ภาพจากหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
หลังจากที่ผมเห็นภาพนี้ผมอยากจะเขียนเล่าว่า แท่นหลักศิลาตรงภูมิพลสแควร์นั้นมีที่มาที่ไปอย่างไร
ใครเป็นผู้สร้างขึ้น สร้างมาตั้งแต่เมื่อไหร่ ข้างใต้แท่นหลักศิลานั้นมีอะไรบรรจุอยู่ เงินที่สร้างมาจากไหน
บังเอิญเป็นอย่างยิ่งว่า เมื่อต้นปี เดือนมกราคม ถึง เดือน ต้นเดือนมีนาคม พ.ศ. 2552
ผมได้มีโอกาสไปพักอาศัยและทำงานอยู่กับผู้ที่สร้างแท่นหลักศิลาอนุสาวรีย์ภูมิพลสแควร์ นั่นก็คือ
มูลนิธิ The King Of Thailand Birthplace Foundation หรือ มูลนิธิพระราชสมภพในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
คลิปภาพประวัติการสร้างอนุสาวรีย์ภูมิพลสแควร์ ติดตั้งการติดตั้งแท่นศิลาและการเฉลิมฉลอง
คุณชลธณี แก้วโรจน์ และ คุณมานะ สงวนสุข สองสามีภรรยาชาวไทยที่เป็นผู้ก่อตั้งมูลนิธิ ทั้งสองท่านเป็นสามีภรรยา อพยพย้ายถิ่นฐานจากเมืองไทยไปตั้งรกรากอยู่ที่สหรัฐอเมริกา ใน พ.ศ. 2523 คุณมานะ เป็นชาวจังหวัดนครสวรรค์ รับราชการครูมาก่อน ส่วนคุณชลธนี
เป็นชาวอำเภอท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา ก่อนไปอยู่สหรัฐฯ เธอรับราชการครู
คุณชลธณี แก้วโรจน์ และ คุณมานะ สงวนสุข ผู้ก่อตั้งมูลนิธิ KTBF
มูลนิธิ The King Of Thailand Birthplace (http://thailink.com/ktbf) ตั้งอยู่ที่บ้านอาศัยของทั้งสองท่าน มูลนิธิได้ทำการรวบรวมประวัติศาสตร์เกี่ยวกับสมเด็จพระราชบิดา และสมเด็จย่า เมื่อครั้งมาเรียนหนังสือที่ โรงเรียนการสาธารณะสุขและการแพทย์มหาลัยฮาร์วาร์ด ค้นคว้าอย่างละเอียดลึกซึ้ง
ตั้งแต่สมเด็จพระราชบิดาทำไมถึงมาเรียนที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ได้มีการค้นคว้าจาก
หนังสือพิมพ์นิวยอร์คไทม์ โดยคุณมานะ สงวนสุข ได้เคยแปลไว้ และ ผู้เขียนได้ทำการอัดคลิปโพสไว้บนยูทูบการเดินทางกลับประเทศไทย นอกจากนี้ทางมูลนิธิยังได้เก็บประวัติศาสตร์ที่ไม่ได้ถูกบันทึกไว้ในเมืองไทยเช่น ทำไมสมเด็จย่าทำไมต้องไปพระราชสมภพในหลวงที่โรงพยาบาลเมาท์ออเบริ์นหรือโรงพยาบาลเคมบริดจ์ อ่านเพิ่มเติม สถานที่ประทับของสมเด็จพระราชบิดาในบอสตันและเคมบริดจ์
เนื่องจาก ดร.ฟรานซิล บีแซร์ (พระยากัลยาณไมตรี) ที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน ในหลวง ร.7 ท่านเป็นลูกเขยของอดีตประธานาธิาบดีวูดโร วิลสัน และเป็นอาจารย์ที่โรงเรียนกฏหมายฮาร์วาร์ด เป็นเพื่อนกับสมเด็จพระราชบิดา ซึ่งมีบ้านอยู่แถวเคมบริดจ์ได้บอกให้สมเด็จย่ามาฝากครรภ์และคลอดที่นี่เพื่อตัวท่านและภรรยาจะได้คอยดูแลทารกน้อยหรือในหลวงในวันที่ 5 ธ.ค. 2470 และ ทางมูลนิธิยังได้ทำการรวบรวมบ้านที่ประทับของสมเด็จพระราชบิดาและสมเด็จย่าภายในเมืองบอสตันและเคมบริดจ์ให้คนไทยที่ไปเที่ยวได้เดินทางไปเที่ยวชมบ้านเหล่านั้นเพื่อเป็นการรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ ล่าสุดเมื่อวันที่ 25-27 สิงหาคม 2559 ทางมูลนิธิได้จัดงานรำลึกครบรอบ 100 ปี
