คำสอนในพระไตรปิฏกว่าด้วยเรื่องการสร้างธุรกิจ


พระมหาสมปอง มุทิโต


ย้อนหลัง ไป วันพฤหัสบดีที่ 19 ธันวาคม 2545 ผมได้จัดสัมมนาเรื่อง "คำสอนในพระไตรปิฏกว่าด้วยการสร้างธุรกิจ" เนื่องด้วยเห็นว่า คนไทยสนใจศาสตร์การสร้างธุรกิจจากตำราต่างประเทศ แต่ผมเห็นว่า ในพระไตรปิฏก ได้มีคำสอนเกี่ยวกับการสร้างผู้ประกอบการอยู่แล้วมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล จึงได้อารธนา พระมหาสมปอง มุทิโต แห่ง คณะ 25 วัดมหาธาตยุวราชรังสฤษดิ์ โดยท่านได้ชี้ให้เห็นถึงเรื่องคาถาหัวใจเศรษฐี อุ, อา,กะ ,สะ ,Entrepreneurship (เถ้าแก่) ในพระไตรปิฏก สร้างเศรษฐีจากหนูตาย , กำไรธุรกิจแบ่งเป็น 4 ส่วน , นิทานนกแขกเต้า , อดีตมหาเศรษฐี 5 พันล้าน กับ เงิน 5 บาท



------------------------------------------------------------------

ถ้าจะถามใครก็ตาม ทำงานธุรกิจอะไรสักอย่างหนึ่ง ถ้าจะถามว่าทำไปเพื่ออะไร คงไม่มีใครปฏิเสธว่าทำไปเพื่อการอยู่ดีกินดี คำว่า “อยู่ดีกินดี” คงเน้นไปที่เนื้อหาหลักคือ ต้องมีฐานะดีขึ้น มีเงิน มีทองร่ำรวยหรือเป็นเศรษฐี มหาเศรษฐี อะไรก็แล้วแต่นั่นคือจุดมุ่งหวังของทุกคน แต่ถ้าจะเปรียบเทียบกับสัญชาตญาณของสัตว์โลกในโลกนี้ คือว่าการดิ้นรนหาหนทางหาวิถีทางหนีความทุกข์ นำตนไปสู่ความสุข ดังนั้นวิธีการแสวงหาจึงมีวิธีที่แตกต่างกันไปตามความรู้ ความสามารถ แต่ถ้าจะพูดในประเด็นว่าในหลักคำสอนพระไตรปิฏกว่าด้วยการสร้างงานในธุรกิจนั้น พระพุทธเจ้าได้แสดงนั้นด้วยหรือ ถ้าเราย้อนยุคว่า ยุคนั้นกับยุคนี้ห่างกันมาประมาณ 2,500 กว่าปีมาแล้ว ในยุคนั้นสัก 2,000 ปี ถ้าเราย้อนยุคสัก 4 – 500 ปี ไม่ต้องไปไกลเพียงแค่ยุคกรุงศรีอยุธยา เราก็เป็นความแตกต่างของการดำเนินธุรกิจมากมาย รวมทั้งอารยธรรมท้องถิ่น รวมทั้งความเป็นอยู่ ความคิด ความอ่าน การเจริญ วิวัฒนาการเทคโนโลยี ซึ่งห่างกันไม่ถึง 1,000 ปี เราก็เห็นความแตกต่างกันมาก แต่ถ้าจะเอาคำสอนของพระพุทธเจ้าในยุค 2,500 ปีที่แล้วมาเปรียบเทียบให้เห็นว่าคำสอนของพระพุทธเจ้ามีด้วยหรือ ที่จะเอาไปเป็นคำสอนของการสร้างงานของธุรกิจได้ วันนี้ลองฟังดูและจะเห็นว่ามีความเป็นไปได้สูง และเป็นไปได้อย่างมั่นคงด้วย ถ้าใครทำงานธุรกิจมา หลายคนอาจจะล้มๆ ลุกๆ หรือบางคนอาจจะเป็นนักธุรกิจน้องใหม่ บางคนอาจจะมั่นคงดีแล้วหรืออาจจะกำลังจะเสื่อม กำลังดิ้นรนหาหนทางอยู่ว่าจะรักษามันได้อย่างไร ความทุกข์ของคนในโลกนี้มี 2 อย่าง คือ 1. ทุกข์เพราะ แสวงหาความสุข
2. ทุกข์เพราะ รักษาความสุขที่ได้มาให้คงอยู่

ดังนั้นถามว่า ความสุขที่เป็นความทุกข์ก็คือความทุกข์นั่นเอง ไม่ใช่ความสุข จะได้เข้าเรื่องประเด็นที่นำเอกสารมาแจกโดยเนื้อหาหลัก ๆ ก็จะพูดถึง เหตุและผล ซึ่งมีหัวข้อ 2 หัวข้อ คือ เป้าหมายและนโยบาย เป้าหมายเป็นผล นโยบายเป็นเหตุ จะวิเคราะห์ไปตามหลักของพระพุทธศาสนาว่า ท่านวางหลักไว้ว่าอย่างนี้ เรามักจะตีค่าคนที่มีเงิน มั่งคั่ง ฐานะดี ที่ไม่มีใครเทียบเท่าว่าเป็นเศรษฐี ดังนั้นวันนี้ก็จะมาตีความคำว่า “เศรษฐี” ให้ฟัง ว่าจริง ๆ เป็นเศรษฐีหรือคนมีเงินกันแน่ เพราะเศรษฐีกับคนมีเงิน ดูคล้ายกันและก็จะดูต่างกัน คนมีเงินหมายถึงคนที่จะทำกิจใด ๆ แล้วแต่ หรือไม่ได้ทำเอาแค่เป็นทรัพย์สินมรดก ตกทอดที่พ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย เราได้สร้างเอาไว้ เราเป็นทายาทได้รับมรดก เงินทองนั้นเราก็เรียกว่าผู้มีเงินเหมือนกันอาจจะตีความว่าเป็นคนรวยได้ แต่จะเป็นเศรษฐีหรือเปล่าลองฟังเศรษฐีใหม่ ฉะนั้นคนรวยจึงหมายถึงคนมีเงินและมีเงินมาก ส่วนคำว่าเศรษฐีหมายถึงคนมีเงินไม่ได้หมายถึงคนจน หมายถึง คนมีเงินแต่จะมากหรือน้อยไม่สำคัญแต่เป็นคนมีเงินแล้วใช้เงินสร้างความประเสริฐให้เกิดขึ้นกับตัวเองได้ ทิ้งประเด็นไว้อีกแหละ เดี๋ยวก็สงสัยอีกว่าอะไรคือความประเสริฐ สร้างความประเสริฐเกิดขึ้นให้กับตัวเอง ซึ่งหัวข้อข้างล่างว่านโยบายที่จะสร้างความประเสริฐให้เกิดกับตนเองบ้างในวงการซึ่งนโยบายในการสร้างเหตุ เหตุจะไปถึงเป้าหมายได้ ในหลักทางพระพุทธศาสนาแสดงหลักไว้ย่อ ๆ 3 เหตุเท่านั้น อันนี้มาทำเป็นนโยบาย 3 ประเด็น

นโยบายแรก คือ นโยบายบริหารตน
นโยบายสอง คือ นโยบายบริหารคน
นโยบายสาม คือ นโยบายบริหารงาน

ทั้ง 3 ประเด็นนี้ จะสงเคราะห์ให้เข้ากันตรงกับหลักคำสอนที่สะท้อนให้ตรงกับหลักการประพฤติจริงในปัจจุบันว่าหลักคำสอนที่เกิดมา 2,500 ปีนั้น นำมาพัฒนาในองค์การเราได้อย่างไรมาดูเป็นประเด็นไป ประเด็นบริหารในเบื้องต้น คือบริหารตน ใครก็ตามเตรียมตัวจะเป็นคนมีเงิน เตรียมตัวเป็นเศรษฐี ถ้ามีเงินเฉย ๆ แต่ชีวิตไม่ประเสริฐอะไร ก็เรียกว่าคนรวยถ้ามีเงินด้วยชีวิตประเสริฐด้วยจึงเรียกว่าเศรษฐี ดังนั้นการบริหารทั้ง 3 หลักนี้ จะพาไปสู่เศรษฐี ไม่ได้นำพาไปสู่ผู้มีเงิน ถ้าใครมาฟังแล้วจะสร้างจะนำตัวเอง จะนำบริษัทจะนำกิจการไปสู่ความมั่งคั่งผู้มีเงินไม่จำเป็นต้องเป็นเศรษฐี ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ประเสริฐ ก็ไม่จำเป็นต้องใช้หลักนี้ ก็สามารถสร้างเงินได้ แต่ถ้าใครที่จะนำตัวเองนำกิจการไปสู่ความเป็นผู้มีฐานะ มีเงินมีทองแล้ว และมีชีวิตผู้ประเสริฐด้วยก็ต้องอาศัยหลักนี้ และตอนท้าย

