จับเสือมือเปล่า ทุนทางปัญญาคือที่มาของสินทรัพย์ บทที่ 5

ทุนทางปัญญาคือที่มาของสินทรัพย์

สัดส่วนของราคาที่จะได้มาจากสมองมากกว่ามาจากวัตถุดิบและทักษะ ต้องเข้าใจตรงนี้ เพราะฉะนั้นต้องเอาสมองเป็นตัวเพิ่มคุณค่ากับสินค้า มากขึ้นเท่าไรก็จะได้เงินมากขึ้นเท่านั้น เพราะฉะนั้นความรู้และปัญญาจึงเป็นหัวใจสำคัญของโลกข้างหน้า ท่านนายกรัฐมนตรีได้กล่าวปาฐกถา ไว้ในงานสมาคมทุนนักเรียนรัฐบาล

ถ้าท่านได้ติดตามข่าวสารเกี่ยวกับคดีมรดกของป๋าต๊อก ตลกศิลปินแห่งชาติ ที่เพิ่งถึงแก่กรรมไปเมื่อไม่นานมานี้ มรดกตกทอดที่ลูกหลานกำลังฟ้องร้องกันอยู่นั้น ถ้าให้ท่านเลือกท่านจะเลือกอะไร จากข้อความในหนังสือพิมพ์บอกว่าทรัพย์สินของป๋าต๊อกมีที่ดิน 100 ไร่และลิขสิทธิ์ภาพยนตร์หลายเรื่องรวมถึงคาแร๊คเตอร์ จากภาพยนตร์ แด็กคูล่าต๊อก ด้วยครับ ที่ดินก็น่าสนใจแต่สภาพคล่องต่ำไม่เหมือนกับสินทรัพย์ประเภทอื่น
สำหรับลิขสิทธิ์ของภาพยนตร์และสัญลักษณ์การ์ตูน แด๊กคูล่าต๊อกก็น่าสนใจ ถ้าใครสังเกตให้ดูขนมกรอบปาร์ตี้มีการ์ตูนแด๊กคูล่าต๊อกติดอยู่ข้างซองด้วยครับ โดยทางทีมงานของคุณบอย โกสิยพงษ์เป็นผู้ออกแบบและจ่ายค่าลิขสิทธิ์ให้กับป๋าต๊อก


ถ้าหากถามผมว่าถ้าผมเป็นทายาทของป๋าต๊อกผมจะเลือกอะไร ผมจะเลือกลิขสิทธิ์ดีกว่าเพราะอาจจะมีราคามากกว่าที่ดินในอนาคต ผมใช้หลักการอนุมานใกล้เคียงกับเอลวิส เพรสลี่ย์ ราชาเพลงร๊อคชื่อก้องโลกแม้ว่าวันนี้จะจากโลกไปกว่า 25 ปี มีรายงานบอกว่าลิขสิทธิ์ต่าง ๆ สามารถทำเงินให้กับทายาทและผู้ถือหุ้นได้มากกว่าขณะที่เอลวิสยังมีชีวิตอยู่เสียด้วยครับ
เพราะฉะนั้นผมอยากให้ทุกท่านได้สนใจเกี่ยวกับเรื่องของทรัพย์สินทางปัญญาไว้ด้วย
และหนังสือเล่มนี้ต้องการให้สะสมทุนทางปํญญาเพื่อเป็นที่มาของทรัพย์สินทางปัญญาต่อไป


