ร้าน S&P ภายในโรงพยาบาลศิริราช บรรยากาศเหมาะงานเขียน
การเขียนเป็นการนำความคิดที่อยู่ในสมองของเราออกมาเป็นตัวอักษร ทุกคนที่ผ่านมาในระบบการศึกษา ผมชอบที่จะยกตัวอย่างในชั้นเรียนโซเชียลมีเดียเพื่อการประชาสัมพันธ์
"ทุกคนที่เกิดมาไม่พิการหรือเป็นใบ้ พูดเป็นหมดทุกคน แต่จะมีกี่คนที่พูดแล้วได้เงินจากการพูด หรือแม้แต่ทุกคนเขียนหนังสือเป็นหมด แต่จะมีกี่คนที่เป็นนักเขียนแต่งนิยาย"
การเขียนเป็นการฝึกอย่างหนึ่งให้อธิบายตัวเองและสิ่งที่ต้องการสื่อออกไป ถ้าเขียนอะไรไม่ออกเริ่มต้นด้วยการเล่าเรื่อง ผมเองก็เป็นคนหนึ่งที่สมองหยุดความคิดสร้างสรรค์ไป 2-3 เดือน มีความคิดสร้างสรรค์แต่ก็เขียนไม่ออก ไม่มีอารมณ์ไม่มีความรู้สึก ได้แต่จดบันทึกลงไปใน Google photo และ แอพ Dayone ให้มาเขียนยาวๆ เหมือนนักวิ่งไม่ได้วิ่งนานๆ วิ่งไม่ออกเหมือนกันครับ
เพราะฉะนั้น บล๊อคที่กำลังเขียนอยู่นี้เป็นการบริหารสมองเล็ก ๆ ก่อนเขียนจะกลับมาเขียนบล๊อคเพื่อฝึกให้ตนเองเป็นนักเขียนอีกครั้งหนึ่ง การเขียนเป็นการฝึกฝนทักษะอย่างหนึ่ง เหมือนกับฝึกภาษา เหมือนเล่นดนตรี ต้องใช้เวลา บวกกับการสื่อสารพร้อมกับความคิดสร้างสรรค์ อารมณ์ความรู้สึก
อารมณ์ที่จะใส่เข้าไปในตัวอักษรให้ผู้อ่านคล้อยตาม โน้มน้าวให้ผู้อ่านมีความคล้อยตามตัวอักษร
ลากความรู้สึกจิตวิญญาณของเขาให้โลดแล่นไปกับตัวอักษรของเรา
การเขียนไม่จำเป็นต้องเป็นบล๊อคหรือเป็นเทคโนโลยีอะไรก็ได้ เขียนในแผ่นกระดาษ
แต่ถ้าเดี๋ยวนี้ง่ายที่สุด เขียนบน Facebook , Twitter , Line, Instagram ฯลฯ อะไรก็ได้ที่เราถนัด
ถ้าเขียนไม่ออก ตามตำราทฤษฏีบอกว่าก็เขียนทั้งไม่ออกนั่นแหละ เขียนแม้เจ็บปวด เขียนในยามดีใจ
เขียนในยามหัวใจแตกสลาย มีบางครั้งที่ผมมีอารมณ์ดีใจ เสียใจ มากกว่าปกติ แต่ไม่ได้บันทึกความทรงจำนั้นให้เป็นตัวอักษร
แนะนำหนังการเขียนสำหรับโซเชียลมีเดีย
มาเริ่มเขียนกันดีกว่าครับ
1. อยากเล่าเรื่องอะไร เป็นประเด็นหัวข้อตั้งแต่ชื่อเรื่อง คร่าว ๆ จำลองตัวเองเป็นนักเขียน
2. Content จากสมาร์ทโฟน เรื่องเล่าที่ดีที่สุดอยู่ในโทรศัพท์มือถือของเรา
3. สร้างออกมาเป็นตัวอักษรหรือเป็นคลิป แล้วกระจายบนโซเชียลมีเดีย
เพียงแค่นี้เราก็เขียนสไตล์โซเชียลมีเดียได้แล้วครับ งานเขียน นักเขียน เล่าเรื่อง ไม่มีวันหลายไปจากโลก We are story teller.
ชีพธรรม คำวิเศษณ์
จันทร์ 11 กันยายน พ.ศ.2560
ความคิดเห็น