คาถาหัวใจเศรษฐี อุ, อา, กะ, สะ







เส้นทางคนมีเงินกับคนที่เป็นเศรษฐี ใครได้รับความสุข มีความสุขดีกว่า ชีวิตของใครประเสริฐกว่า ลองฟังประเด็นที่ 1 ก็คือบริหารตน การบริหารตอนนี้ ใครก็ตามจับงานอะไร ไม่ว่างานเก่างานใหม่ โดยเฉพาะคนที่เก่าอยู่แล้ว หมายถึงว่าคนที่เคยดำเนินธุรกิจอยู่แล้วมีประสบการณ์ มีความรู้ความสามารถ มองอะไรทะลุปรุโปร่ง ก็สามารถที่จะดำเนินไปด้วยดี ราบเรียบ เรียบง่าย ส่วนใครก็ตามที่จะเป็นน้องใหม่ในวงการธุรกิจ ในจังหวะที่ธุรกิจปัจจุบันมีการแข่งขันสูง มีการแก่งแย่งชิงดีชิงเด่น ฉกฉวยโอกาส ได้ก็ดีไม่ได้ก็หาทางกลั่นแกล้ง อีกฝ่ายหนึ่งก็จะขึ้นมาเป็นผู้นำก็เป็นวิถีทาง ซึ่งเป็นวิถีทางที่ไม่เกี่ยวข้องจะนำมาพูดวันนี้ นับเป็นประเด็นที่มีอยู่ปกติ แต่ประเด็นที่มาพูดวันนี้ใคร
ก็ตามดำเนินธุรกิจใด ๆ โดยสร้างฐานที่มั่นคงตามวิถีทางที่ถูกต้องก็จะได้ฟังและลองฟังดู ก็จะไปเปรียบเทียบกับงานที่ทำอยู่ว่าตรงไหนที่มันสมบูรณ์ ตรงไหนที่เป็นช่องโหว่ ตรงไหนที่เป็นโอกาสให้ความไม่พร้อมหรือให้โอกาสกับผู้อื่น หลักการบริหารตนเป็นหลักที่ 1 เป็นหลักการบริหารซึ่งสร้างเหตุที่ดี การบริหารตนอาศัยหลักการ 4 ข้อ โดยใครก็ตามที่เป็นนักธุรกิจน้อยคนที่จะไม่เคยได้ยินคาถาหัวใจเศรษฐี “อุ อา กะ สะ” บางคนเขียนเป็นยันต์ใครมาเห็นก็รู้ว่าเป็นคาถาเศรษฐี ใครที่เป็นนักธุรกิจก็จะท่อง “อุ อา กะ สะ” นี้ไว้ เพราะมีมนต์ขลังมากมีอานุภาพมาก วันนี้ก็จะมาขยาย “อุ อา กะ สะ” ว่ามันคืออะไรคำว่า “อุ” ในที่นี้ย่อมาจากคำบาลี ซึ่งเป็นหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าว่า
- “อุตฐานะ” โดยคำเต็ม ๆ ว่า “อุตฐานะสัมปทา” คำว่า “อุตฐานะ” มีคำสองคำสะท้อนให้เห็นความหมายในตัว คือคำว่า “อุต” และคำว่า “ฐานะ” ไม่ใช่อุดฐานะตัวเองเอาไว้ แต่คำว่า “อุต” ในที่นี้แปลว่า “ลุกขึ้น” ส่วน “ฐานะ” แปลว่า “ยืนหยัด” ลุกขึ้นยังไง คำว่า ลุกขึ้นยืน หมายถึง การแสวงหา ใช้ความขยันหมั่นเพียรสร้างงาน สร้างเงินโดยสุจริตวิธีหลักคำสอนเน้นไปที่สุจริต ไม่ใช่เน้นในเรื่องการฉกฉวยเอาเปรียบ เน้นไปที่สุจริตเพราะนั่นคือความแข็งแกร่งที่สุด ดังนั้นคำว่า “อุต” ในที่นี้หมายถึง “อุตฐานะสัมปทา” ลุกขึ้นยืนอย่างมั่นคง ใช้ความขยันหมั่นเพียรที่มีอยู่ของตน
- “อา” ย่อมาจาก “อารักขะ” โดย “อา” แปลว่า ครบถ้วน “รักขะ” ภาษาไทยเรียกว่า รักษา “อารักขะ” จึงแปลว่า การรักษาอย่างครบถ้วน รักษาอะไรไว้ รักษาทรัพย์ที่หามาได้จากข้อ 1 “อุตฐานะ” คือการลุกขึ้นด้วยความขยันหมั่นเพียร แสวงหาทรัพย์สินหาเงินหาทอง สร้างงาน “อารักขะ” นั้น เมื่อได้ผลได้กำไรจากการสร้าง ต้องรักษาไว้ รักษาอย่างไรโดยข้อ “อา” นั้น บอกไว้ว่าให้แบ่งทรัพย์สินเป็น 4 ส่วน 4 ส่วนนี้จากผลกำไร แบ่งทรัพย์จาก 1 ใน 4 ส่วนนี้ตกผลกำไร เก็บเอาไว้หรือเพิ่มทุนที่มีอยู่ก็ชื่อว่าเก็บไว้ได้เหมือนกันขอให้รักษาไว้ได้ ไม่ให้สูญหาย 1 ใน 4 ของกำไรนั้น จะต้องไม่สูญหาย ไม่ว่ากรณีใด ๆ จะต้องยังคงอยู่เป็นเงินสดหรือจะอยู่ในการเพิ่มทุนธุรกิจที่ทำอยู่ - “กะ” ย่อมาจาก กัลยาณมิตรตา คำว่า “กัลยาณ” แปลว่า ดีงาม สวยงาม อย่างภาษาไทยใครก็ตามที่ชื่อว่า “กัลยาณี” แปลว่า คนสวย, “กัลยาณ” แปลว่า ดีงาม, สวยงาม ส่วน “มิตร” แปลว่า เพื่อน ถ้าในวงการธุรกิจหมายถึงพันธมิตร ส่วน “ตา” หมายถึงความมี ความมีมิตรที่ดี ความมีเพื่อนที่ดีงาม ในวงการธุรกิจวงการ นักเลงอาจมีคำสอนที่แปลก ๆ คือ การมีมิตรไม่ถาวร การมีศัตรูที่ไม่ยั่งยืน แต่ว่าตามกระบวนการตั้งแต่ข้อแรกเป็นต้นมาเริ่มต้นจากที่สุจริตนั้น มิตรต้องเป็นมิตรที่ดี มันขัดกัน ถ้าจะเอามิตรอะไรก็ได้ ไม่ได้ ดังนั้นพันธมิตรของเรานั้น ธุรกิจของเราองค์กรของเราเป็นองค์กรที่สุจริต พันธมิตรของเราก็ควรเป็นปัญญาชนที่มีความสุจริต งานเราสุจริตจริง แต่พันธมิตรเราเป็นนักเลง หลอกลวง คดโกง เราก็อยู่ไม่ได้ เพราะเราซื่อ เขาไม่ซื่อ ดังนั้นกัลยาณมิตรตา หมายถึง หาพันธมิตรที่เป็นสุจริตชนสร้างเครือข่ายงาน ขยาย ถ้าพูดถึงตลาดก็ขยายตลาด ดังนั้นการขยายตลาดไปสู่กลุ่มผู้บริโภคผลิตภัณฑ์ที่เราผลิตนั้นต้องเน้นไปที่สายงานต้องเป็นสุจริต






จะสรุปให้ฟังว่าระหว่างเส้นทางคนมีเงินกับคนที่เป็นเศรษฐี ใครได้รับความสุข มีความสุขดีกว่า ชีวิตของใครประเสริฐกว่า ลองฟังประเด็นที่ 1 ก็คือบริหารตน การบริหารตอนนี้ ใครก็ตามจับงานอะไร ไม่ว่างานเก่างานใหม่ โดยเฉพาะคนที่เก่าอยู่แล้ว หมายถึงว่าคนที่เคยดำเนินธุรกิจอยู่แล้วมีประสบการณ์ มีความรู้ความสามารถ มองอะไรทะลุปรุโปร่ง ก็สามารถที่จะดำเนินไปด้วยดี ราบเรียบ เรียบง่าย ส่วนใครก็ตามที่จะเป็นน้องใหม่ในวงการธุรกิจ ในจังหวะที่ธุรกิจปัจจุบันมีการแข่งขันสูง มีการแก่งแย่งชิงดีชิงเด่น ฉกฉวยโอกาส ได้ก็ดีไม่ได้ก็หาทางกลั่นแกล้ง อีกฝ่ายหนึ่งก็จะขึ้นมาเป็นผู้นำก็เป็นวิถีทาง ซึ่งเป็นวิถีทางที่ไม่เกี่ยวข้องจะนำมาพูดวันนี้ นับเป็นประเด็นที่มีอยู่ปกติ แต่ประเด็นที่มาพูดวันนี้ใคร
ก็ตามดำเนินธุรกิจใด ๆ โดยสร้างฐานที่มั่นคงตามวิถีทางที่ถูกต้องก็จะได้ฟังและลองฟังดู ก็จะไปเปรียบเทียบกับงานที่ทำอยู่ว่าตรงไหนที่มันสมบูรณ์ ตรงไหนที่เป็นช่องโหว่ ตรงไหนที่เป็นโอกาสให้ความไม่พร้อมหรือให้โอกาสกับผู้อื่น หลักการบริหารตนเป็นหลักที่ 1 เป็นหลักการบริหารซึ่งสร้างเหตุที่ดี การบริหารตนอาศัยหลักการ 4 ข้อ โดยใครก็ตามที่เป็นนักธุรกิจน้อยคนที่จะไม่เคยได้ยินคาถาหัวใจเศรษฐี “อุ อา กะ สะ” บางคนเขียนเป็นยันต์ใครมาเห็นก็รู้ว่าเป็นคาถาเศรษฐี ใครที่เป็นนักธุรกิจก็จะท่อง “อุ อา กะ สะ” นี้ไว้ เพราะมีมนต์ขลังมากมีอานุภาพมาก วันนี้ก็จะมาขยาย “อุ อา กะ สะ” ว่ามันคืออะไรคำว่า “อุ” ในที่นี้ย่อมาจากคำบาลี ซึ่งเป็นหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าว่า
- “อุตฐานะ” โดยคำเต็ม ๆ ว่า “อุตฐานะสัมปทา” คำว่า “อุตฐานะ” มีคำสองคำสะท้อนให้เห็นความหมายในตัว คือคำว่า “อุต” และคำว่า “ฐานะ” ไม่ใช่อุดฐานะตัวเองเอาไว้ แต่คำว่า “อุต” ในที่นี้แปลว่า “ลุกขึ้น” ส่วน “ฐานะ” แปลว่า “ยืนหยัด” ลุกขึ้นยังไง คำว่า ลุกขึ้นยืน หมายถึง การแสวงหา ใช้ความขยันหมั่นเพียรสร้างงาน สร้างเงินโดยสุจริตวิธีหลักคำสอนเน้นไปที่สุจริต ไม่ใช่เน้นในเรื่องการฉกฉวยเอาเปรียบ เน้นไปที่สุจริตเพราะนั่นคือความแข็งแกร่งที่สุด ดังนั้นคำว่า “อุต” ในที่นี้หมายถึง “อุตฐานะสัมปทา” ลุกขึ้นยืนอย่างมั่นคง ใช้ความขยันหมั่นเพียรที่มีอยู่ของตน
- “อา” ย่อมาจาก “อารักขะ” โดย “อา” แปลว่า ครบถ้วน “รักขะ” ภาษาไทยเรียกว่า รักษา “อารักขะ” จึงแปลว่า การรักษาอย่างครบถ้วน รักษาอะไรไว้ รักษาทรัพย์ที่หามาได้จากข้อ 1 “อุตฐานะ” คือการลุกขึ้นด้วยความขยันหมั่นเพียร แสวงหาทรัพย์สินหาเงินหาทอง สร้างงาน “อารักขะ” นั้น เมื่อได้ผลได้กำไรจากการสร้าง ต้องรักษาไว้ รักษาอย่างไรโดยข้อ “อา” นั้น บอกไว้ว่าให้แบ่งทรัพย์สินเป็น 4 ส่วน 4 ส่วนนี้จากผลกำไร แบ่งทรัพย์จาก 1 ใน 4 ส่วนนี้ตกผลกำไร เก็บเอาไว้หรือเพิ่มทุนที่มีอยู่ก็ชื่อว่าเก็บไว้ได้เหมือนกันขอให้รักษาไว้ได้ ไม่ให้สูญหาย 1 ใน 4 ของกำไรนั้น จะต้องไม่สูญหาย ไม่ว่ากรณีใด ๆ จะต้องยังคงอยู่เป็นเงินสดหรือจะอยู่ในการเพิ่มทุนธุรกิจที่ทำอยู่ - “กะ” ย่อมาจาก กัลยาณมิตรตา คำว่า “กัลยาณ” แปลว่า ดีงาม สวยงาม อย่างภาษาไทยใครก็ตามที่ชื่อว่า “กัลยาณี” แปลว่า คนสวย, “กัลยาณ” แปลว่า ดีงาม, สวยงาม ส่วน “มิตร” แปลว่า เพื่อน ถ้าในวงการธุรกิจหมายถึงพันธมิตร ส่วน “ตา” หมายถึงความมี ความมีมิตรที่ดี ความมีเพื่อนที่ดีงาม ในวงการธุรกิจวงการ นักเลงอาจมีคำสอนที่แปลก ๆ คือ การมีมิตรไม่ถาวร การมีศัตรูที่ไม่ยั่งยืน แต่ว่าตามกระบวนการตั้งแต่ข้อแรกเป็นต้นมาเริ่มต้นจากที่สุจริตนั้น มิตรต้องเป็นมิตรที่ดี มันขัดกัน ถ้าจะเอามิตรอะไรก็ได้ ไม่ได้ ดังนั้นพันธมิตรของเรานั้น ธุรกิจของเราองค์กรของเราเป็นองค์กรที่สุจริต พันธมิตรของเราก็ควรเป็นปัญญาชนที่มีความสุจริต งานเราสุจริตจริง แต่พันธมิตรเราเป็นนักเลง หลอกลวง คดโกง เราก็อยู่ไม่ได้ เพราะเราซื่อ เขาไม่ซื่อ ดังนั้นกัลยาณมิตรตา หมายถึง หาพันธมิตรที่เป็นสุจริตชนสร้างเครือข่ายงาน ขยาย ถ้าพูดถึงตลาดก็ขยายตลาด ดังนั้นการขยายตลาดไปสู่กลุ่มผู้บริโภคผลิตภัณฑ์ที่เราผลิตนั้นต้องเน้นไปที่สายงานต้องเป็นสุจริต

