คลิปยูทูบรำลึกวันปิยมหาราช อาทิตย์ 23 ตุลาคม 2559
อาทิตย์23 ตุลาคม 2559 ครบรอบ 106 ปี การสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประวัติศาสตร์ที่เป็นเครื่องรำลึกถึงพระองค์ท่าน คือลานพระบรมรูปทรงม้า กรุงเทพมหานคร
เสียงเพลงเชลโล ผลงานการประพันธ์ของ โจฮันเซียบาสเตียน บาค คตีกวียุคคลาสสิคชาวเยอรมัน บรรเลงโดย โยโยม่า เสียงหวานซึ้ง เต็มไปด้วยความอ่อนโยน ดังขึ้นแผ่วลงตามเมโลดี้ที่ผู้แต่งได้รังสรรค์ผลงานขึ้นเมื่อ เกือบ 400 ปี ผ่านมา เสียงเพลงสลับกับเสียงนกยามเช้า
กระรอก 2 ตัววิ่ง วิ่งไปมาหยอกล้อกันยามเช้าหน้าบริเวณบ้านของผู้เขียน
ผมหยิบไอแพดขึ้นมาต้องการเขียนรำลึกถึงในหลวง ร.5 ในความทรงจำของชีวิต ที่ ศาลาไทย เมืองบาดฮอมบวร์ก ประเทศเยอรมนี สถานที่ในหลวง ร.5 เคยเสด็จประทับเพื่อรักษาพระวรกาย ในครั้งนั้น พระโอรสที่มาศึกษายังต่างประเทศได้มารวมตัว ณ บาร์ดฮวมบวร์ก เพื่อวันเฉลิมพระชนม์พรรษา 20 กย 2450 ครบรอบพระชนม์มายุ 54 พรรษาของพระองค์ท่าน
ศาลาไทย บาร์ดฮอมบวร์ก สร้างสมัยราชการที่ 6 เป็นเรื่องรำลึกถึงความสัมพันธ์ไทยกับเยอรมัน มาอย่างยาวนาน ตั้งแต่สมัยพระองค์ท่านยังทรงครองราชย์ เป็นผู้นำประเทศสยาม เป็นพระมหากษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช และเมื่อครั้ง สงครามโลกครั้งที่ 2 ไทย กลายเป็นประเทศที่ต้องเข้ากับฝ่ายอักษะ ร่วมกันจับมือร่วมกับญี่ปุ่น เยอรมันทำสงครามโลก ต่อสู้กับสัมพันธมิตร ประกอบไปด้วยสหรัฐฯ ฯ อังกฤษ ฝรั่งเศส ฯลฯ แต่เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 1 สยามส่งทหารไปร่วมรบกับฝรั่งเศสทำสงครามกับเยอรมัน โลกช่างหมุนเวียน เหมือนกับบทเพลงของวงดนตรีสุนทรภรณ์จริงๆ
ศาลาไทย ออกจากตังเมืองแฟรงเฟริต์ไปประมาณ 30 นาที ตั้งอยู่กลางสวนสาธารณะ ต้นไม้ต่นใหญ่ล้อ,รอบ รื่นรมย์อย่างยิ่ง ด้านหน้าไปสนามหญ้า มีทางเดินให้เดินเล่น
ปลายเดือน พฤษภาคม พ.ศ.2551 หลวงปู่ทอง สิริมังคโล แห่งวัดพระธาตุศรีจอมทอง ได้มาสอนวิปัสนากรรมฐานให้กับชาวไทยและชาวเยอรมนี ที่วัดพุทธปิยวราราม ที่หลวงปู่ได้มีดำริสร้างขึ้นเพื่อเป็นสำนักวิปัสสนากรรมฐานเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวพุทธในเยอรมนี
ผมจำได้ว่าวันนั้นได้บันทึกภาพและติดตามหลวงปู่ไปที่ศาลาไทยด้วย
หลวงปู่ทองและคณะสงฆ์ได้ยืนแผ่กุศลและบังสกุลแผ่กุศล ถึงดวงวิญญาณของในหลวง ร.5 หน้าพระบรมฉายาลักษณ์เป็นรูปโลหะอยู่ด้านข้างศาลา และภายในศาลามีป้ายบันทึกพระบรมวงศานุวงศ์ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยุ่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี เสด็จมาศาลาแห่งนี้ ไม่ทราบวันแต่เป็นเดือน กรกฏาคม พ.ศง2477 และในหลวง ร.9 และพระราชินี เสด็จที่นี่ 28 ก.ค. พ.ศ. 2503 ศาลาไทยแห่งนี้เป็นเสมือนสถานที่สร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและศูนย์รวมจิตใจของคนไทยในเยอรมนี
หลังจากพระองค์เดินทางกลับจากยุโรปไก้เดินทางกลับสยามและล่องเรือไปยัง จ.ตราด ก่อนเข้ากรุงเทพฯ เพื่อบอกให้ชาวตราและจันทบุรีทราบว่าเป็นเอกสารแล้วหลังจากอยู่ใต้ปกครองของฝรั่งเศสถึง 10 ปี แต่สยามก็ต้องเสียดินแดง พระตะบอง เสียมเรียบ ศรีโสภณ ให้กับฝรั่งเศสเพื่อแลกตราดกับจันทบุรีให้มาอยู่ในปกครองของสยาม
พระที่นั่งวิมานเมฆ ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากลานพระบรมรูปทรงม้าเป็นสถานที่อีกแห่งที่จะได้รำลึกประวัติศาสตร์ของในหลวง ร.5 ซึ่งเป็นสถานที่ประทับของพระองค์ท่าน โดยทางสำนักพระราชวังได้เปิดให้ประชาชนได้เข้าชม และสถานที่อีกแห่งก็คือคือพระที่นั่งอนันตสมาคม ภายในพระที่นั่งมีพระราชกรณียกิจที่พระองค์ได้ทรงเลิกทาสเป็นการเริ่มต้นสิทธิมนุษยชนให้ราษฏรไทยได้มีสิทธิเสรีภาพในชีวิตและทรัพย์สินของตนเอง
ผู้เขียนได้ทำคลิปรำลึกถึงในหลวง ร.5 ครบรอบ 106 ปีของการสวรรคต และ บันทึกความทรงจำของชีวิตว่าครั้งหนึ่งเคยได้ไปเยือนศาลาไทย ณ เมืองบาดฮอมบวร์ก ย้อนประวัติศาสตร์ของชีวิตกลับไปที่ พฤษภาคม 2551 และย้อนเวลากลับไป ณ จุดเริ่มต้นของศาลาไทย 20 ก.ย. 2450
เขียนรำลึกถึงในหลวง ร.5
อาทิตย์ 23 ตุลาคม 2559
ความคิดเห็น