เรียนรู้จาก Grammy
แม้ว่าคุณอภิรักษ์ โกษะโยธินจะลาออกจาก GMM grammy ไปอยู่บริษัทมือถือ TA orange ก็คงไม่สะเทือนมากนักในความเห็นของผมซึ่งอาจจะผิดก็ได้ เพราะผมมองว่าทรัพย์สินทางปัญญาและแหล่งสร้างเงินนั้นอยู่ที่ลิขสิทธิ์เพลงของแกรมมี่ที่ถือไว้เป็นพัน ๆ เพลง ใช้อย่างไม่มีวันหมด ยังคงอยู่และนำมาปรับเปลี่ยนให้นักร้อง หน้าเก่า หน้าใหม่ ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนให้เข้ากับยุคสมัยและกลุ่มของผู้บริโภคได้ตลอดเวลา เมื่อยุคโทรศัพท์มือถือครองเมือง ศิลปินและแกรมมี่ยังสามารถขายลิขสิทธิ์ของเพลงไปเป็น ringtone ได้อีกด้วย ผมเคยคุยกับทางผู้บริหารของ แกรมมี่ว่า การดาวน์โหลด 10 บาทต่อครั้ง ศิลปินผู้ประพันธ์จะได้ครั้งละ 1-2 บาทตัวเลขจะอยู่ประมาณนี้
สิ่งที่น่าเรียนรู้จาก grammy คือการบริหารลิขสิทธิ์ ทรัพย์สินทางปัญญาไว้อย่างน่าสนใจ
ผมได้มีโอกาสคุยกับเพื่อนที่เป็น DJ จัดรายการเพลงซึ่งเคารพนับถือกันอยู่ในวงการมาเป็นสิบปีบอกไว่อย่างน่าสนใจว่า แกรมมี่ มีวิธีการบริหารคนและลิขสิทธิ์อย่างน่าสนใจ เริ่มจากผุ้แต่งเพลง คนเล่านี้จะมีเงินเดือน
ให้เป็นประจำ ถ้าหากแต่เพลงออกบันทึกเทปจะได้ค่าตอบแทนประมาณ 3-4 หมื่นบาทต่อเพลง
ถ้าหากมีการนำมาเรียบเรียงใหม่ให้กับนักร้องคนอื่นหรือมีการรวมฮิตไม่ว่าอะไรก็ตามแล้วออกจำหน่าย
ค่าตอบแทนจะได้ม้วนละ1-2 บาท การบริหารทรัพย์สินทางปัญญาแบบนี้ก็ได้ทุกฝ่ายเลยนะครับ
ท่านผู้อ่านลองคิดดูซิครับว่า ลิขสิทธิ์ในเพลงไม่ว่าเทคโนโลยีจะเปลี่ยนไปรวดเร็วอย่างไรก็ตาม
ไม่ว่าจะเป็นเทป,เทปแม่เหล็ก, CD ,DVD อะไรก็ตามสิทธินี้ก็ยังคงติดตามไป อันนี้ไม่รวมถึงการละเมิดลิขสิทธิ์นะครับ ซึ่งปัจจุบันทำได้ง่ายมาก ๆ
ผมอยากฝากให้มองในจุดนี้เพื่อให้ได้เห็นความยิ่งใหญ่ของทรัพย์สินทางปัญญา ขอให้จับตาดูคุณ
เสกสรร สุขพิมาย แห่งวง LOSO คนนี้แต่เพลงเองเล่นเอง คงได้ค่าลิขสิทธิ์ไม่น้อย ไม่เพียงแค่ท่านนี้นะครับยังมีครูเพลงและนักประพันธ์เพลงอีกหลายท่านที่เตรียมเป็นเศรษฐีจากลิขสิทธิ์เพลงได้การจับเสือมือเปล่า
แบบไม่ต้องใช้แรง แต่ใช้สมองซีกซ้ายมากกว่าอย่างอื่น