-“สะ ” นี่ย่อมาจากคำว่า “สมชีวิตา” “สมะ” ภาษาไทยเรียก
ตรงๆ ว่าเสมอ, สม่ำเสมอ ถ้าแปลทับศัพท์คือเหมาะสม, สมควร ส่วน “ชีวิต” แปลว่า ชีวิตการเลี้ยงชีพ การประครองชีพ “สมชีวิตา” คือการเลี้ยงชีพพอควรพอควรอย่างไร ในนี้บอกว่า การเลี้ยงชีพที่ดี เหมาะสมสมควรต่อทรัพย์ที่หามาได้นั้น ทรัพย์เมื่อสักครู่ข้อ 2 บอกว่าแบ่งทรัพย์ 1 ใน 4 ส่วน ก็จะเหลือทรัพย์อีก 3 ส่วน ได้กำไรมาเท่าไร สมมติว่าได้กำไรมา 100 บาท เราหาร 4 เลย 1 ใน 4 ส่วนเราใช้ข้อ 2 คือ “อารักขะ” อีก 3 ใน 4 ส่วนใช้ในข้อ 4 คือ “สมชีวิตา” ใช้ตรงไหนบ้าง 3 ใน 4 ก็คือ ไล่เลยนะ 1, 2, 3 อย่างส่วนที่ 1 ตอบแทนผู้มีคุณ ส่วนที่ 2 เลี้ยงครอบครัว ส่วนที่ 3 ใช้จ่ายเอง ทำไมถึงเป็นอย่างนั้น ดังนั้นใน 4 หลักๆ นี้นะที่ให้คล้องจองในคำแปลข้างหลังบอกว่า แสวงหา รักษาไว้ มีไมตรีต่อกัลยาณมิตรและเลี้ยงชีวิตพอควรเรื่องนี้ปรากฏชัดเจนมากขึ้น ก็จะยกเรื่องราวบุคคลเปรียบเทียบให้ฟังว่า จะให้หลักธรรม 4 อย่าง สร้างฐานะภายในฉับพลันได้อย่างไร และการบริหารเงินที่เป็นผลกำไรที่จะได้มาโดยการแบ่งเป็น 4 ส่วนบริหาร
การใช้จ่ายทรัพย์เพื่อความมั่นคงของฐานะอยู่นั้นทำได้อย่างไร เดี๋ยวจะเล่าเรื่องหนึ่งให้ฟัง เป็นเรื่องสมัยพุทธกาลส่วนเรื่องในอดีต ใครสร้างฐานะอย่างไร ก็จะไม่พูดถึง เมื่ออ้างหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าก็จะยกเรื่องราวเป็นตัวอย่างในจุดที่พระพุทธเจ้านำคำสอนเหล่านั้นมาใช้

Entrepreneurship (เถ้าแก่) ในพระไตรปิฏก ชีวิตเศรษฐีจากการขายหนูตาย







เศรษฐีตระกูลหนึ่งชื่อว่า จุลักกะ คำว่า “จุลลักกะ” ถ้าแปลตามภาษาไทยแปลว่า เล็ก เศรษฐีเล็ก หรือเฮียเล็ก อะไรก็ตามแต่เป็นคนที่มีความรู้ ความสามารถในการสร้างงาน อยู่ในฐานะเศรษฐีมีทรัพย์ถึง 40 โกฏิ แต่คนยุคใหม่จะนับโกฏิว่าหลัก 10 ล้าน ดังนั้น 40 โกฏิก็ประมาณ 400 ล้าน
ในคำบาลีจะมีการเรียกเศรษฐีอยู่ 4 ระดับ คือ ระดับแรกเรียก อนุเศรษฐี คือ รองเศรษฐี เตรียมจะเป็นเศรษฐีมหาศาล เศรษฐีทั้ง 4 ระดับมีทรัพย์คนละเท่าไรจึงเรียกว่าอยู่ระดับนั้น เริ่มต้นจาก 20 โกฏิ, 40 โกฏิ, 80 โกฏิ, 160 โกฏิ ห่างกัน 2 เท่า อนุเศรษฐี มีทรัพย์เป็นเงินสดอยู่ 20 โกฏิ ไม่รวมการประเมินทรัพย์สินอื่นที่นับจำนวนเท่านี้ หมายความว่า สามารถนำเงินไปกองหน้าลานให้นับได้เลย เพราะว่าใครก็ตาม ในสมัยก่อนจะได้รับตำแหน่งอนุเศรษฐี เศรษฐี มหาเศรษฐี หรือเศรษฐีมหาศาล เป็นตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้งเป็นตำแหน่งที่ได้รับพระราชทาน ก่อนจะแต่งตั้งพระราชาก็จะให้ขนทรัพย์สิน
ที่เป็นเงินสดเหล่านี้มากองไว้หน้าพระลานหลวง และก็ให้ประเมินทรัพย์ ดังนั้น เรื่อง สวน ไร่ นา เอามากองไว้ได้ไหม ไม่ได้ข้าทาสบริวาร ช้าง ม้า วัว ควาย ก็นำมากองไม่ได้นั้น ทรัพย์ที่ประเมินในการนำมากองและเรียกคนมานับ นับประเมินค่าและก็แต่งตั้งเศรษฐีที่มีเงินในเวลานั้น ดังนั้นยอดเงิน 20 โกฏินี้ไม่นับสินทรัพย์มวลรวมนับเฉพาะเงินสดเท่านั้น แต่ปัจจุบันถ้าเราพูดถึงเศรษฐีพันล้าน จะมีเงินเท่าไรไม่รู้ อาจจะไม่มีเงินเลย อาจจะมีเพียงแค่ CREDIT CARD ใบเดียว แต่ว่ามีเงินสะพัดที่หมุนเวียนรายวัน ต่อไปเป็นเศรษฐีมีทรัพย์สิน 20 โกฏิ 20 โกฏิ เท่าไรนะ 200 ล้าน, 40 โกฏิ ก็ 400 ล้าน, และก็มหาเศรษฐี 80 โกฏิ ก็ 800 ล้าน ส่วนเศรษฐีมหาศาลก็ 160 โกฏิก็ 1,600 ล้าน นี่คือยอดเงินที่นำมากองได้ ส่วนทรัพย์สินอื่น ๆ ยังไม่พูดถึง พูดถึงตำแหน่งเมื่อกี้นี้ให้ฟังเพื่อที่จะเอ่ยคำต่อไปนี้จะได้เห็นชัดเจนว่าผู้นั้นมีเงินเท่าไร
จุลลักกะมีเงินเท่าไร 40 โกฏิ นอกจากจะมีความรู้ความสามารถแล้ว ยังมีความรู้พิเศษอีกอย่างหนึ่ง คือ พยากรณ์ พูดง่ายๆ ว่าโหร ทำนายแม่นทำนายเหตุการณ์ต่างๆ อะไรที่เกิดขึ้นในโลกนี้สามารถทำนายได้ว่าวันข้างหน้าจะเกิดอะไร เศรษฐีผู้นี้มีทาสคนหนึ่งเวลาเศรษฐีไปไหนมาไหน สมัยก่อนยังมีทาส ยังมีทาสี มีคนรับใช้ ซึ่งทุกวันนี้จะแปลงรูปไปเรียกอะไรก็ยังอยู่ในฐานะเดิม มีทาสคนหนึ่งติดตาม เวลาเศรษฐีไปไหนมาไหน ทาสคนนี้จะหิ้วตะกร้าติดตามใช้สอย วันหนึ่งเศรษฐีผู้นี้มีกิจจะต้องเฝ้าพระราชาโดยขึ้นวอมีคน 4 คนเดินหามไป และข้าทาสหิ้วตะกร้าเดินตามหลังที่ใกล้ประตูวังเหลือบไปเห็นหนูตายอยู่ตัวหนึ่ง หนูอะไรก็ไม่รู้ ถ้าหนูในกรุงเทพตัวอาจจะเท่าแขนหรือเท่าน่อง หนูสมัยโน้นตัวไม่ใหญ่ ตัวอาจประมาณแขนนี้ เหลือบไปเห็นหนูตาย เศรษฐีผู้นี้ลั่นวาจามาทำนายเลย บอกว่าผู้ที่มีปัญญานำหนูนี้ไป สามารถสร้างฐานะเป็นเศรษฐีได้ พอพูดเท่านี้คนใช้ของเศรษฐีที่หิ้วตะกร้าตามหลัง ตั้งแต่มาอยู่รับใช้เศรษฐีเห็นเศรษฐีทำนายแม่นทุกเรื่อง ยังไม่เคยเห็นเรื่องที่ไม่ตรงเลยเขารีบวางตะกร้าฉวยโอกาสก่อนคนอื่น เดินไปเรื่อย ๆ หยิบหางหนูซ่อนปั๊บ เศรษฐีพูดแค่นั้นแล้วคนก็หามเข้าวังไปเข้าเฝ้าพระราชา ทาสรับใช้รีบเก็บหนูมาเลย หลังจากที่เศรษฐีเข้าเฝ้าพระราชาข้าทาสต้องรออยู่ข้างนอกเข้าไปไม่ได้ จึงได้โอกาสมานั่งตรึกตรอง เอ... คำทำนายของเศรษฐีตั้งแต่เห็นมา แม่นเราจะทำอะไรได้กับหนูตายตัวนี้บ้าง ถือหางหนูก็เดินไปแล้วคิดว่าจะเอาไปทำอะไร เพราะไม่เคยคิดจะทำงานธุรกิจอะไรเลย เป็นข้าทาสเขามาตลอดในขณะที่ถือหนูเดินไปเดินมา ไปเห็นบ้าน ๆ หนึ่ง เขากำลังหาโน่นหานี่เลี้ยงแมวอยู่ ก็เลยเดินไปหาและถามว่า ลุง ๆ มีหนูตายมาตัวหนึ่งจะซื้อให้แมวกินไหม คนนั้นก็เห็นว่าหนูกับแมวก็ของชอบกันอยู่แล้วก็เลยขอซื้อ “จะขายเท่าไร” “ก็แล้วแต่จะให้ก็แล้วกัน” เอาอย่างนี้แล้วกัน

