9 มี.ค. เป็นวันคล้ายวันเกิดของ ดร.ป๋วย อึ้งภากรณ์ ( 9 มี.ค. 2459- 28 ก.ค. 2542) อดีตเสรีไทย , ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย และ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
วันก่อนได้มีโอกาสไปอ่านบทความในหนังสือพิมพ์เดลินิวส์เขียนถึง ดร.ป๋วย อึ้งภากรณ์ โดย อ.นรนิต เศรษฐบุตร เช้าวันนี้มีธุระไปที่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ก็เลยจะถือโอกาสไปทำบุญให้กับท่าน
และไปหา รศ.ดร.อุดม รัฐอมฤต รองอธิการบดี ฝ่ายบริหาร ม.ธรรมศาสตร์ ซึ่งท่านเคยเป็นอาจารย์สอนผมในวิชา กม.ลักษณะพยาน ตอนที่เรียนอยู่ที่ คณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยพายัพ
ปรากฏว่าผมไปไม่ทันงานทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับอาจารย์ป๋วย ก็เลยถือโอกาสแนะนำการใช้ไอโฟนให้เกิดประโยชน์กับการติดตามข่าวสารและบริหารงานให้กับอาจารย์อุดมด้วย
 |
ผู้เขียนถ่ายรูปกับ รศ.ดร.อุดม รัฐอมฤต |
ก่อนที่จะสนทนาและสอนเรื่องไอโฟนให้กับอาจารย์ ผมได้โชว์ภาพถ่ายของอนุสรณ์สถานของ ดร.ป่วย อึ้งภากรณ์ ที่วัดวังน้ำขาว อ.หนองมะโมง จ.ชัยนาท
ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 อาจารย์ป๋วยได้พักการเรียนที่ London School of Economics & Political Science เพื่อมาปฏิบัติภารกิจด้วยการเป็นเสรีไทยได้กระโดดร่มลงจากเครื่องบินเพื่อมาเพื่อส่งข่าวสารให้กับเสรีไทยที่อยู่ในเมืองไทยแต่ถูกจับเสียก่อนแล้วส่งตัวเข้ากรุงเทพ
 |
ภายในอนุสรณ์สถานโต๊ะระเกะระกะ |
 |
สังเกตุป้ายชื่ออนุสรณ์สถานและพื้นมีแต่ขี้นกขี้แมหลงไม่มีใครมาดูแล
|
“อาจารย์ลองชมดูอนุสรณ์สถานของอาจารย์ป๋วยซิครับ” ผมเปิดเครื่องแล้วบอกให้อาจารย์ดูภาพ
“แล้วกลุ่มไหนเป็นคนไปสร้างไว้ละ มีหลายกลุ่มที่ไปสร้างนะ บางครั้งก็เป็นพวกเศรษฐศาสตร์”
อ.อุดมบอกกับผม
“ผมก็ไม่ทราบครับ แต่ก็ไม่เข้าใจว่าทำไมถึงได้ปล่อยให้เป็นแบบนี้ครับ”
ผมก็บอกกับอาจารย์
“ต้องทราบนะว่ากลุ่มไหนเขาไปคนไปทำไว้”
“ผมเคยบอกเรื่องนี้กับทางศิษย์เก่า ม.ธรรมศาสตร์แล้วครับ” ผมบอกกับอาจารย์ไป
ถึงแม้ว่าผมจะไม่ใช่ศิษย์เก่าธรรมศาสตร์ แต่ก็ชื่นชมผลงานและคุณงามความดีของ ดร.ป๋วย
ชีพธรรม คำวิเศษณ์
www.twitter.com/tri333
ความคิดเห็น