ที่สมเด็จพระราชบิดามาเรียนที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ที่คณะสาธารณสุขศาสตร์ และ โรงเรียนการแพทย์ฮาร์วาร์ด (Harvard Medical School) อ่านเพิ่มเติม
ดร.ฟรานซิส บีแซร์ (พระยากัลยณไมตรี)
เนื่องจาก ดร.ฟรานซิล บีแซร์ (พระยากัลยาณไมตรี) ที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน ในหลวง ร.7 ท่านเป็นลูกเขยของอดีตประธานาธิาบดีวูดโร วิลสัน และเป็นอาจารย์ที่โรงเรียนกฏหมายฮาร์วาร์ด เป็นเพื่อนกับสมเด็จพระราชบิดา ซึ่งมีบ้านอยู่แถวเคมบริดจ์ได้บอกให้สมเด็จย่ามาฝากครรภ์และคลอดที่นี่เพื่อตัวท่านและภรรยาจะได้คอยดูแลทารกน้อยหรือในหลวงในวันที่ 5 ธ.ค. 2470 และ ทางมูลนิธิยังได้ทำการรวบรวมบ้านที่ประทับของสมเด็จพระราชบิดาและสมเด็จย่าภายในเมืองบอสตันและเคมบริดจ์ให้คนไทยที่ไปเที่ยวได้เดินทางไปเที่ยวชมบ้านเหล่านั้นเพื่อเป็นการรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ ล่าสุดเมื่อวันที่ 25-27 สิงหาคม 2559 ทางมูลนิธิได้จัดงานรำลึกครบรอบ 100 ปี
ความสัมพันธ์ประเทศไทยกับมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
คลิปคุณมานะ สงวนสุข ผู้ก่อตั้งมูลนิธิ แปลหนังสือพิมพ์นิวยอร์คไทม์ สมเด็จพระราชบิดาให้สัมภาษณ์ PRINCE COMES HERE TO STUDY FOR SIAM ฉบับวันที่ 24 กันยายน 2459 (ค.ศ.1916)
น่าแปลกตรงกับวันมหิดล คลิ๊กดาวน์โหลดอ่าน
http://query.nytimes.com/gst/abstract.html?res=9B0DE4DD1F3FE233A25756C2A96F9C946796D6CF&legacy=true
คุณชลธณีเคย เล่าให้ผมฟังว่า “ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ที่จะสร้างอนุสาวรีย์ได้ เพราะว่า ชาวบ้านและชุมชนไม่ค่อยเข้าใจวัตถุประสงค์ที่ต้องการทำ และสหรัฐอเมริกาก็ไม่มีกษัตริย์ กว่าจะก่อสร้างได้กินเวลาและอาศัยความสัมพันธ์ภายหลังจากเพื่อนได้มาเป็นนายกเทศมนตรีเมืองเคมบริดจ์ และการสร้างอนุสาวรีย์เป็นเหมือนกับของขวัญวันเกิดของในหลวงอายุครบรอบ 76 พรรษาใน ค.ศ. 2003 (พ.ศ.2546) อนุสาวรีย์เป็นแท่นศิลาเรียกอย่างเป็นทางการว่า “ King of Thailand Birthplace Monument” ตั้งอยู่ใน ภูมิพลสแควร์ แปลว่า อนุสรณ์สถานพระราชสมภพในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งมีชาวอเมริกันเป็นผู้ตั้งชื่อและร่วมแปลเป็นภาษาไทย
ประธานาธิบดีวูดโร วิลสัน (คนยืน) ดร.ฟรานซิ บีแซร์ และเด็กทารา ฟรานซิสบีแซร์จูเนียร์
