กลางปี พ.ศ. 2540 ระหว่างที่ผมทำงานเป็นผู้สื่อข่าวอยู่ที่สำนักข่าวไทย อ.ส.ม.ท. ยังอายุงาน ยังไม่ถึง 1 ปี
ได้รับมอบหมายงานให้ไปอ่านข่าวภาคกลางวันทั่วประเทศ FM100.5 ช่วงที่ผมรับผิดชอบก็คืออ่านข่าวเทคโนโลยี จำได้ว่าวันนั้นอ่านข่าวของ กสท.ที่จะจับกุมผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตโฟน ด้วยความที่เป็นนักข่าวสายไอทีก็ออกข่าวเห็นไปในข่าวว่า การที่ กสท. ห้ามอย่างนี้เป็นการปิดกั้นความเจริญของประเทศชาติ หลังจากจบข่าว
ยังไม่ทันจะก้าวพ้นออกจากประตู หัวหน้า บก.ข่าววิทยุปราดเข้ามาปรามผมด้วยอารมณ์เล็กน้อยด้วยความเมตตาแกมสั่งสอน "นี่ไตร การอ่านข่าวนี่ห้ามแสดงความเห็นลงไปในข่าวนะ ไม่ดูไม่ดีมาก ๆ "
"ผมขอโทษครับพี่ คราวหน้าผมจะระวังครับผม" โชคดีที่ไม่ต้องเขียนรายงานเพราะผู้ใหญ่เมตตา ซึ่งท่านเองก็คงจะเห็นว่าเป็นเรื่องจริงกะมังที่ผมแสดงความเห็น
เวลานั้นใครจะโทรศัพท์ไปต่างประเทศก็ต้องผ่าน กสท. การสื่อสารแห่งประเทศไทยที่ยังเป็นไม่ได้แปรรูปเป็น CAT Telecom ถือว่าเป็นกิจการผูกขาด
ค่าโทรมีราคาที่สูงใครอยากโทรถูกก็ต้องไปใช้อินเทอร์เน็ตโฟน ใช้ Skype , msn แล้วเปิดกล้องเอาผ่านคอมพิวเตอร์ จนมาถึงทุกวันนี้ใครชน Iphone, ipad ก็เปิด Facetime คุยกันแต่ก็ยังไม่ค่อยสะดวกเพราะทั้งสองฝ่ายต้องมีคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ และออนไลน์อินเทอร์เน็ตพร้อมๆ กัน

ปลายปี พ.ศ. 2551 ผมไปเขียนหนังสือที่สหรัฐฯ ไปอยู่ 6 เดือนหน้าที่ความรับผิดชอบก็คือ ต้องโทรศัพท์กลับมาเมืองไทยจัดรายการวิทยุที่ FM 101 อาทิตย์ละชั่วโมงครึ่ง เป็นประจำทุกวันอาทิตย์ช่วงเวลา 19.30-21.00 น. ตรงกับเวลาที่แถบนิวยอร์ค,ฟิลาเดลเฟียและบอสตัน ก็ช่วง 7 โมงครึ่งยามเช้าของที่นั่น
แล้วผมจะทำอย่างไรกับค่าโทรศัพท์ละเวลาโทรกลับมาเมืองไทย ถ้าจะใช้ Skype โทรก็ไม่ค่อยสะดวกเท่าไหร่เสียงขาดหาดบ้าง
และแล้วระหว่างที่ผมอยู่นิวยอร์คเพื่อนผมก็เอาบัตรโทรศัพท์ระหว่างประเทศมาให้
เธอซื้อมาในราคา 5 เหรียญ โทรได้ 8 ชั่วโมง
"พี่ไตรลองเอาบัตรนี้ไปใช้ดิ อยากโทรเท่าไหร่ก็โทรไปหนูไปซื้อมาจากร้านขายของชำ วิธีใช้ไม่ยาก ขูดการ์ด แล้วก็ทำตามที่เขาบอกได้เลย"
"ทำไมถูกอย่างนี้ แล้วทำไมถึงโทรได้มากมาย"ผมถามกลับไป
"ที่นี่ก็อย่างนี้ทั้งนั้น ค่าโทรศัพท์ถูก" เพื่อนผมตอบกลับมา
นับจากวันนั้นเป็นต้นมา เมืองไทยกับสหรัฐฯ ช่างใกล้กันมาก
ผมอยากโทรกลับเมื่อไหร่ก็ได้ อากาศหนาว เหงา ๆ ก็โทรกลับมาคุยกับเพื่อน
โทรหาพ่อแม่ได้ตลอดเวลาเท่าที่อยากจะโทร เพราะค่าโทรศัพท์ถูกแสนถูก
กลางปี 2554 เสียงคุณชาลอต โทณวณิก ผู้อำนวยการฝ่ายประชาสัมพันธ์ของไทยเบฟโทรมาหาผม "ชีพธรรม ว่างเปล่าไปสอนหนังสือแทนพี่หน่อยให้กับผู้บริหาร"
"ได้เลยครับพี่เดี่ยวผมไปสอนแทนครับ"
หลังจากเวลาผ่านไปเกือบ 1 ปี ในหน้า Facebook ของผม
"คุณชีพธรรม ผม สมศักดิ์ พัฒนเอนก ที่เคยเรียนหนังสือกับคุณที่ไปสอนแทนคุณชาลอต
อยากให้มาทดสอบบัตรโทรศัพท์ระหว่างประเทศหน่อย"
เมื่อผมพบกับคุณสมศักดิ์ พัฒนเอนก เคยเป็นอดีตผู้บริหารในกลุ่มจัสมิน ได้ลาออกมาทำกิจการบัตรโทรศัพท์ระหว่าประเทศ Easy Card ที่ได้รับความนิยมในกลุ่มชาวต่างประเทศ (กัมพูชา) ใช้บริการโทรกลับบ้านในราคาถูก
คุณสมศักดิ์ให้บัตรผม Easy Card ราคา 100 บาท มาทดสอบใช้งานเพราะอยากจะทำตลาดในประเทศให้คนไทยได้ใช้บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศในราคาถูก
ผมก็เลยนึกถึงสมัยที่ผมใช้บัตรขูดที่อเมริกา
เมื่อได้บัตรมาก็ขอทดสอบบัตรโทรศัพท์ฝีมือคนไทยสักหน่อย ไหน ๆ ได้บัตรมาแล้วก็โทรกลับไปเยี่ยมคุณป้าสงวนที่เคยไปพักอาศัยบ้านของแกที่ฟิลาเดลเฟียดีกว่า