ที่มาของการสร้างระบบทรัพย์สินทางปัญญา

หนึ่งในแรงบันดาลใจที่ทำให้ผมตัดสินใจเขียนหนังสือเรื่องนี้คือได้อ่านนิตยสาร Forbes ฉบับเดือนมิถุนายน 2545 กองบรรณาธิการได้อธิบายถึงประวัติความเป็นมาของระบบทรัพย์สินทางปัญญา แนะนำให้รู้จักนักประดิษฐ์,ปัญหาของการจดสิทธิบัตร ซึ่งให้รายละเอียดได้อย่างดี ทำให้ผมรู้สึกว่าประเทศไทยของเรายังขาดความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ทั้งในภาครัฐและเอกชน รวมถึงภาคการศึกษา เพราะว่าเรามีทรัพย์สินทางปัญญาอยู่เยอะมากแต่
ไม่ได้ถูกนำเข้าระบบการจดสิทธิบัตรและลิขสิทธิ์เช่นเดียวกับที่สหรัฐอเมริกา ซึ่งทางผู้ก่อตั้งประเทศได้วางระบบไว้เมื่อสมัยเริ่มประกาศเอกราชใหม่ ๆ และเพิ่งครบรอบ 200 ปีเมื่อปี พ.ศ. 2545 นี้เองครับ
ผมขอพาทุกท่านไปรู้จักกับระบบทรัพย์สินทางปัญญาของสหรัฐ โดยได้เรียบเรียงบางส่วนมาจากนิตยสาร forbes ซึ่งเขียนโดย ไมเคิล มาโลน ถือว่าสุดยอด จริงๆ ครับ
สหรัฐอเมริกาแน่นอนว่าปัจจุบันเป็นประเทศมหาอำนาจ ทรัพย์สินรายได้ของประเทศส่วนใหญ่มากจากการประดิษฐ์คิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ เกือบทุกอุตสาหกรรม ไม่ต้องดูไกลครับ ซอฟต์แวร์ของคุณบิลเกต
ก็กินไปแล้วเท่าไหร่ไม่ทราบทั้ง Windows , Microsoft Office , เกมส์ เมาส์,คีย์บอร์ด ,หนังสือ
ลองหันไปมองท้องฟ้าจะเห็นเครื่องบิน boeing ในรุ่นต่าง ๆ 747, 737 ไม่เพียงแค่นั้นเครื่องบินทหารก็มี ทางฝั่งยุโรป ประกอยไปด้วยเทคโนโลยี รถไฟฟ้า Siemen , โทรศัพท์มือถือ Nokia ,Ericsson
ไปทางญี่ปุ่น โยอิชิโร่ ฮอนด้า ผู้สร้างบริษัทฮอนด้าให้ยิ่งใหญ่ เรานี่แหละขับสิ่งที่เขาคิดขึ้นมา ,Toyota ,Mitsubishi ,Isuzu สุดจะพรรณา ก็มาจากความคิดสิทธิบัตรคนของประเทศทั้งนั้น
ประเทศสหรัฐฯ ยิ่งใหญ่จากการวางระบบประเทศของกลุ่มคนไม่กี่คนเท่านั้น เมื่อสองร้อยกว่าปีที่ผ่านมา ที่เมือง ฟิลาเดลเฟีย สหรัฐอเมริกา เมื่อปี 2542 ผมได้มีโอกาสไปเยี่ยมชมสถานที่สำคัญในการร่างรัฐธรรมนูญของสหรัฐฯที่เมืองนี้ ครั้งนั้น ต้องขอบคุณทางผู้บังคับบัญชาของผมที่ อ.ส.ม.ท. และบริษัทอินเทล คนที่ผลิตชิพนั่นแหละครับ ให้ไปทำข่าวการประกวดโครงานวิทยาศาสตร์ The Intel International Science and Engineering Fair (ISEF)
(www.intel.com/education/isef/index.htm) นักเรียนจากทั่วโลกที่เมืองนั้น ปัจจุบันนี้ผมเข้าใจแล้วว่าการประกวดอย่างนี้ดีมากเพราะทำให้เราได้เจอความทรัพย์สินทางปัญญาใหม่ ๆ จากบรรดาเด็กอัจฉริยะทั้งหลาย บ้านเราถ้ามีจัดบ่อย ๆ จะดีมากและต้องทำให้เข้าระบบทรัพย์สินทางปัญญาด้วยจะดีมากเพราะผู้ที่คิดค้นจะได้มีรายได้และมีกำลังใจในการสร้างสรรค์ผลงานต่อไปด้วยครับ
อดีอประธานาธิบดี โธมัส เจฟเฟอร์สัน ประธานาธิบดีคนที่ 3 ของสหรัฐฯเป็นนักปราชญ์หลายด้าน
เป็นหนึ่งในผู้ร่างรัฐธรรมนูญของสหรัฐ ฯ ไม่เพียงแต่วางกฏกติการะเบียบให้กับประเทศประชาธิปไตยแห่งนี้
แต่ยังได้วางระบบทรัพย์สินทางปัญญาไว้ด้วย หน่วยงานนั้นก็คือ