เมื่อกี้นี้สิ่งที่ได้เขาได้มาคือหนึ่งสลึง เขาได้ในข้อไหน ให้พิจารณาตามไปด้วย เพื่อที่จะได้ชัดเจนมากขึ้น อุตฐานะ เริ่มปรากฏแล้ว เริ่มมี อุ ขึ้นมาแล้ว ต่อไปหลังจากได้เงินหนึ่งสลึงเขาดีใจมาก เพราะเงินจำนวนนี้เขาได้มาจากความสามารถแท้ ๆ ก่อนหน้านี้ที่เขาจะได้เงินครึ่งสลึงมาจากเจ้านายให้แต่เงินหนึ่งนี้ได้มาจากความสามารถของตน มีความภูมิใจอยู่ลึก ๆ แต่ยังคิดไม่ออกว่าเงิน 1 กาคณิก นี้ จะไปทำอะไรได้บ้างตอนนี้เริ่มนึกหาไปว่าจะทำอะไรดีนะ เดินมาเดินไปก็ไม่รู้จะทำอะไรได้ วันหนึ่งเกิดพายุลมฝนพัดกระหน่ำในเขตอุทยานมีกิ่งไม้แห้งล่วงหล่นลงมาเต็มอุทยาน คนเฝ้าอุทยานเก็บไม่หวาดไม่ไหว บุรุษทาสเศรษฐีผู้นี้เห็นเข้าเพราะได้ไปส่งเศรษฐีเข้าเฝ้าทุกวัน เห็นเหตุการณ์เข้า เอ๊ะ! เราจะทำอย่างไร ก็เลยไปบอกคนเฝ้าอุทยานว่าเอาอย่างนี้แล้วกันผมจะเก็บให้จะว่าไหม อุ๊ย! มาเก็บหน่อยเถอะเก็บไม่ไหวเก็บไปเลย บุรุษทาสมีเงิน 1 กาคณิกเห็นเด็กวิ่งเล่น จึงไปซื้อน้ำอ้อย ลูกอมทอฟฟี่ไปแจกเด็กๆ คนละก้อน สองก้อน เด็กได้ก็ดีใจ และถามลุงว่าจะให้ทำอะไรไหม ลุงก็ให้เด็กมาช่วยเก็บกิ่งไม้พวกนี้ และก็พาเด็ก ๆ มาช่วยหยิบกิ่งไม้พวกนี้ คนละกิ่ง สองกิ่ง มากองไว้ที่หน้าอุทยานคนเฝ้าอุทยานก็ดีใจ โล่งเบาแรง พอเก็บมากองไว้หมดไปแล้ว 1 กาคณิก นี่คือการลงทุนครั้งแรกโดยการใช้เงิน วันนั้นเกิดพายุฝน คนที่เคยหาฟืนมาขายในเมืองเป็นประจำไม่มา ช่างปั้นหม้อหลวงจำเป็นต้องใช้ฟืน เมื่อคนขายฟืนไม่หาบฟืนมาขายเหมือนทุกวัน จึงเดินไปหาซื้อฟืน บ้านไหนมีฟืนมาขายบ้าง เดินไปก็เห็นกิ่งไม้แห้งของคนนี้กองไว้ ไปถามซื้อว่าจะขายเท่าไร กองฟืน เพราะตัวไม่เคยกำหนดราคาไว้เลย เพราะไม่เคยคือทำธุรกิจ แล้วของนี้ก็ลงทุนเพียงเล็กน้อย บอกไม่ถูกก็เลยบอกไปว่าแล้วแต่จะให้ คนช่างปั้นหม้อหลวงก็คิดว่า เอ๊ะ! กองฟืนขนาดนี้จะให้เท่าไรดี ก็เลยให้ 4 กหปณะนี้ (4 กาคนิก เป็น 1 กหปณะ) ก็เท่ากับว่าได้ 16 กาคนิกนั่นเอง ก็คือ 16 สลึง ลงทุน 1 สลึงได้กำไรมา 3 บาท 3 สลึง คิดว่าได้กำไรมากไหม ได้กำไรมากเกินไปคือว่าเป็นผลสำเร็จอย่างมาก ในขณะที่คนที่ไม่เคยได้เงินเลย แล้วได้เงินนะ เรียบร้อย บ้านเรานะเงิน 4 บาทอร่อย ซื้อกินเลย แต่คนนี้ไม่ใช่เก็บเอาไว้ ตอนนี้ได้ข้อไหนเพิ่ม ข้อ. 2 เพิ่ม เพราะนี่คือผลสำเร็จที่เขาได้ทำตามความสามารถเท่าที่มี ถ้าเราประเมินดู คนนี้มีความสามารถมากไหม ใช้ศาสตร์ที่เรียนมาจากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ มาใช่ไหม จึงค้าขายได้กำไรขนาดนี้ ไม่ได้ใช้ เดี๋ยวค่อยพิจารณาดูว่า อะไรผลักดันให้เขาทำได้ โอกาสหรือความสามารถหรือความรู้ที่มี ต่อไปพอได้เงิน 4 กหปณะ หรือเงินเกือบ 4 บาท ก็เที่ยวไปดูตรงโน้น ตรงนี้ ว่าจะทำอะไรได้บ้างกับเงิน 4 บาท ก็เดินไปมา เดินเข้าตลาด เดินไปบ้าน เห็นเหตุการณ์อะไรต่าง ๆ มากมาย วันหนึ่งแกเดินไปนั่งพักผ่อนที่ประตูเมือง เห็นผู้คนเดินเข้า เดินออก ทุกวัน เช้าออกไปทำไร่ทำนา เก็บสวนดอกไม้ หาฟืน เย็นเข้ามานั่งนับคนที่ผ่านออก ผ่านเข้าที่ประตู เริ่มได้ความคิดใหม่ที่เกิดขึ้นว่าจะทำอย่างไรจะได้เงินเล็ก ๆ น้อย ๆ จากคนที่ผ่านออก ผ่านเข้าเมืองนี้ หลายคนเริ่มนั่งทำธุรกิจอยู่ที่ฟุตบาท เราได้ทำเลดีไม่ดี ดูคนที่เดินผ่านว่ามีเท่าไรต่อวัน คนนี้ก็ไม่ใช่จะได้แนวธุรกิจอย่างนี้มานะ แต่บังเอิญไปนั่งประตูเมืองคนผ่านเข้า เราจะได้อะไรจากคนผ่านออกผ่านเข้า ผ่านออกน่าจะได้อย่างหนึ่ง คนเข้าน่าจะได้อย่างหนึ่ง ก็ได้แนวคิดมา แต่ไม่รู้ทำอย่างไรด้วยความซื่อ ๆ ที่จะไม่คด ไม่โกง อาศัยเงิน 4 กหปณะหักออกมา 1 กหปณะ เก็บไว้ 3 กหปณะ พูดง่ายว่าเอาเงิน 1 บาท ไปซื้อหม้อน้ำถ้าสมัยก่อนคนอินเดียเวลาไปตักน้ำ จะใช้หม้อตั้งบนศีรษะแล้วเดิน ส่วนเขาใช้หม้อน้ำดินไปตั้งไว้ที่ประตูเมืองใครผ่านออกไปก็ให้ตักน้ำ 1 กระบวย ใครทำงานเมื่อยล้าก็ตักน้ำให้ 1 กระบวย ไม่คิดมูลค่าอะไร เพราะในขณะนั้นจะลองดูว่าเราจะทำอย่างไร ยังไม่ได้วิธีจากคนเหล่านั้น แต่ให้บริการไปก่อน ทำอยู่อย่างนี้ 7 วัน ทุกคนมีความรู้จักคุ้นเคยออกไปทำงานก็ได้ดื่มน้ำ กลับจากที่ทำงานก็ได้ดื่มน้ำ มีความคุ้นเคย มีความเป็นกันเอง รู้สึกถึงคุณที่บุรุษผู้นี้มี หลายคนจึงกล่าวออกมาว่า ช่างดีเหลือเกิน ต้องการอะไรจะให้ช่วยเหลือบอกนะเราพอระลึกถึงน้ำใจที่เขามีให้ ในเวลาเดียวกัน ในขณะที่ไปตลาดก็ไปทำความคุ้นเคยรู้จักพ่อค้า และได้ของอะไรเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็เอาไปฝากคนนั้นคนนี้ จนคุ้นเคยกับพ่อค้าไม่ว่าพ่อค้าทางบก ทางเรือ คุ้นเคยไปทั่ว
มาวันหนึ่งพ่อค้าทางบกเห็นเค้าเป็นคนดี มีอัธยาศัยน้ำใจดีก็เลยคุยเรื่องขบวนพ่อค้ามาจากต่างเมืองอาศัยขบวนเกวียนเป็น 100 เล่ม มีช้าง มีม้าขายสินค้าต่าง ๆ มาขายจากเมืองนั้นเมืองนี้ พูดง่าย ๆ ว่าสินค้าเหล่านั้นมิใช่ตัวผลิตแล้วนำไปเสนอ เป็นสินค้าที่แลกเปลี่ยนระหว่างเมืองกับเมืองเรื่อยมา จนกว่าจะไปไม่ไหวแล้วแลกเปลี่ยนคืน ไปเมือง ก. ซื้อสินค้าไปแลกกับเมือง ข. ขายให้เมือง ข. ซื้อสินค้าจากเมือง ข. ไปขายให้เมือง ค. แลกอย่างนี้เรื่อยไป พ่อค้าเขาเล่าขานกันว่าอีก 2 วันข้างหน้าขบวนพ่อค้าเกวียน 100 เล่ม พร้อมทั้งช้าง ม้า รวมทั้งบริวาร กองคาราวานจะมาถึงเมืองเรา แกทราบข่าวเท่านี้และก็กลับไปที่ตักน้ำดื่ม
ทุกวัน ๆ ก็เล่าไปให้พวกที่เข้าๆ ออก ๆ ในเมืองฟังไม่ปิดเอาไว้เล่าให้ฟัง หลายคนที่ได้ดื่มน้ำจากเขาไม่ได้เป็นคนมีฐานะดี เป็นคนเกี่ยวหญ้าเท่านั้น บางคนเก็บดอกไม้ บางคนหาฟืน คนที่เกี่ยวหญ้าเป็นของที่เขาไม่มีค่าอะไร เกี่ยวหญ้าไปขายในตลาด เกี่ยวหญ้าให้คนเลี้ยงช้าง เลี้ยงม้า แกก็เลยบอกเขาว่าตามที่ลุงบอกว่ามีอะไรให้บอก ตอนนี้ผมมีเรื่องจะบอกแล้วนะ สองวันนี้ขอหญ้าจากพวกท่านคนละ 1 ฟ่อน คิดว่าคนเกี่ยวหญ้าเข้า ออกเมืองมีไม่น้อยเอามาให้คนละฟ่อน แกก็ได้หญ้ากองพะเนินเทินถึก วันที่สอง
ทุกคนตั้งใจเอาไว้ว่าหญ้าที่เกี่ยวเก็บเอาไว้จะไปขายให้พ่อค้าขบวนเกวียน 100 เล่ม ที่จะมาพรุ่งนี้ ทุกคนตั้งใจไว้อย่างนั้น ลุงคนนี้แกก็ขอร้องบอกว่า ขออะไรอีกสักอย่างหนึ่ง ถ้าหญ้าผมขายไม่หมด พวกท่านอย่าเพิ่งขายจะได้ไหม เริ่มเกิดการต่อรอง ทุกคนเริ่มสำนึกในน้ำใจ ในอัธยาศัยไมตรีจิตของเขาที่มีมาตลอด ทำไมจะไม่ได้แค่นี้เอง ถ้าดูแล้วขบวนเกวียนมาตั้ง 100 อย่างน้อย ๆ มีวัว มีม้า ถ้าเกวียน 1 เล่ม ก็ต้องมี 2 ตัวอยู่แล้ว นี่หญ้าแค่นี้ขายแป๊บเดียวก็หมดแล้ว ช้าง ม้า วัว ควาย มาอีกไม่รู้เท่าไร เราไปขายที่หลังก็ได้ให้โอกาสให้แกไปขายก่อน หลังจากนั้นพอขบวนพ่อค้าเกวียนมาถึง พวกพ่อค้าไปหาซื้อหญ้าบ้านไหนก็ไม่ขาย เพราะทำสัญญากับบุรุษผู้นี้ ถ้าแกยังไม่ขายคนอื่นก็ไม่ขายทุกคนก็ชี้ให้ไปซื้อที่ลุง พวกพ่อค้าก็ไป ไปซื้อหญ้าที่แกมาหมดคิดว่าลงทุนเพียงเล็กน้อยแล้วจะได้กำไรเท่าไรตอนนี้ น่าแปลกมากหญ้ากองหนึ่งที่เขามี พ่อค้าทุกคนมาซื้อต้องมาซื้อบ้านแก แกจะเรียกเท่าไรก็ต้องให้แก เท่าที่จะให้ได้