ว่าแล้วก็หยิบเหรียญบาทมาขูดรหัสข้างหลังบัตร กดเลขโทรเข้าไป 02-8314003
พลันกดตึ้ดสุดท้าย เสียงตอบรับเป็นเสียงผู้หญิงกลับมา ภาษาไทย กด 1
ความจริงแล้วมีภาษาอังกฤษ กับ ภาษาจีนได้ ผมคนไทยก็ต้องไทยเลยไม่ต้องคิดอะไรมากครับ จากนั้นกดใส่รหัส pin ลงไป เสียงตอบรับกลับมาคุณมี
แล้วก็กดรหัสประเทศ ตามด้วยพื้นที่ หมายเลขโทรศัพท์และเครื่อง #
เสียงตอบรับกลับมาอีก คุณมียอดเงิน 100 บาท โทรได้ 3 ชั่วโมง
"โหเยอะขาดนี้เลยหรือ" ผมนึกในใจก็คงจะไม่ได้ถูกแบบสหรัฐฯ เพราะต้นทุนคงต่างกันแต่ได้แค่นี้ก็ถือว่าถูกมากแล้ว
เสียงตึ๊ด ๆ ๆ ดังรอดมาทางโทรศัพท์ "Hello" เสียงของป้าหงวน
หญิงไทยจากอุดรผู้ไปใช้ชีวิตในอเมริกา 42 ปี
"ผมไตรครับคุณป้า สบายดีไหมครับ "
"ดีใจที่ไตรโทรมานะป้าสบายดี" เสียงป้าหงวนพูดไทยสำเนียงฝรั่ง เพราะในรอบหลายปี นาน ๆ จะคุยภาษาไทยสักครั้ง เวลาเพื่อนมาเยี่ยม อาศัยดูละครไทย
ผมสนทนากับป้าหงวน เสียงความสนุก เสียงโทรศัพท์จากบัตรเติมเงิน เคลียร์เสียงใดชัดเจน แจ่มแจ้งมาก ๆ ยิ่งกว่าโทรศัพท์ผ่านโทรศัพท์มือถือในช่วงเวลาเร่งด่วนของเมืองไทย

ครับก็เขียนมาเล่าสู่กันฟังการใช้บัตรโทรศัพท์ระหว่างประเทศขึ้นอยู่กับอัตราค่าบริการของแต่ละประเทศทั้งในแบบโทรศัพท์บ้านและโทรศัพท์มือถือราคาไม่เท่ากัน
ถ้าอยากจะลองใช้บัตรโทรศัพท์ระหว่างประเทศแบบสะดวก ๆ โทรไปหาใครในโลกก็ได้จากโทรศัพท์ของเราก็ลองเข้าไปเช็คราคาและดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.easycard.in.th นะครับ
ชีพธรรม คำวิเศษณ์
Facebook : ชีพธรรม คำวิเศษณ์
Twitter @tri33
ความคิดเห็น