(เคยมาอยู่เมืองไทย)
คุณชลธณี แก้วโรจน์ ถ่ายภาพกับ ฟรานซิส บีแซร์จูเนียร์ (เสียชีวิตแล้ว)
อนุสาวรีย์เริ่มสร้างในปี ค.ศ.2002 ก่อนจะเริ่มสร้างถูกปฏิเสธจากนายกเทศมนตรีเมืองเคมบริดจ์มาถึง 3-4 สมัย เพราะจะต้องผ่านคณะกรรมการของฮาร์วาร์ดสแควร์ จนกระทั่งเวลาผ่านไปเพื่อนชื่อเดวิด ได้เลื่อนเป็นนายกเทศมนตรีเคมบริดจ์ ก็ถามว่ามูลนิธิต้องการทำอะไรก็เลยบอกเขาไปว่าต้องการปรับภูมิทัศน์ของภูมิพลสแควร์
พี่ชลธณีบอกเล่าให้ฟังว่า “คิงภูมิพลสแควร์มีอยู่ก่อนแล้ว ซึ่งสมเด็จพระเทพฯ และ
สมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์เคยมาทรงเปิดไว้ โดยเมืองเคมบริดจ์เป็นผู้สร้าง มีเสาสูงๆ เขียนชื่อในหลวง คนไทยที่ไปถีงเมืองเคมบริดจ์ ผ่านไปมา ก็หาไม่พบ เพราะเหมือนกับป้ายชื่อถนน ฝรั่งขี่จักรยานผ่านไปมาก็นำจักรยานมาล๊อคคอคล้องไปซะอีก เป็นการไม่สมเพราะเกียรติอย่างยิ่ง แต่ทางมูลนิธิเป็นผู้สร้างแท่นศิลาอนุสาวรีย์ สร้างให้สมพระเกียติกับพระเจ้าอยู่หัวของเรา
สมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์เคยมาทรงเปิดไว้ โดยเมืองเคมบริดจ์เป็นผู้สร้าง มีเสาสูงๆ เขียนชื่อในหลวง คนไทยที่ไปถีงเมืองเคมบริดจ์ ผ่านไปมา ก็หาไม่พบ เพราะเหมือนกับป้ายชื่อถนน ฝรั่งขี่จักรยานผ่านไปมาก็นำจักรยานมาล๊อคคอคล้องไปซะอีก เป็นการไม่สมเพราะเกียรติอย่างยิ่ง แต่ทางมูลนิธิเป็นผู้สร้างแท่นศิลาอนุสาวรีย์ สร้างให้สมพระเกียติกับพระเจ้าอยู่หัวของเรา
คุณเฉลิมพล อินถะ ซึ่งเป็นเพื่อนกับคุณชลธนี เป็นสถาปนิกผู้ออกแบบแทนศิลาขึ้นมา และได้เป็นผู้ที่บริจาคเงินในการก่อสร้างมากที่สุด และทางเมืองเคมบริดจ์ ก็อนุญาตให้มูลนิธิ KTBF ได้สร้างอนุสาวรีย์
อนุสาวรีย์อยู่ใกล้กับฮาร์วาร์ดสแควร์มาก และตั้งอยู่ไม่ไกลจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
การติดตั้งอนุสาวรีย์
“ใต้ฐานศิลามีอะไรอยู่บ้างครับพี่” ผมถามพี่ชลธณีเพิ่มเติม
“พี่เขียนพินัยกรรมไว้ หลังจากตายไปแล้วว่าในหลักศิลานั้นมีอะไร”
“แล้วทำไมชุมชนถึงไม่ยอมครับ”
“ถ้าเป็นกษัตริย์ประเทศอื่นมาขอบ้างจะทำอย่างไรชาวเมืองเขากลัวอย่างนั้นและช่วงนั้นสหรัฐอเมริกาประสบกับความเศร้าทั้งประเทศ 9-11 เครื่องบินชนตึกเวลิ์ดเทรด แต่ความพยายามของเราก็ทำได้
เพราะความช่วยเหลือของนายกเทศมนตรีที่รู้จักกับคณะกรรมการของมูลนิธิเป็นการส่วนตัว”
ผู้เขียนนำเที่ยวจัตุรัสภูมิพลสแควร์ เดือนมกราคม พ.ศ. 2552
นี่คือประวัติศาตร์การสร้างอนุสาวร์ที่คิงส์ภูมิพลสแควร์ และประวัติการสร้างอย่างละเอียดเชิญอ่านได้ใน
Press Release ที่คุณชลธณี แก้วโรจน์ ได้เขียนขึ้นเมื่อการเปิดอนุสาวรีย์
บันทึก เสาร์ 15 ตุลาคม 2559
ชีพธรรม คำวิเศษณ์
ความคิดเห็น