ในขณะที่เขาไปผูกมิตรไมตรีกับคนโน้น คนนี้ ถ้าได้ผลตอบแทนเป็นที่น่าพึงพอใจ แสดงว่าเขาได้กัลยาณมิตรที่มีอยู่เรียกว่าหัวใจเศรษฐี ข้อที่ 3 แล้ว มีกัลยาณมิตรด้วย ถ้าทุกคนโกงเขาโดยการฉันก็ขาย คนนั้นก็ขาย เขาก็จะไม่ได้ขายตรงนี้เพราะว่าเขาไม่เคยขายหญ้ามาก่อน แต่ทุกคนเคยขายหญ้าถ้าทุกคนที่เขาผูกมิตรไม่ได้เป็นกัลยาณมิตร เขาก็จะไม่ได้โอกาสเลยความที่เรามีกัลยาณมิตรถือว่า
มีคนให้โอกาส มีข่าวอะไรมาใหม่ ๆ ต้องคิดถึงเราแน่นอนในวงการธุรกิจก็อย่างนั้น
ดูภาระอาจจะเหมือนกัน แต่จะเรียกคำหรือความหมายแตกต่างกันได้หลังจากที่เขาขาย หญ้าด้วยเงินไม่มาก 12 กหปณะ เท่านั้น เขาลงทุนจาก 4 กหปณะ โดยเก็บไว้ 3 กหปณะ ซึ่งเอาเงินไปซื้อหม้อน้ำ 1 กหปณะ แล้วไปตักน้ำ แล้วได้ขายหญ้า 12 กหปณะ แสดงว่าตอนนี้เขามีเงินเก็บ 15 กหปณะ แต่ถ้าจะถามว่าเขามีเงินเท่าไรแล้ว นับรวมก็มี 16 กหปณะ กับ 1 กาคนิก แต่ตอนนี้มียอดเงินอยู่ที่ 15 กหปณะ ลงทุน 1 กหปณะ ได้กำไร 11 กหปณะ เท่ากับ 11 เท่าของต้นทุน ทีนี้เมื่อได้มา 15 กหปณะ เอาไปทำอะไร ในระหว่างนั้นก็เที่ยวติดต่อ รู้จักวิธีการทำการค้าขึ้นมาบ้างรู้จักวิธีการ ต่อรองใช้วิธีการในการติดต่อทำการค้า เขาทราบข่าวว่าอีก 1 เดือนข้างหน้า พ่อค้าเรือสำเภา ซึ่งมีสินค้ามากกว่าขบวนเกวียน 100 เล่มเกวียนจะมาเทียบท่าที่เมืองนี้ และด้วยเงิน 15 กหปณะจะทำอะไรสมัยก่อนก็เยอะ ดังนั้น เงิน 15 กหปณะนี้ เขารีบเดินทางไปจับจองเช่าที่เพราะว่าสมัยก่อนท่าเรือจะไม่ถาวร โดยเขาแบ่งเงินเป็นส่วน ๆ เงินส่วนหนึ่งนำไปเช่าที่ ซึ่งจะเป็นทางสัญจรขนสินค้าขึ้นจากเรือ ส่วนหนึ่งจ้างแรงงานคน ส่วนหนึ่งเช่ายานพาหนะขน แต่หลัก ๆ เน้นไปที่เช่าที่ เส้นทางผ่านสินค้า เก็บค่าผ่านทางซึ่งเก็บไม่มากเก็บเพียงคนละ 1 กาคนิกหรือ 1 สลึงต่อสินค้า 1 แบก หรือ 1 หาบ กว่าทุกคนจะขนสินค้าผ่านทางของแกเทียบท่าแต่ละ วันหมด เศรษฐีในเมืองก็เหมาค่าขนผ่านทางใน 1 เดือน คนละ 1,000 กหปณะ เป็นแบบเหมาจ่าย ยังไม่ได้นับพวกรายย่อย พอธุรกิจนี้หมด แกมีเงินเก็บเพียง 3,800 กหปณะ เท่านั้น จาก 15 กหปณะ ล่วงมา 1 เดือนเก็บได้ 3,800 กหปณะ จากการที่เป็นข้าทาสบริวารมีข้าวกินไปวัน ๆ ภายในไม่ถึง 3 เดือนมีเงินเก็บถึง 3,800 กหปณะ ก่อนอื่นที่แกระลึกถึงผู้มีคุณเป็นคนแรกคือเจ้านายเศรษฐี มีคุณอย่างไร มีคุณที่ว่าทำนายไว้ว่าถ้าเอาหนูตัวนี้ไปสามารถสร้างฐานะได้ แกแบ่งเงินกำไรที่ได้ มา 3,800 กหปณะนี้ครึ่งหนึ่งเข้าไปหาเจ้านาย และเล่ารายละเอียดให้ฟัง ผมนึกถึงบุญคุณที่ทำนายไว้อย่างนี้ ๆ ผมทำงานได้มาเท่านี้แบ่งให้เจ้านายครึ่งหนึ่ง เจ้านายเป็นเศรษฐีบอกว่าเราทำนายมาก็มากแล้ว แต่สามารถเก็บเงินได้ภายใน 2 เดือน ไม่เคย มีถ้าเป็นเจ้านายหรือเป็นเราก็คงบอกว่าเงินจำนวนนี้ไม่ต้องหรอก เก็บไปทำธุรกิจต่อหรือบางคนก็ว่าดีเหมือนกันเอามา แต่ว่าจุลกะเศรษฐี เห็นว่าเป็นคนที่ไม่ธรรมดา ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปเราควรจะปลดคนนี้ออกจากทาส เพราะเป็นคนที่มีหัวมีความคิด มีปัญญา ปล่อยหลุดมือไปไม่ได้ ยกลูกสาวให้เอาตัวไว้เลย ปลดจากทาสด้วยให้เป็นลูกเขยด้วย ผ่านไปอีก 1 เดือน เศรษฐีผู้นี้ถึงแก่ชีวิต เศรษฐีผู้นี้มีทรัพย์อยู่ 40 โกฏิแล้ว กับเงินที่หามาได้ 3,800 กหปณะรวมกันเข้าตั้งแต่วันนั้นมา พอเศรษฐีสิ้นไป ไม่มีลูกชายสืบทอดฐานะ พระราชาก็ถามว่าตอนนี้มีใครบ้าง อ๋อ..มีลูกเขยเศรษฐีเป็นอย่างนี้ พระราชารู้เรื่องมาตลอด รับแต่งตั้งลูกเขยเป็นเศรษฐีแทนพ่อตาได้ในระยะเวลา 3 เดือน ตั้งแต่วันหนูตายจนกระทั่งได้รับเป็นเศรษฐีแต่งตั้ง เมื่อสักครู่ครบหมดเลย 4 ข้อ เลี้ยงชีวิตพอควรก็ได้ แต่เมื่อสักครู่พูดถึงในข้อ. 2 ว่า แบ่งทรัพย์ 1 ส่วนจากผลกำไร 1 ใน 4 ส่วนของผลกำไรเก็บเอาไว้ และเพิ่มทุนสุดท้ายสัมมาชีวิตตา มันมี 3 ส่วน คือ
1. แบ่งให้ผู้มีคุณ
2. แบ่งให้ครอบครัว
3. เก็บไว้ใช้จ่ายเอง
ประเด็นตรงนี้เป็นประเด็นที่ บัณฑิตสมัยก่อนผูกเอาไว้เพื่อสอนกับพวกที่ทำมาหาเงินได้ ถ้าจะย้อนยุคไม่นานเท่าไร คนจนหาเช้ากินค่ำ เคยได้ยินคำนี้ไหม นั่นคือนานมาแล้ว แต่เมื่อไม่นานมานี้ คนจนหาเช้ากินเช้า หาค่ำกินค่ำ แต่เวลานี้ คนจนกินเช้าหาค่ำ กินค่ำหาเช้า กินก่อนแล้วค่อยไปหาเมื่อคืน เพราะอะไร เพราะว่าไม่ได้จัดสรรปันส่วน ทรัพย์ที่หามาได้เมื่อคืน ทำธุรกิจประเมินแล้ว เดือนนี้จะได้กำไรสุทธิประมาณ 1 ล้าน ซื้อรถเบนซ์คันหนึ่งเลย อย่างนี้สมกับกำไรที่ได้ในเดือนหน้านี้ไหม เพื่อความคล่องตัวของธุรกิจไปติดต่อธุรกิจอะไรจะได้เชื่อถือ ทีนี้มาฟังอีกเรื่องหนึ่งที่มันสะท้อน พอเขาได้เป็นเศรษฐีมาแล้ว หาค่ำกินค่ำ แต่เวลานี้ คนจนกินเช้าหาค่ำ กินค่ำหาเช้า กินก่อนแล้วค่อยไปหาเมื่อคืน เพราะอะไร เพราะว่าไม่ได้จัดสรรปันส่วน ทรัพย์ที่หามาได้เมื่อคืน ทำธุรกิจประเมินแล้ว เดือนนี้จะได้กำไรสุทธิประมาณ 1 ล้าน ซื้อรถเบนซ์คันหนึ่งเลย อย่างนี้สมกับกำไรที่ได้ในเดือนหน้านี้ไหม เพื่อความคล่องตัวของธุรกิจไปติดต่อธุรกิจอะไรจะได้เชื่อถือ ทีนี้มาฟังอีกเรื่องหนึ่งที่มันสะท้อน พอเขาได้เป็นเศรษฐีมาแล้ว

