียวเท่านั้น

ถามว่าทำไมผมถึงเขียน blog เรื่องนี้ขึ้นมาเพราะว่าผมเองมีความเกี่ยวพันกับมรดกที่ ในหลวง ร.6 ได้ทรงพระราชทานไว้ที่ จ.เชียงใหม่ คือเมื่อครั้งที่พระองค์ท่านยังเป็นสมเด็จพระยุพราชเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ พระองค์ได้เดินทางขึ้นไปมณฑลพายัพครั้งนั้น ปัจจุบันคือจังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2448 พระองค์ได้มาวางศิลาฤกษ์และเปิดป้ายโรงเรียนชาย 2 แห่งในจังหวัดเชียงใหม่ ได้แก่ โรงเรียนปรินส์รอยแยลวิทยาลัย และ โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย ซึ่งผมเองได้จบการศึกษามาจากสถาบันทั้งสองแห่งนี้ ถ้าหากลองแปลชื่อของโรงเรียนทั้งสองแห่งก็คือพระนามของพระองค์ท่านนั่นเอง

เวลานั้นรถไฟยังไปไม่ถึงเชียงใหม่กว่ารถไฟจะผ่านและสร้างอุโมงค์ขุนตาลผ่านมาลำพูนเข้ามาถึงสถานีรถไฟเชียงใหม่ก็เป็นปี พ.ศ.2461

พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ที่สนพระทัยด้านการศึกษา​ ศิลปะ ละคร อย่างยิ่ง ที่โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย หน้าตึกอำนวยการ
มีพระลายหัตถเลขาเกี่ยวกับการสร้างทุนมนุษย์ในประเทศไทยเกี่ยวกับการศึกษาว่า

"ข้าพเจ้าไม่ต้องการตำราเรียนที่เดินได้ ข้าพเจ้าอยากได้ยุวชนที่เป็น สุภาพบุรุษ ซื่อสัตย์สุจริต มีอุปนิสัยใจคอดี" แม้ว่าเหตุการณ์ผ่านมา 100 กว่าปีทุกวันนี้ระบบการศึกษาของประเทศไทยก็ยังชอบผลิตตำราที่เดินได้
และไม่สนใจเรื่องความเป็นสุภาพบุรุษ ความซื่อสัตย์สุจริต

หลังจากนั้น พ.ศ. 2453 พระองค์ท่านก็ได้มาให้กำเนิดโรงเรียนวชิราวุธ ซึ่งครบรอบ 100 ปี ในวันนี้ครับ
ภาพทั้งหมดนี้ผมนำมาจากหนังสือครบรอบ 120 ปีของโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย







โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย ในหลวง ร.6 ทรงไปพระราชทานนามและเปิดโรงเรียน 2 ม.ค.2448



จากนั้นช่วงบ่ายก็เสด็จพระราชดำเนินไปยัง รร.ปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย



เมื่อเสด็จพระราชดำเนินถึงโรงเรียนปรินส์



ในหลวง ร.6 ทรงวางศิลาฤกษ์อาคารและพระราชทานนามโรงเรียนปรินส์

ความคิดเห็น