The U.S. Patent and Trademark office (USPTO) ใครที่สนใจคลี๊กเข้าไปอ่านได้ที่ www.uspto.org
ท่านสามารถเข้าไปค้นหาสิทธิบัตรต่าง ๆ ได้และหาองค์ความรู้เกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาได้ครับ
ไม่เพียงแค่นั้นครับสหรัฐฯได้ให้ความสำคัญของการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา
ผ่านทางรัฐธรรมนูญของสหรัฐฯ มาตรา 1 วรรค 8 ซึ่งเป็นการให้ความคุ้มครองกับทรัพย์สินทางปัญญา
เชื่อหรือไม่ครับว่าตั้งแต่ตั้งหน่วยงานนี้ขึ้นมามีคนจดสิทธิบัตรได้รับอนุญาตกว่า 6 ล้านใบแล้ว
สำหรับผู้ที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์มือถือ Palm คงรู้จักการ Hot sync คือการโอนย้ายข้อมูล
ระหว่างเคร่อง Palm กับเครื่อง PC เลขที่ของสิทธิบัตรนี้คืออันดับที่ 6 ล้านครับ เป็นของนาย
jeff Hawkins (ปัจจุบันเป็นผู้บริหาร บ. Handspring) จดไว้เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 1999


สิทธิบัตรที่น่าสนใจ มีมากมายที่เราสามารถทราบได้ว่าใครเป็นผู้คิดค้นขึ้นและจดทะเบียนไว้ในปีใด
สิทธิบัตรที่เรารู้จักกันดี อย่างเช่น โทรศัพท์ของ อเล็กซานเดอร์ แกรเฮมเบล ,เครื่องบินของพี่น้องตระกูลไรท์,หลอดไฟของโธวัส อัลวา เอดิสัน เป็นต้น



ผมขอนำบทความส่วนหนึ่งของ ผศ.ปิติกุล จีระมงคลพาณิชย์ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งน่าสนใจและให้รายละเอียดของทรัพย์สินทางปัญญา
จากบทความชื่อเรื่อง การนำทรัพย์สินทางปัญญาเป็นหลักประกันการชำระหนี้
ซึ่งท่านสามารถหาอ่านฉบับเต็มได้ที่เว็บไซค์ www.lawonline.co.th

ทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual property)
แม้โดยความคิดของบุคคลทั่วไปมีความเห็นกันว่า ทรัพย์สินทางปัญญาหมายถึงสิ่งที่เป็นรูปร่างอันเนื่องมาจากการกระทำทางสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ จากความคิดด้วยปัญญาอันตอบสนองจากมันสมองของมนุษย์ เช่น แนวความคิด สิ่งประดิษฐ์ บทกวี วรรณกรรม การออกแบบ ไมโครคอมพิวเตอร์ ภาพวาด และตัวการ์ตูนมนุษย์ค้างคาว เป็นต้น แต่โดยความหมายในแง่ของกฎหมายแล้ว ทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual property) หมายความถึงสิทธิอันเกิดขึ้นจากผลิตผลทางความคิดมากกว่าจะหมายถึงตัวผลิตผลที่ได้รับการสร้างสรรค์ขึ้น ด้วยเหตุนี้ คำว่า “ทรัพย์สินทางปัญญา” จึงหมายถึงสิทธิตามกฎหมายซึ่งได้มีการกำหนดขึ้นอันเกี่ยวด้วยกับผลผลิตจากปํญญาของมนุษย์ เช่น สิทธิของนักประพันธ์ที่จะหยุดการที่บุคคลใดนำงานออกพิมพ์จำหน่ายโดยมิได้รับอนุญาต สิทธิของบริษัทแผ่นเสียงที่จะห้ามการที่บุคคลใดผลิตสิ่งบันทึกเสียงปลอม และสิทธิของผู้ประดิษฐ์เสาอากาศโทรทัศน์แบบใหม่ซึ่งได้รับสิทธิบัตรตามกฎหมายในการดำเนินคดีกับบุคคลใดที่ผลิตเลียนแบบเสาอากาศนั้นและได้นำผลิตภัณฑ์ดังกล่าว ซึ่งผลิตขึ้นนั้นออกจำหน่ายแก่ประชาชน เป็นต้น ทำซ้ำหรือดัดแปลง การนำงานออกเผยแพร่ต่อสาธารณชน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับบทบัญญัติของกฎหมายอันเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาแต่ละประเภทได้กำหนดหลักเกณฑ์และขอบเขตแห่งสิทธิไว้เพื่อรองรับ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วกฎหมายจะกำหนดให้เป็นสิทธิแต่ผู้เดียว (exclusive right) ของเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญาเหล่านั้น
การสร้างสรรค์และการค้นคิดใด ๆ จากภูมิปัญญาของผู้สร้างสรรค์ หรือสิทธิต่าง ๆ ตามกฎหมายในชื่อเสียง (reputation) หรือกู๊ดวิลล์ (goodwill) ทางการค้า นอกจากนี้ เมื่อสาระสำคัญของทรัพย์สินทางปัญญาเกี่ยวพันกับสิ่งต่าง ๆ อย่างกว้างขวางมากตราบเท่าที่ปัญญาของมนุษย์จะสามารถค้นคิดสร้างสรรค์ ดังเช่นงานวรรณกรรมและศิลปกรรม ภาพยนตร์โปรแกรมคอมพิวเตอร์ (computer programs) การประดิษฐ์ (inventions) การออกแบบ (designs) และเครื่องหมายซึ่งใช้กับสินค้าหรือบริการต่าง ๆ (marks for goods or services) ของผู้ประกอบกิจการค้าต่าง ๆ ตลอดจนการค้นคิดเพาะพันธุ์พืชใหม่ (plant and seed varieties) กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาจึงย่อมมีขอบเขตอันกว้างขวางตามเจตนารมณ์เพื่อการคุ้มครองสิทธิของเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญาแต่ละแขนง โดยหน้าที่อันสำคัญของกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาก็คือ การยับยั้งการกระทำใด ๆ ของบุคคลอื่นที่ปราศจากสิทธิตามกฎหมายไม่ให้เกิดการลอกเลียน หรือในการเอาเปรียบโดยไม่เป็นธรรมจากการกระทำเพื่อใช้ประโยชน์จากงานสร้างสรรค์ การค้นคิดหรือคิดทำ และชื่อเสียงทางการค้าของบุคคลอื่น รวมทั้งกำหนดลักษณะของการเยียวยาแก้ไข (remedies) จากการกระทำเหล่านั้นอันก่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของทรัพย์สินทางปัญญาแต่ละแขนงนั้น



งานด้านทรัพย์สินทางปัญญาเป็นกฏหมายสำคัญฉบับหนึ่งของประเทศไทย ซึ่งคนไทยไม่ค่อยให้ความสำคัญทางทรัพย์สินทางปัญญามากนักซึ่งรวมไปถึงงานด้านลิขสิทธ์ งานด้านสิทธิบัตร และงานเครื่องหมายการค้า ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นทรัพย์สินทางปัญญา


อ่านเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาประกอบ
กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์
- www.ipthailand.org
-www.usa.or.th/services/docs/reports/ipr-t.htm

ความคิดเห็น