กำไรธุรกิจแบ่งเป็น 4 ส่วน

พอหาเงินมาได้เท่าไรก็ตามนั่นคือกำไรสุทธิ ขอให้นำกำไรนั้นมาแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ไทยก็นำคำนี้ มาสอนลูกสอนหลาน เป็นภาษิตอยู่เหมือนกันว่า
1. ใช้หนี้เก่า
2. ใส่ปากงูเห่า
3. ฝังดินไว้
4. ทิ้งเหว
เป็นยังไง 4 คำนี้ ก็คือ 4 ส่วนที่พูดถึง ส่วนที่ 1 ใช้หนี้เก่าใครเคยมีบุญคุณกับเราบ้าง ใครเคยให้หนี้กับเราบ้าง ใครส่งเสียให้เราเรียน นั่นคือเค้าให้หนี้ กับเราเอาไว้ พ่อแม่
ครูอาจารย์ ผู้ให้โอกาส ผู้มีบุญคุณ ผู้ช่วยเหลือ ทั้งหมดท่านเหล่านั้นได้ให้หนี้กับเรา
เอาไว้ก่อนเมื่อเราได้มาแล้วอย่าลืมท่านเหล่านั้น เพราะอะไร บัณฑิตโบราณจึงไม่ให้ลืมท่านเหล่านั้น ใครก็ตามไม่ลืมบุคคลผู้มีบุญคุณเป็นผู้มีกำลังใจแข็งแกร่งที่สุดในบุคคลที่กำลังประสพปัญหา เตรียมตัวไว้ต่อสู้กับปัญหาที่กำลังจะเกิด ไม่ว่าใครหลีกเลี่ยงปัญหา ไม่ได้ใครก็ตามได้ทดแทนผู้มีคุณ ผู้นั้นมีกำลังใจแข็งแกร่งในขณะที่มีปัญหาประสพปัญหาเกิดขึ้น เค้าจะเป็นผู้แข็งแกร่งมุ่งมั่นมาก ไม่ท้อแท้ ไม่เบื่อหน่าย นี่หลักธรรมที่
พระพุทธเจ้าวางไว้ ดังนั้น ส่วนแรกเลยใช้หนี้เก่า ปัจจุบันทำอย่างนี้ไหม อย่างน้อย
ใครมีครอบครัว ใครมีพ่อมีแม่อยู่ ทำงานหาเงินแบ่งให้พ่อแม่ 1 ใน 4 ส่วน อย่างนี้มีไหม หรือว่าไม่พอแล้วมาขอพ่อแม่อีก ทีนี้มาดูส่วนที่สองใส่ปากงูเห่า ท่านบอกว่า
ภรรยา สามี ช้างสาร งูเห่า ข้าเก่า เมียรัก ท่านเปรียบสามี ภรรยาที่อยู่ร่วมกันเหมือน
งูเห่าอาจจะฉกกัดได้ง่าย ๆ บัณฑิตโบราณท่านว่า จะฉกกัดเมื่อไรก็ได้ นั่นหมายถึงว่าภัยใกล้ตัวที่สุดคือสามีภรรยา ที่ท่านพูดอย่างนี้ไม่ได้หมายถึงว่าเป็นอย่างนี้อยู่ปกติ แต่หมายถึงว่า มีอยู่บ้าง ครอบครัวแตกร้าวเริ่มจากจุดนี้ ไม่ใช่ธุรกิจรัดตัวไม่ใช่ไม่มีจะกิน แต่ประเด็นนี้เป็นหลักพูดง่าย ๆ คือ 1 ใน 4 ส่วนใช้หนี้ผู้มีคุณไปแล้วอีก 1 ใน 4 ส่วนนั้นเลี้ยงครอบครัวนั่นเอง มีภรรยาให้ภรรยา มีสามีให้สามี สมัยก่อน สามีเป็นคนหาเงิน ภรรยาเป็นคนเก็บ

ต่อไปดูส่วนที่สามท่านบอกว่าฝังดินไว้ ในที่นี้หมายถึงว่า รักษาในระดับของทรัพย์ตรงนี้ให้คงที่ ก็คือเข้าประเด็น 1 ใน 4 ส่วน นี้นำไปเก็บรักษาเป็นเงินสดไว้หรือว่าเพิ่มทุนของธุรกิจที่ทำพูดง่าย ๆ ว่า 25% ของกำไรสุทธิเพิ่มเป็นทุนทันที ไม่ต้องเอานำไปเป็นอะไรได้ทั้งนั้น อย่างนี้จะขยายได้เรื่อย ๆ อย่างนี้เรียกว่าฝังดินไว้ ถ้าทุกวันนี้บอกว่าฝังดินไว้นะโบราณแล้ว ทุกวันนี้ฝากธนาคารไว้ ซึ่งคนฝากธนาคารอาจจะเป็นการลงทุนอย่างหนึ่ง
มั่นคงแต่กำไรน้อย ทีนี้มาดูส่วนสุดท้าย ท่านบอกว่าทิ้งลงเหว นั่นคือส่วนที่ผู้ได้เงินมาใช้จ่ายเองไม่ว่าจะกินจะซื้อของฟุ่มเฟือยอะไรก็แล้วแต่ นั่นคือส่วนที่สูญเปล่าไม่ส่งผลตอบแทนอะไรได้ทั้งนั้น นี่คือส่วนที่ทิ้งลงเหว 1 ใน 4 ส่วน แต่ก็ยอมที่จะทิ้ง สมมติว่าเราได้เงินมา 12,500 นี่ต้องใช้จ่ายส่วนที่มันทิ้งเปล่า คือไม่ได้ผลอะไรกลับมาเลยอยากจะกิน อยากจะใช้ของที่ฟุ่มเฟือยของที่สวยงาม แต่บัณฑิตก็ยอมรับได้ว่า 25% ใช้จ่ายแต่อย่าให้เกินนั้น เพราะถือว่าถ้าเกินจะต้องไปดึงจากส่วนอื่นมาใส่จึงจะอยู่ได้ ทีนี้เพื่อการเปรียบเทียบเรื่องนี้ให้ชัดเจนมากขึ้น จะขอยกนิทานเรื่องหนึ่ง นิทานที่จะเล่าต่อไปนี้ไม่ใช่เรื่องของคน แต่เป็นเรื่องของสัตว์ที่ต้องหยิบยกมาเพื่อให้สะท้อนเห็นว่าขนาดสัตว์ยังทำได้แล้วเราเป็นคนทำไมจะทำไม่ได้แล้วคนยิ่งทำได้ดีกว่านั้น

นิทานเรื่องนกแขกเต้า





นกแขกเต้า ตัวหนึ่งมีครอบครัวมีแม่ตาบอด นอนอยู่ในรัง มีลูกเพิ่งจะฟักออกเป็นตัวอ่อน นกแขกเต้าตัวนี้บินออกไปหากิน ไปเจอนาข้าวสาลีของเศรษฐีท่านหนึ่งกว้างขวางหลายร้อยไร่ นกแขกเต้าตัวนี้เป็นทุ่งนาข้าวสุขเหลืองอร่ามก็รีบบินลงไปๆ พร้อมกับฝูงนกแขกเต้าตัวอื่น ๆ ที่รุมกินกันอิ่มแล้วก็บินไป แปลกแต่นกแขกเต้าตัวนี้ต่างจากตัวอื่น ที่กินอิ่มแล้วยังติดเอารวงข้างสาลีคาบติดปากไปทุกวัน จนคนเฝ้านาข้าวสาลีเห็นแล้วแปลกมาก ดูถูกว่านกแขกเต้าตัวนี้เห็นแก่ได้ โลภมาก กินอิ่มแล้วยังไม่พอยังคาบเอาไปด้วย ก็นำเรื่องนี้ไปเล่าให้เศรษฐีนาข้าวสาลีฟัง เศรษฐีก็บอกให้คนเฝ้านาข้าวออกอุบายจับนกตัวนี้ให้ได้ วันต่อมา คนเฝ้านาข้าวสาลีก็วางตาข่ายดักจับเลยตรงจุดที่นกตัวนี้มาลงประจำ พอนกตัวนี้มากินก็ติดกับดักคนเฝ้านาข้าวก็รีบเอาไปให้เศรษฐีดูว่า ดูสิขนาดติดกับดักแล้ว นี่รวงข้าวสาลียังคาบติดปากไม่ยอมวางเลย เป็นที่น่าสงสัยแก่เศรษฐียิ่งนัก เศรษฐีเห็นก็แปลกใจอยู่เหมือนกัน ก็เลยถามเจ้านกแขกเต้าว่า นี่เจ้านกแขกเต้าทำไมเจ้าถึงเห็นแก่ได้ถึงขนาดนี้ เราให้โอกาสบินกินแล้วก็กินไปสิทำไมต้องคาบติดปากมาเยี่ยงนี้ นกแขกเต้าก็พูดกับเศรษฐีว่าที่คาบติดปากไปด้วยทุกวัน ๆ ส่วนหนึ่งเอาไปใช้หนี้เก่า ส่วนหนึ่งเอาไปใส่ปากงูเห่า ส่วนหนึ่งเอาไปฝังเก็บไว้ใช้ในวันหน้า เศรษฐีได้ยินแปลกใจมาก ลองอธิบายสิ นกแขกเต้าอธิบายว่า
ที่รังข้าพเจ้ามีแม่ตาบอดนอนรออยู่ หลังจากกินอิ่มแล้วจะต้องนำส่วนนี้ไปให้แม่ตาบอดที่นอนรออยู่ที่รัง ถ้าไม่เอาไปแม่ก็จะตายเศรษฐีก็บอกว่า อือ..มีเหตุผล แล้วไหนที่บอกว่าใส่ปากงูเห่า ในรังเจ้ามีงูเห่าด้วยหรือ นกตัวนั้นก็บอกว่าที่รังมีภรรยาเลี้ยงลูกอ่อนอยู่ ภรรยาข้าพเจ้านั่นแหละคืองูเห่า เศรษฐีก็สงสัยเป็นยังไงเป็นงูเห่า นกก็อธิบายให้ฟัง แล้วส่วนที่สามล่ะที่เจ้าบอกว่าเอาไปฝังดินไว้ เอาไปฝังดินไว้ทำไม นกแขกเต้าก็บอกว่าในรังมีลูกอ่อนแบเบาะอยู่ ข้าพเจ้าคาบไปแล้วยังเอาบางส่วนไปเลี้ยงลูกอ่อน นี่เป็นการฝังเอาไว้ เมื่อเค้าเติบโตขึ้นข้าพเจ้าแก่ตัว หูหนวก ตาบอด เค้าจะได้เลี้ยงข้าพเจ้าต่อไป นี่คือสร้างวงจรผูกพันระหว่างครอบครัว เพื่อมีการระลึกถึงบุญคุณ พอเศรษฐีได้ยินอย่างนี้ประทับใจมากให้คนเฝ้านาข้าวสาลีปักธงเลย 1 ใน 4 ส่วนเป็นเครื่องหมายบอกว่านกแขกเต้าทุกตัวลงมากินได้ที่ส่วนตรงนี้ เปิดให้นกกินฟรีเพราะซาบซึ้งในข้อปฏิบัติของนกแขกเต้าตัวนี้ เรื่องต่าง ๆ ที่ยกมาเล่า ถ้าเราคิดดูอีกอย่างโดยภาวะดำเนินธุรกิจที่เป็นผู้สร้างงานอะไรอยู่ มีหลายส่วนที่เราละเลยไปมุ่งมั่นแต่จะทำกำไร เลยละเลยพื้นฐานที่มั่นคง ซึ่งเรามองข้าม

อดีตมหาเศรษฐี 5 พันล้าน กับ เงิน 5 บาท

อดีตมหาเศรษฐีของไทยท่านหนึ่ง อยากจะเอ่ยชื่อแต่ว่าเค้ายังมีชีวิตอยู่ก็เลยไม่เอ่ย แต่ถ้าพูดถึงทุกคนก็จะรู้จัก นมข้นหวานยี่ห้อหนึ่งที่มีชื่อเสียงในประเทศไทย ไม่พูดถึงเจ้าของว่าชื่ออะไร ณ บัดนี้ อาตมาเป็นพี่เลี้ยงเค้าอยู่ทุกวัน จากวิบากกรรมที่เค้าทำเองนะไม่ต้องโยงไปถึงอดีตชาติอะไร อาตมารู้จักเค้าเมื่อมี 2538 ก็คืองานค้นคว้าพระไตรปิฎกดึงเข้าไปเกี่ยวข้องก็เลยรู้จัก หลังจากนั้นมาอีก 2 ปี ไม่เจอกันเลย วันที่อาตมารู้จักกับวันที่อาตมาพบเค้า 2 ปี คนละอย่างเลย ในยุคนั้นเค้ามีเงินอยู่ไม่น้อยกว่า 5,000 ล้านบาท เวลาพบกันครั้งแรกนั่นคือทรัพย์สินที่เค้ามีอาตมาไปถึงบ้านพักมีเรือยอรจ์อยู่ 8 ลำ มีรถเบ็นซ์อยู่ 20 กว่าคัน อาตมาไปบ้านพักเค้าที่หาดจอมเทียน ตอนนี้เค้าประสบทุกข์ทางใจ ก็ต้องนิมนต์อาตมาไปพูดอะไรให้ฟังผ่อนคลายมีอยู่ครั้งหนึ่งเมื่อประมาณปี 2542 เมื่อ 2 ปีที่แล้ว อาตมาเล่านิทานให้ฟัง 2 เรื่อง พอจบนิทาน 2 เรื่องนี้ เค้าบอกว่า คำพูดอย่างนี้ถ้าท่านไปอยู่ต่างประเทศคำพูดอย่างนี้มี มูลค่ามากมาย เป็นนักแก้ปัญหาชีวิต หลายคนยอมสละเงินเป็นอันมากแม้แต่นักกีฬาที่มี ชื่อเสียงอย่าง ไทเกอร์ วู๊ด เค้าก็ต้องมีนักปรัชญาหรือแก้ปัญหาชีวิตประจำตัว เวลาเครียดอะไรขึ้นมาก็ต้องมาคุยกับคนนี้
พอพูดเสร็จเค้าปวารณากับอาตมาเลยว่าท่านเรียกลูกน้องอีก 2 คน มาพวกเอ็งมาช่วยข้าฟังหลังจากนี้ไปอีก 3 เดือน คดีที่ฟ้องร้องอยู่จะแพ้หรือชนะก็ตามเรื่องที่ท่านพูดผมพอใจมากผ่อนคลายความทุกข์ลงได้ หลังจากคดีฟ้องร้องหนี้สิ้นสุดผมจะถวายท่าน 2 ล้านบาท อาตมาเฉย ไม่สนใจ อาตมาก็คิดอยู่แต่ว่าคำพูดนี้ออกจากปากของคนที่เกิดทุกข์เวทนาในใจ อาตมาจะไม่ถือเป็นประเด็นแม้ทุกวันนี้อาตมา ก็ไม่เคยถาม ไม่เคยทักท้วง ไม่พูดถึง หลังจากนั้นมาทุกสิ่งทุกอย่างมันผันแปรไปไม่มีแม้แต่คนใช้ในบ้านวันหนึ่งเค้ารีบโทรมาหาอาตมาเมื่อ 3 เดือนที่แล้ว เค้าบอกว่าท่าน วันนี้ผมมีความสุขมาก มีความสุขอะไรล่ะโยม วันนี้ผมหาเงินจะไปกินข้าว หากระเป๋านั้นกระเป๋านี้ ก็ไม่เจอในขณะที่ล้วงเอกสารที่มีเหรียญ 5 หล่นออกมาล่วงลงมา วิ่งเข้าใต้โซฟาชุดมุกราคา 500,000 บาท อยู่คนเดียวดึงลิ้นชักโต๊ะทุกตัวมามีเงินอยู่เพียง 20 บาท และเหรียญ 5 บาทเพิ่งล่วงลงไปวิ่งเข้าใต้โซฟาอีก 5 บาท อายุ 82 หาวิธีทุกอย่าง และงัดเลื่อนโซฟาเอาเงินออกมาได้ 5 บาทมีความสุขมาก ออกไปซื้อโจ๊กที่หน้าปากซอยกินเป็นอาหารเช้าผมไม่เคยกินข้าวมื้อไหนอร่อยเท่ามื้อนี้เลย มีเงิน 25 บาท ซื้อโจ๊กกิน 15 บาท อาตมาก็ถามทำไม เมื่อก่อน 2 – 3 ปีให้หลังมานี่เพียงลูกน้องออกปากเจ้านายอยากไปดูบอลอังกฤษ ก็พาบินไปเลยอยากกินข้าวก็แวะบินมากินข้าวที่ฮ่องกงก็บินไปกินกินข้าวเสร็จประมาณ 4 - 5 หมื่น/ กับข้าวมื้อหนึ่ง แต่เดี๋ยวนี้วันนี้ผมได้กินโจ๊ก 15 บาท ที่ผมงัดเอาเงิน 5 บาท จากใต้โซฟาที่บ้านผมมามันอร่อย ๆ แบบไม่เคยมีมาก่อน และทุกวันนี้เค้ายังโทรมาหาอาตมาบางวันโทรมาถึง 20 กว่าครั้งเพียงโทรมาให้ท่านพูดอะไรเท่านั้นให้ผ่อนคลายความทุกข์ คิดจะฆ่าตัวตายอะไรทุกอย่าง ณ เวลานี้ไม่มีแม้แต่ข้าวจะกิน ไปเที่ยวทวงเงินที่เคยมีคนกู้ยืมเงิน โดยที่ไม่ทำสัญญาไปทวงถามว่ามีเงินหรือยังมีก็เอามาใช้บ้างสิ ลูกหนี้ก็พูดว่า แล้วให้ผมมาทำไม นี่คือความรู้สึกที่เค้าได้รับมันเป็นความทุกข์แสนสาหัสที่เค้าไม่เคยเจอมาก่อน ลูกหลานทอดทิ้งหมดเลย เป็นเศรษฐีที่ตกต่ำมากที่สุด ถ้าสะท้อนข้อไม่ดีของเค้ามันจะตรงกับหลักธรรมอยู่ว่าการใช้จ่ายทรัพย์ ที่ฟุ่มเฟือยเกินไป เชื่อไหมว่าทิปนักร้องคืนหนึ่ง เท่าไรบางคนถึง 3 ล้านบาท เค้าพูดให้อาตมาฟัง ไปกินข้าวพร้อมลูกน้อง 5 - 6 คน วันนั้นคิดยังไงไม่รู้ถามนักร้องสาวคนนึงไปว่าในชีวิตเธอได้อะไรจึงจะมีความสุข สาวนักร้องบอกว่าอยากมีบ้านสักหนึ่งหลัง ก็เลยถามกลับไปว่าหลังละเท่าไร สาวนักร้องบอกว่า 3 ล้าน เชื่อไหมเซ็นเลย 3 ล้าน ยื่นให้เลยน้อยกว่านี้ไม่ต้องพูดถึงมีอยู่วันนึงนิมนต์อาตมาไปนอนค้างที่บ้านบอกว่าขอเถอะ ทุกคำพูดที่ท่านพูดผมมีคนจดบันทึกไว้หมดเลยจะทำเป็นหนังสือเค้าจ้างนักเขียนมาเลยเสร็จ แล้วก็ไปพิมพ์เผยแพร่ อาตมาไปอยู่ 1 คืน ตั้งแต่ 12.00 จนถึง 17.00 โมงเย็นก่อนนอนมีผู้หญิงไปหาที่บ้าน 5 คน อายุ 82 นะ บ้าผู้หญิงทุกวันนี้ยังไม่หาย จุดเสื่อมในชีวิตหลากหลายถือในหลักอารักขะ กับ สมถะชีวิตา ได้กำไรในงานมาแล้วเก็บไว้กี่ส่วน ใช้ไปกี่ส่วน เงินมันหายไปไหนหมดไม่รู้ เพราะธุรกิจถึงจุดอิ่มตัว คู่แข่งมากขึ้น ผลกำไรน้อยลง
ต้องลดต้นทุนผลิต ซึ่งวิธีการที่ธุรกิจมันทรุดต่ำเรื่อย ๆ เพราะคิดว่าตัวเองถึงจุดสูงสุด สมมติว่ามีเงินอยู่ 5,000 ล้านบาท เตรียมตัวไม่ทันที่จะยอมรับความตกต่ำ พอมาถึงจุดสิ้นสุดแล้วเงินที่มีมูลค่าอยู่ 5,000 ล้าน เปลี่ยนไปเป็นไม่มีอะไรเลย ภายในช่วงระยะเวลาแค่ปีกว่า รับไม่ได้ไม่รู้จะกินยังไง ไม่รู้จะนอนตรงไหน ฆ่าตัวตายอย่างเดียวนั่นคือทางออก รีบโทรศัพท์มาคุย ท่านชีวิตผมขึ้นอยู่กับท่าน อาตมาก็ งง….อ้าว อาตมาไปทำอะไรให้โยม วันนี้ชีวิตผมขึ้นอยู่กับท่าน ท่านพูดอะไรก็ได้ ถ้าท่านพูดดี ผมก็มีชีวิต ถ้าท่านพูดไม่ดีชีวิตผมก็ไม่อยู่แน่จะฆ่าตัวตาย อ้าว… แล้วมาขึ้นอยู่กับอาตมาทำไม ก็ชีวิตของโยม ถ้าอยากฆ่า ตัวตายไม่ต้องโทรมาหรอกหรือคุยเสร็จจะฆ่าตัวตายเลยก็ได้ อาตมาก็ไม่ได้ว่าอะไร อาตมาไม่เกี่ยวดองอะไรกับโยม อ้าว.. ทำไมพูดอย่างนี้ อ้าว..แล้วจะให้พูดยังไง การตัดสินใจไม่มีใครแสดงความเป็นใหญ่ได้ดีเท่ากับเป็นใหญ่ในตัวเอง ถ้าเป็นใหญ่ในตัวเองได้ทุกอย่างควบคุมได้หมด ถ้าเป็นใหญ่ในตัวเองไม่ได้อย่าไปควบคุมอะไรเลยทำยังไงเริ่มสนใจ คุยอยู่ประมาณ 15 นาที มีโทรศัพท์สายอื่นเข้ามาก็เลยเลิกคุย และทุกวันนี้เพิ่งจะมีช่วง 10 วันมานี้ไม่โทรมาเลย ที่ไม่โทรมาเพราะว่ามีงานชิ้นหนึ่งเข้ามาในมือ แม้จะฐานะการเงินธุรกิจตกต่ำลงก็จริง แต่ว่าความเชื่อถือในความสามารถยังมีคนให้ความไว้วางใจ ตอนนี้รัฐบาลจีนประมูลสร้างตึกรัฐสภาใช้เค้าเป็นผู้ค้ำประกัน ยังมีค่าพอให้เค้ามองเห็นได้อยู่เค้าบอกว่าตอนนี้ถ้าประธานรัฐสภาคุณอุทัย เซ็นเสร็จเค้าจะได้มาประมาณ 50 ล้านได้มาเปล่า ๆ 50 ล้าน ถ้าสถานะการณ์ดีขึ้นเค้าก็จะขาดหายไป ถ้าสถานะการณ์เลวลงเค้าก็จะโทรมา ยิ่งโทรถี่เท่าไรยิ่งแย่มาก ซึ่งก็เลยบอกว่าชีวิตของโยมตั้งแต่อาตมาได้ยินมาแย่ ๆ ยิ่งกว่าในพระไตรปิฎกด้วยซ้ำ ถือว่าตกต่ำมาก เพราะเรื่องที่อาตมาอ่านมายังไม่มีเรื่องใดแย่เท่าเรื่องนี้ ถามว่าแย่ยังไง ไม่ใช่แย่ที่ว่าคนรวยแล้วจนแต่แย่ที่จิตใจโยม แย่ที่สุดเท่าที่อาตมาเห็นมา คำพูดอาตมาหลาย ๆ ครั้ง เค้าบอกว่าคำพูดอย่างนี้ไม่เคยให้ใครมาพูดกับผม อาตมาก็บอกว่า อาตมาไม่เคยอาศัยอะไรโยม อาตมาพูดยังไงก็ได้ ทุกคนที่เป็นลูกน้องโยมมีแต่
หัวประจบเค้าจะกล้าพูดคำนี้กับโยมเหรอ ไม่มีใครกล้าพูด แม้แต่โยมปวารณาไว้ 2 ล้าน อาตมาไม่เคยพูดถึง อาตมาไม่เคยถามถึงเลยใช่ไหม แล้ว..ทุกวันนี้ก็ยังมีชีวิตอยู่แต่ไม่รู้ไปถึงไหน เหตุในอดีตชาติเป็นเพียงอัธยาศัย ๆ หนึ่งที่คอยปิดบังทุกคนเกิดมามีปัญญาระดับหนึ่ง กิจใด ๆ ที่ส่งผลให้เกิดเป็นมนุษย์มาได้นั้น คือมีปัญญาพอสมควรแล้ว แต่เมื่อเกิดเป็นมนุษย์แล้วตัวที่คอยปิดบังปัญญาตรงนี้ คือ ความอยากเป็นหลัก หลายคนทำธุรกิจ อยากจะรวยอยากจะมีนั่นมีนี่ เพียงแค่นี้ก็อยากจะดิ้นรนเพียงเพื่อให้ได้มีนั่นคือมีสิ่ง ๆ หนึ่งที่มาปิดบังปัญญาตัวเองเอาไว้ ถ้าจะพูดให้ชัดเจนก็คือตัวกิเลสตัณหาที่ไม่แบ่งเบาเลยแต่กลับเพิ่มมากขึ้น ตามหลักธรรมมันไม่มากไม่น้อย แต่ความสมดุลที่มันถ่วงดุลกันระหว่างความดีกับความไม่ดีระหว่างสว่างกับมืด เมื่อความสว่างลดน้อยลงความมืดก็เข้ามาแทนเมื่อความสว่างมากขึ้น ความมืดก็จะเบาบางลดน้อยลง เกิดความอยากครอบงำมากเท่าไร กระตือรือร้นวิ่งเต้นยิ่งอยากสร้างฐานะมากเท่าไรนั้น นั่นแหละคือความอยากผลักดัน มันเป็นความมืดครอบงำจิตใจอยู่ ในขณะที่เราจะสปีดตัวในขณะนั้นนั่นแหล่ะคือคนที่ประมาทที่สุด ไปเร็วไปช้าขึ้นอยู่กับเก่งกับเฮง คนไปเร็วเท่าไรยิ่งมีความพลั้งเผลอมากเท่านั้น จะมีช่องโหว่มาก ความมั่นคงมีน้อย ขึ้นเร็ว ลงเร็ว แต่หลายคนหาทางออกให้ตัวเองว่าเป็นประสบการณ์





ความคิดเห็น

kohsija กล่าวว่า
เนื้อหาดีมากเลยครับ อ่านเข้าใจก็ง่าย
เป็นประโยชน์ต่อคนทั่วไปจริงๆ

เสียแต่จัดหน้าอ่านยากไปหน่อย
อยากให้เว้นวรรค เริ่มย่อหน้าให้อ่านง่ายกว่านี้นิดนึงครับ